ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont              

 

ในการนับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหายนั้นจะเริ่มนับเมื่อรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้อนุมัติให้ฟ้องคดีกับจำเลยซึ่งถือว่านิติบุคคลรู้ถึงการละเมิดและผู้ต้องชดใช้สินไหมในวันดังกล่าว

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2550

โจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งในระหว่างเกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ว่าการ ส. จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การที่ น. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองกฎหมายอันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าโจทก์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะ น. ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ ส่วนคำสั่งของโจทก์เรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกองกฎหมายนั้น เป็นเพียงคำสั่งกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของโจทก์เท่านั้น การที่ น. มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางตามปกติ ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนผู้ว่าการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทนอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ส. ผู้ว่าการของโจทก์ได้ทราบเรื่องตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาตามลำดับชั้นและลงนามอนุมัติให้ดำเนินคดีกับจำเลยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 จึงต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 175,237.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 154,060 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
                                 จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
                                  โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์จำนวน 175,237.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 154,060 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
                     จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มีนายสุนทร ตันถาวร เป็นผู้ว่าการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 เวลาประมาณ 15 นาฬิกา นายฤทธิ์รงค์ บุญจำนง ตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยขับรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 71-7300 กรุงเทพมหานคร ของจำเลยไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนเสาไฟฟ้าแรงสูงของโจทก์เสียหายเป็นเงิน 154,060 บาท วันที่ 19 เมษายน 1542 นางกรรณิกา กระบวนรัตน์ ผู้อำนวยการกองกฎหมายของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระค่าเสียหาย วันที่ 8 กรกฎาคม 2542 นางกรรณิกามีหนังสือเตือนและยืนยันให้จำเลยชำระค่าเสียหาย วันที่ 6 สิงหาคม 2542 นางกรรณิกาทำบันทึกถึงผู้อำนวยการฝ่ายธุรการรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ความเสียหายที่โจทก์ได้รับและขอดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ฝ่ายธุรการเสนอเรื่องดังกล่าวไปตามลำดับและผู้ว่าการลงนามอนุมัติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเฉพาะในปัญหาเรื่องอายุความว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า ตามคำสั่งของโจทก์เรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกองกฎหมาย กำหนดไว้ชัดเจนว่ากองอำนวยการและกองกฎหมายมีอำนาจทวงถามและเร่งรัดหนี้ที่กองการเงินหรือหน่วยงานอื่นๆ ขอให้ดำเนินการ รวมทั้งดำเนินการฟ้องร้องสำหรับหนี้ที่มีปัญหา การที่นางกรรณิกาในฐานะผู้อำนวยการกองกฎหมายมีหนังสือทวงถามและยืนยันให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นการกระทำในนามของโจทก์ถึงบุคคลภายนอกคือเป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในคำสั่งของโจทก์เท่ากับเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าการและแทนผู้ว่าการ ถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นวันทวงถาม เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 4 สิงหาคม 2543 จึงเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้มีนายสุนทร ตันถาวร เป็นผู้ว่าการ นายสุนทรจึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การที่นางกรรณิกาซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองกฎหมายอันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าโจทก์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะนางกรรณิกาไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ ส่วนคำสั่งของโจทก์เรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกองกฎหมายให้ผู้อำนวยการกองกฎหมายมีอำนาจทวงถามหรือเร่งรัดหนี้นั้นเป็นเพียงคำสั่งกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของโจทก์เท่านั้น การที่นางกรรณิกามีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียนที่วางไว้ตามปกติ ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนผู้ว่าการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทนอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่านายสุนทร ผู้ว่าการของโจทก์ได้ทราบเรื่องตามที่เจ้าหน้าที่เสนอตามลำดับชั้นและลงนามอนุมัติให้ดำเนินคดีกับจำเลยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 จึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
           พิพากษายืน

( วิเชียร มงคล - กิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ - เอกชัย ชินณพงศ์ )


