ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont             

 

การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ก็เป็นความผิดแล้ว แม้เด็กจะยินยอมก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กนั้นมีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยโดยมีผลถึงการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยก็หาไม่ ดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทนเด็กได้

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550

ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่าเด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงทั้งสามถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงทั้งสามตามป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)

แม้โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จะมิได้ระบุพยานอ้าง ส.เป็นพยานในคดีนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในสำนวนคดีแรกได้ระบุพยานอ้าง ส. เป็นพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานในสำนวนคดีนี้ได้

ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของเด็กหญิงทั้งสามจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง. 

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 277, 312 ตรี, 317, 319 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9

จำเลยให้การปฏิเสธ

ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นางปราณีมารดาเด็กหญิงดวงดาวหรือดาว นางราตรีมารดาเด็กหญิงสายรุ้งหรือรุ้ง นายคมสันต์ผู้ปกครองเด็กหญิงอริษาหรือนุ้ยและนางศรีสุดมารดาเด็กหญิงอริษาหรือนุ้ย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นางปราณี นางราตรีและนายคมสันต์เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำชำเราและความผิดต่อเสรีภาพ ส่วนนางศรีสุดเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอริษาหรือนุ้ย โดยเรียกผู้ร้องดังกล่าวเป็นโจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 5 ตามลำดับ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก จำคุกกระทงละ 4 ปี รวม 4 กระทง จำคุก 16 ปี ข้อหาอื่นให้ยก

โจทก์ โจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 5 และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรคสอง, 317 วรรคสาม ด้วย ฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม จำคุกระทงละ 5 ปี รวม 4 กระทง จำคุก 20 ปี สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และฐานโดยทุจริต ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กตามมาตรา 312 ตรี วรรคสอง เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราตามมาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 4 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 16 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 16 ปี รวมจำคุก 36 ปี ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 4 เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหากระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกมีว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงถึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่า เด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงสายรุ้ง และเด็กหญิงอริษาถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจาก การกระทำความผิดข้อหานี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงสายรุ้ง และเด็กหญิงอริษาตามลำดับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 (2) คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างในฎีกานั้น ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปมีว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ ซึ่งนางสาวสุริยาพรก็เบิกความยืนยันว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้นางสาวสุริยาพรยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราต่างวันเวลากัน 2 ครั้ง จากนั้นก็ได้รับการติดต่อจากจำเลยให้พาเพื่อนรุ่นเดียวกันไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย นางสาวสุริยาพรจึงชักชวนเด็กหญิงดวงดาวกับเด็กหญิงอริษาซึ่งเป็นเพื่อนนางสาวสุริยาพรและเด็กหญิงสายรุ้งไปขายบริการทางเพศแก่จำเลยที่โรงแรมผกาอินท์ หลังจากจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งแล้ว นางสาวสุริยาพรก็จะไปรับเงินค่าตอบแทนจากจำเลยไปแบ่งให้แก่เด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้ง คำเบิกความของนางสาวสุริยาพรดังกล่าวมิใช่คำซัดทอดเพราะเป็นการเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล เนื่องจากนางสาวสุริยาพรมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย ทั้งนางสาวสุริยาพรไม่มีเหตุจูงใจในการเบิกความให้ตนพ้นความผิด ไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งว่านางสาวสุริยาพรรู้จักนายพายัพคนขับรถจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุผลที่นางสาวสุริยาพรต้องร่วมกับนายพายัพกลั่นแกล้งจำเลยตามที่จำเลยอ้าง แต่กลับได้ความจากนางสาวสุริยาพรว่า หลังเกิดเหตุคนขับรถจำเลยมาพูดคุยกับนางสาวสุริยาพรว่าหากบิดามารดาพาเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งถอนคำร้องทุกข์ ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยจะให้เงิน จากนั้นจำเลยให้ชายคนหนึ่งนำเงิน 15,000 บาท มามอบให้นางสาวสุริยาพรเป็นค่าประกันตัวในข้อหาพรากผู้เยาว์ จึงรับฟังคำเบิกความของนางสาวสุริยาพรประกอบคำเบิกความของเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งได้ ซึ่งต่างเบิกความว่าเหตุที่ยินยอมไปให้จำเลยกระทำชำเราเพราะต้องการเงินเป็นค่าตอบแทน โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุเมื่อพันตำรวจตรีอดิศรสืบสวนทราบว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดคดีนี้ ได้จัดให้มีการชี้ภาพถ่ายต่อหน้าพนักงานอัยการและนักสังคมสงเคราะห์แล้วจัดให้มีการชี้ตัวจำเลยต่อหน้าพนักงานอัยการ นักสังคมสงเคราะห์ ทนายจำเลย และสื่อมวลชน เด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งต่างชี้ยืนยันตรงกันว่าจำเลยเป็นผู้กระทำชำเราเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้ง โดยในขณะชี้ตัวจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งเบิกความไปตามความสัตย์จริง ทั้งรู้ว่าอวัยวะเพศชายกับปลัดขิกแตกต่างกันอย่างไร แม้โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จะมิได้ระบุพยานอ้างนางสาวสุริยาพรเป็นพยานในคดีนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในสำนวนคดีแรกได้ระบุพยานอ้างนางสาวสุริยาพรเป็นพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงรับฟังคำเบิกความของนางสาวสุริยาพรเป็นพยานในสำนวนคดีนี้ได้ การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง เพราะจำเลยไม่รู้ว่าเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งมีอายุยังไม่เกิน 15 ปี นั้น เห็นว่า ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษา และเด็กหญิงสายรุ้งจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา

