
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
เจ้าของที่ดินใส่ชื่อญาติเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเนื่องจากตนเองสมรสกับชาวต่างด้าว ต่อมาญาตินำที่ดินไปจำนองไว้กับบุคคลภายนอกและบังคับคดียึดที่ดินขายทอดตลาด กรณีนี้เจ้าของตัวจริงจะร้องขัดทรัพย์ไม่ได้เพราะถือว่าเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อจะทำให้เสื่อมสิทธิของผู้รับจำนองไม่ได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพราะเหตุผู้ร้องขัดทรัพย์มีสามีเป็นชาวต่างด้าว ต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนองโดยไม่แจ้งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์ทราบดังนี้ไม่เป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้รับจำนอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4870/2550 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยได้รับการยกให้จากมารดาของผู้ร้อง แต่เนื่องจากสามีของผู้ร้องเป็นคนต่างด้าวจึงใส่ชื่อจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทแทนผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่สามีของโจทก์กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องดังกล่าวถึงหากจะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่สามีของโจทก์และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าสามีของโจทก์ได้ทราบเรื่องระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว ผู้ร้องจึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของสามีของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องได้ไม่ ตามป.พ.พ. มาตรา 806 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองที่ดินพิพาทได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ปัญหาว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายพิสุทธิ์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 835 ซึ่งจำเลยนำมาจำนองแก่นายพิสุทธิ์สามีของโจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงินจำนวน 5,750,000 บาท แก่โจทก์ ตกลงผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ทุกวันที่ 7 ของเดือน เริ่มชำระเดือนแรกวันที่ 7 ธันวาคม 2543 และจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดยินยอมให้โจทก์บังคับคดีจากต้นเงินจำนวน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้บังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของผู้ร้องโดยนางนะมารดาของผู้ร้องยกให้เมื่อปี 2527 แต่เนื่องจากสามีของผู้ร้องเป็นคนต่างด้าวจึงใส่ชื่อจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทนผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่นายพิสุทธิ์ ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด โจทก์ให้การว่า นางนะยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดขอให้ยกคำร้องขอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขอ ให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนด ค่าทนายความ 5,000 บาท ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดคือที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยได้รับการยกให้จากมารดาของผู้ร้องแต่เนื่องจากสามีของผู้ร้องเป็นคนต่างด้าวจึงใส่ชื่อจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทแทนผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่สามีของโจทก์ กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องดังกล่าวถึงหากจะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่สามีของโจทก์และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าสามีของโจทก์ได้ทราบเรื่องระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว ผู้ร้องจึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของสามีของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองที่ดินพิพาทได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 ตัวการซึ่งมิได้เผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและ เข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำไว้แทนตนก็ได้ แต่ถ้าตัวการ ผู้ใดได้ยอมให้ตัวแทนของตนทำการออกหน้าเป็นตัวการไซร้ ท่านว่า ตัวการผู้นั้นหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอัน เขามีต่อตัวแทนและเขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนนั้น ได้ไม่ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐ โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนางพิสมร ภรรยาชอบด้วยกฎหมายของนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายก่อนนายประเสริฐ โดยมีทรัพย์มรดกนายประเสริฐ เป็นคู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร เมื่อนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของพิสมร โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐจึงมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร ในส่วนที่้ตกได้แก่นายประเสริฐ ได้
|