
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่? คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2550 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) นั้น หมายถึง โทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย โดยไม่ต้องคำนึงว่าก่อนลดโทษจะกำหนดโทษจำคุกไว้สูงกว่า 6 เดือน หรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 8 เดือน เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 5 เดือน 10 วัน เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42, 43, 78, 139, 148, 154 (2), 157, 160 วรรคสอง พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 มาตรา 27, 30 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วย แก้ไขเปลี่ยนแปลงการห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป และรถบางชนิดเดินในถนนบางสายในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2539 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2539 ข้อ 3. จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา นางวิไลหรือวิไลรัตน์ แก้วเงิน มารดาของนางสาวอรุณี แสงศิริรัตนา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยอ้างว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้จึงขอจัดการแทน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42, 43, 78 วรรคแรก, 139, 148, 154 (2), 157, 160 วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วย แก้ไขเปลี่ยนแปลงการห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปและรถบางชนิดเดินในถนนบางสายในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2539 ข้อ 3 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด กระทงแรกฐานขับรถในช่องเดินรถด้านขวาย้อนเส้นทาง ปรับ 500 บาท กระทงที่สองฐานขับรถยนต์บรรทุกในเวลาห้าม ปรับ 1,000 บาท กระทงที่สามฐานขับรถโดยประมาทและฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส (เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท) ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90) จำคุก 8 เดือน กระทงที่สี่ฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 1 เดือน รวมโทษทุกกระทงเป็นจำคุก 9 เดือน และปรับ 1,500 บาท ทางนำสืบของจำเลยและคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน มีประโยชน์ในการพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้แก่จำเลยหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกา คดีคงมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า ที่ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสก่อนลดโทษ ให้จำคุก 8 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมานั้น ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) หรือไม่ เห็นว่า โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) นั้น หมายถึงโทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลยโดยไม่ต้องคำนึงว่าก่อนลดโทษจะกำหนดโทษจำคุกไว้สูงกว่า 6 เดือน หรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส จำคุก 8 เดือน เมื่อลดโทษให้หนึ่งสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 5 เดือน 10 วัน จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาในตอนท้ายว่า ผู้เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดเหตุคดีนี้ ขอให้ลงโทษสถานเบา เห็นว่า คดีนี้ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส และฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ อนึ่ง สำหรับความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาไม่ได้ความว่า หลังจากที่จำเลยขับรถเฉี่ยวชนกับรถยนต์ของผู้เสียหายแล้วหลบหนีไปนั้นเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคสอง จึงเป็นการไม่ชอบ ความผิดในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้ไขปรับบทให้ถูกต้อง เพียงแต่เขียนวงเล็บในส่วนที่กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ถูกควรเป็นวรรคใด แล้วพิพากษายืนนั้น จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหาการปรับบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225” พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง ส่วนกำหนดโทษให้คงเดิม เมื่อรวมโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและโทษฐานขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแล้วหลบหนีไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีแล้ว เป็นจำคุก 6 เดือน ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42, 148, 43 (4), 157, 139 และ 154 (2) นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ( ฐานันท์ วรรณโกวิท - เกษม วีรวงศ์ - พีรพล พิชยวัฒน์ ) ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (3) (4) หรือ (5)
ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐ โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนางพิสมร ภรรยาชอบด้วยกฎหมายของนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายก่อนนายประเสริฐ โดยมีทรัพย์มรดกนายประเสริฐ เป็นคู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร เมื่อนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของพิสมร โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐจึงมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร ในส่วนที่้ตกได้แก่นายประเสริฐ ได้
|