
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
การนำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่จำต้องได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อ สงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เมื่อหลักฐานเป็นที่พอใจของศาลว่าจำเลยกระทำความผิดจริงศาลก็ลงโทษได้แล้ว เพราะสืบพยานเพื่อให้ศาลเห็นรูปเรื่องและนำมาประกอบคำให้การรับสารภาพของ จำเลยเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2550 ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้มีความหมายว่า สำหรับความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็ยังฟังพยานหลักฐานของโจทก์ให้เป็นที่พอใจก่อนว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริงตามที่ให้การรับสารภาพจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูง มิให้ต้องรับโทษหนักหรือเกินกว่าความผิดที่ตนกระทำ อย่างไรก็ดี พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่จำต้องได้รับความชัด แจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงแต่ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยได้กระทำความ ผิดจริงก็เป็นการเพียงพอที่ศาลจะลงโทษโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้นแล้ว เพราะเป็นกรณีที่โจทก์เพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นเค้ามูลเพื่อ ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น สำหรับคดีนี้แม้โจทก์จะมี อ. มารดาของผู้เสียหาย และ บ. เจ้าของบ้านที่เกิดเหตุกับร้อยตำรวจเอก ส. พนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบพยานเอกสารต่างๆ ยืนยันว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง โดยพยานมิได้รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้เสียหายถูกข่มขืนกระทำชำเราและโจทก์ ก็ไม่ได้นำตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานต่อศาล แต่ อ. ก็เป็นมารดาของผู้เสียหายซึ่งรับทราบข้อเท็จจริงจากผู้เสียหายทันทีที่ได้พบ กัน และ บ. ก็เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีใกล้ชิดกับเหตุการณ์เป็นอย่างยิ่ง ส่วนร้อยตำรวจเอก ส. ก็เป็นพนักงานสอบสวนที่สอบคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนไว้และยืนยัน ข้อเท็จจริงตามนั้น จึงไม่มีข้อพิรุธอันจะเป็นเหตุให้ระแวงสงสัยในถ้อยคำของพยานโจทก์เหล่านั้น แต่ประการใด ส่วนที่จำเลยหยิบยกขึ้นฎีกา เรื่องการตรวจพบตัวอสุจิหลังจากเกิดเหตุแล้วถึง 12 วัน โดยอ้างว่าขัดต่อหลักวิชาการแพทย์นั้น เป็นปัญหาปลีกย่อยอันเป็นเพียงพลความ ไม่ใช่ข้อพิรุธอันควรระแวงสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์แต่ประการใด ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของ จำเลยเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยกับพวกร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนข่มขืน กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง และเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอมซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น” โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 277 จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก วรรคสาม (ที่ถูกประกอบมาตรา 83) จำคุกตลอดชีวิต จำเลยรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 (ที่ถูกประกอบมาตรา 53) คงจำคุก 25 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกที่หลบหนีและที่แยกดำเนินคดีที่ศาลอื่นร่วมกันผลัด เปลี่ยนหมุนเวียนข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอัน มีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่าตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยกับพวกร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่ เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ดังนี้จำเลยจะโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายต่าง สถานที่ต่างเวลา และขาดตอนจากการที่พวกของจำเลยกระทำในครั้งแรก มิใช่เป็นการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราโดยร่วมกระทำความผิด ด้วยกันกับพวกอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม เป็นทำนองว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องนั้นไม่ได้เพราะมิใช่ข้อเท็จจริง ที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนักเพียงพอให้รับ ฟังว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้มีความหมายว่าสำหรับความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้ จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็ยังต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์ให้เป็นที่พอใจก่อนว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องที่ให้การรับสารภาพจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลย ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูงมิให้ ต้องรับโทษหนักหรือเกินกว่าความผิดที่ตนกระทำ อย่างไรก็ดี พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่จำต้องได้ความชัดแจ้ง โดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธเพียงแต่ประกอบคำรับ สารภาพของจำเลยให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงก็เป็นการเพียง พอที่ศาลจะลงโทษโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้นแล้ว เพราะเป็นกรณีที่โจทก์เพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นเค้ามูลเพื่อ ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น สำหรับคดีนี้แม้โจทก์จะมีนางอัญชบี ดูทรา มารดาของผู้เสียหาย และนางบุญมาก บุตรงาม เจ้าของบ้านที่เกิดเหตุ กับร้อยตำรวจเอกสมพงศ์ ภาคธรรม พนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบพยานเอกสารต่างๆ ยืนยันว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง โดยพยานมิได้รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้เสียหายถูกข่มขืนกระทำชำเราและโจทก์ ก็ไม่ได้นำตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานต่อศาล แต่นางอัญชลีก็เป็นมารดาของผู้เสียหายซึ่งรับทราบข้อเท็จจริงจากผู้เสียหาย ทันทีที่ได้พบกัน และนางบุญมากก็เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์เป็นอย่าง ยิ่ง ส่วนร้อยตำรวจเอกสมพงศ์ก็เป็นพนักงานสอบสวนที่สอบคำให้การของผู้เสียหายใน ชั้นสอบสวนไว้และยืนยันข้อเท็จจริงตามนั้น จึงไม่มีข้อพิรุธอันจะเป็นเหตุให้ระแวงสงสัยในถ้อยคำของพยานโจทก์เหล่านั้น แต่ประการใด ส่วนที่จำเลยหยิบยกขึ้นฎีกา เรื่องการตรวจพบตัวอสุจิหลังจากเกิดเหตุแล้วถึง 12 วัน โดยอ้างว่าขัดต่อหลักวิชาการแพทย์นั้น เป็นปัญหาปลีกย่อยอันเป็นเพียงพลความ ไม่ใช่ข้อพิรุธอันควรระแวงสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์แต่ประการใด ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของ จำเลยเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยกับพวกร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนข่มขืน กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง และเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น”
หมายเหตุ มีหลักกฎหมายละตินเรื่องคำให้การรับสารภาพว่า Confessio facta in judio omni probatione major est. (A confession made in judicial proceedings is of greater force than all proof.) "คำให้การรับสารภาพในกระบวนพิจารณาเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ทรงพลัง" ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคแรก จึงบัญญัติว่า "ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง" ลักษณะของคำรับสารภาพ ที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายจะต้องประกอบด้วย แต่ศาลไม่จำต้องฟังคำให้การรับสารภาพของจำเลยมาลงโทษจำเลยเสมอไปอยู่ใน ดุลพินิจของศาลที่จะวินิจฉัยว่าศาลจะลงโทษตามคำรับหรือไม่ (ฎีกาที่ 894/2478 อัยการสุพรรณบุรี โจทก์ นายส่วน เรืองกระจ่าง จำเลย) หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลจะไม่เชื่อคำให้การรับสารภาพของจำเลยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้คดีก็ต้องทำการสืบพยานไปแล้วจึงตัดสิน แต่ในคดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่ หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง หรือที่เรียกกันในทางปฏิบัติว่าคดีต้องสืบประกอบนั้น มีปัญหาเกิดขึ้นทางปฏิบัติเสมอ โดยเฉพาะในปัญหาที่ว่าจะสืบพยานเท่าใดจึงจะพอฟัง จะสืบเพียงพนักงานสอบสวนเพียงปากเดียวเพียงพอหรือไม่? ขอให้สังเกตกฎหมายใช้คำว่า ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง มิใช่ถึงขนาดต้องชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยปฏิเสธ (ฎีกาที่ 1965/2547) เมื่อพยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อก็ถือว่าโจทก์นำสืบให้เป็นที่พอใจศาล ว่าจำเลยกระทำผิดจริงไม่ได้ (ฎีกาที่ 901/2482 อัยการธัญบุรี โจทก์ นายแถบ วงษ์วารี จำเลย) การนำสืบพยานประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นหน้าที่ของโจทก์ไม่ใช่ให้ศาลเที่ยว หาพยานมาสืบเอง (ฎีกาที่ 1061/2481 อัยการเพชรบุรี โจทก์ นายอิ่ม เอี่ยมมงคล จำเลย) การสืบพยานประกอบคำให้การรับสารภาพต้องไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ (ฎีกาที่ 337/2482 อัยการสุโขทัย โจทก์ นายหยด จันน้อย กับพวก จำเลย) คดีตัวอย่าง พยานหลักฐานที่สืบมาพอฟังได้ คดีฆ่าคนตาย จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์นำปลัดอำเภอคนเดียวมาเบิกความว่าเป็นผู้ไปจับจำเลยและสอบสวนเรื่องนี้ มีพยานว่าจำเลยเป็นผู้ฆ่า จำเลยรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยดี พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ได้ให้การไว้ และโจทก์ส่งคำพยานชั้นสอบสวนต่อศาล และไม่สืบพยานอีก ลงโทษได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2491 (หน้า 688) อัยการจังหวัดลำพูน โจทก์ นายอ้าย ภิญโญจิตร จำเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2545 (ส.12/235) พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร โจทก์ นายเชิดชัย ขันทอง จำเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2547 (ส.3/175) พนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต โจทก์ นายสมบูรณ์ วันดี กับพวก จำเลย คดีตัวอย่าง พยานหลักฐานที่สืบมาไม่พอฟังได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2482 อัยการหล่มสัก โจทก์ นายแถว คำแปล กับพวก จำเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2544 (ส.4/182) พนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา โจทก์ นายวรวุฒิ ราชวงศ์รัมย์ กับพวก จำเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2545 (ส.2/105) พนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา โจทก์ นายพินิจหรือนิด อุปปะดง จำเลย การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเพียงว่ามี ส. มาเบิกความว่าได้ซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543 โดยมิได้ระบุวันที่หรือเวลาที่กระทำความผิดให้แน่นอน เป็นการบรรยายฟ้องและนำสืบได้ไม่ชัดเจน แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง จริง
มาตรา 176 ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มี ข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกำหนดอัตรา โทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร? ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม
|