วุฒิภาวะเช่นจำเลยไม่ใช่ข้อบ่งชี้เสมอไปที่จะไม่กระทำความผิดเสียเลย ดังนี้ พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยโทรศัพท์นัดหมายให้นางสาวสุริยาพรพาเพื่อนไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย นางสาวสุริยาพรจึงชักชวนเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษา และเด็กหญิงสายรุ้งไปกระทำการดังกล่าว แล้วจำเลยรับตัวเด็กหญิงทั้งสามไว้กระทำชำเราโดยเด็กหญิงทั้งสามยินยอมที่โรงแรมผกาอินท์เป็นการล่วงอำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 5 และที่ 3 ตามลำดับ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงดวงดาว อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิงดวงดาวโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 กระทำชำเราเด็กหญิงอริษาอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิงอริษาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 และกระทำชำเราเด็กหญิงสายรุ้งอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิงสายรุ้งโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารในวันที่ 22 ธันวาคม 2543 และวันที่ 3 มกราคม 2544 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวมาด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรคสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.

( เรวัตร อิศรากรณ์ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - วีระชาติ เอี่ยมประไพ )

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

---- ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ ----   *    www.lawyerleenont.com   *   สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ   084 130 2058  

 

 

ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
มาตรา 1352 เป็นบทบังคับให้เจ้าของที่ดินต้องยอมให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงมีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินได้ต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้เจ้าของที่ดินข้างเคียงจะมิได้เสนอค่าทดแทนให้ก็ตาม แต่กรณีเป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของตน
http://www.peesirilaw.com/ครอบครองปรปักษ์/ค่าทดแทนทางจำเป็น.html

 

 

การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจของกฎหมาย
การที่นายจ้างจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิแก่นายจ้างเรียกเอาเงินทดแทนที่จ่ายไปนั้นคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจึงไม่อาจอ้างการรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายไปคืนได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2554) การรับช่วงสิทธิจะมีได้จึงต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้รับช่วงสิทธิได้
http://www.peesirilaw.com/รับช่วงสิทธิ/การรับช่วงสิทธิ.html

 


รายชื่อสำนักงานทนายความและทนายความ
สำนักงานทนายความให้คำปรึกษากฎหมาย ฟ้องหย่า ฟ้องเรียกบุตรคืน ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร ฟ้องหญิงอื่นหรือภรรยาน้อยเรียกค่าทดแทน  ฟ้องคดีครอบครัว อำนาจปกครองบุตรสำนักงานกฎหมาย  คดีเช็ค เรียกค่าเสียหาย ครอบครองปรปักษ์ ภาระจำยอม รายชื่อสำนักงานทนายความ สภาทนายความ สำนักงานทนายความคำนึง  ประเสริฐศิริ  สำนักงานทนายความ,บริการด้านกฎหมาย,ปรึกษากฏหมาย  จ.ภูเก็ต  สำนักกฎหมายปฐมพัฒน์
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538774035


ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258  *  www.peesirilaw.com  *

 

 




ฎีกาปี2550

ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียสิทธิเพิกถอนผู้จัดการมรดก
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด-หนี้ที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาชำระหนี้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว-ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน-ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง
บุตรบุญธรรม
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้