      หมายเหตุ

      นิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจเพื่อให้มีผลในทางกฎหมายเสมือนเป็นบุคคลในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ใช่บุคคลธรรมดา จึงไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ต้องมีบุคคลธรรมดาดำเนินการแทน แต่เนื่องจากนิติบุคคลบางแห่งมีขนาดใหญ่มาก ลำพังผู้มีอำนาจกระทำการแทนเพียงบุคคลเดียวไม่สามารถจะดูแลได้ทั่วถึงต้องมอบอำนาจให้บุคลากรในหน่วยงานช่วยดำเนินการแทนในแต่ละเรื่องหรือในส่วนต่างๆ เช่น ธนาคารมักจะมอบอำนาจให้บุคลากรคนหนึ่งมีอำนาจในการฟ้องคดี และสามารถมอบอำนาจช่วงได้ เป็นต้น การมอบอำนาจดังกล่าวผู้รับมอบอำนาจกระทำการไปถือว่ากระทำในฐานะธนาคาร ธนาคารต้องรับผลในการกระทำนั้น

หน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลก็มักจะมอบหมายหน้าที่ด้านใดด้านหนึ่งให้บุคลากรคนใดคนหนึ่งดำเนินการแทนเช่นกัน เช่น อธิบดีมอบหมายงานต่างๆ ให้รองอธิบดีปฏิบัติหน้าที่แทน กรณีเช่นนี้เราจะเห็นได้ชัดว่าหากรองอธิบดีกระทำการใดๆ ไปถือว่ากระทำแทนกรม ซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่หากมอบหมายให้บุคลากรในหน่วยงานซึ่งมีตำแหน่งต่ำลงไป เช่น อธิบดีมอบหมายให้ผู้อำนวยการกองกระทำการแทน กรณีนี้ทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าจะเป็นการมอบหมายโดยเด็ดขาดถือเป็นการกระทำแทนกรม ซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือไม่ เดิมศาลเองก็ไม่ยอมรับว่าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล แต่ต่อมาจึงยอมรับ เช่นกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองก่อสร้างและบูรณะมีอำนาจเรียกร้องให้ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายได้ โดยถือเป็นการกระทำของกรุงเทพมหานคร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2548 ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดฯ ข้อ 9 เป็นการมอบหมายการปฏิบัติราชการให้ผู้อำนวยการกองกองก่อสร้างและบูรณะของโจทก์ เป็นผู้มีอำนาจในการเรียกร้องให้ผู้กระทำละเมิดแก่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายกรณีความเสียหายของทรัพย์สินที่ถูกกระทำละเมิดไม่เกินห้าหมื่นบาทโดยเบ็ดเสร็จได้ด้วยตนเอง ดังนั้น เมื่อผู้อำนวยการกองกองก่อสร้างและบูรณะของโจทก์ดำเนินการเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดเป็นเงิน 37,060.60 บาท ซึ่งอยู่ภายในขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมายดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ มิใช่ในฐานะเป็นส่วนราชการของโจทก์เพียงอย่างเดียว และการที่ต่อมาพันตำรวจโท ธ. มีหนังสือแจ้งผลคดีให้ผู้อำนวยการกองกองก่อสร้างและบูรณะของโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันเกิดเหตุ โดยผู้อำนวยการกองลงชื่อรับทราบและมีคำสั่งให้ดำเนินการต่อไปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 นั้น มีผลผูกพันโจทก์เสมือนโจทก์เป็นผู้ทราบเรื่องดังกล่าวด้วยตนเอง จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยทั้งสองอย่างช้าที่สุดในวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 นั้นแล้ว ส่วนการที่ต้องรายงานให้ผู้ว่าราชการของโจทก์ทราบเพื่ออนุมัติให้ฟ้องคดีและลงนามในใบแต่งทนายความเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2541 เป็นเพียงการวางระเบียบบริหารภายในองค์กรของโจทก์เท่านั้น จะอ้างมาเป็นเหตุขยายอายุความไม่ได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2537 จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คดีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มีผู้ว่าการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน ผู้ว่าการของโจทก์มีคำสั่งให้ผู้อำนวยการกองกฎหมายมีอำนาจทวงถามและเร่งรัดหนี้ที่กองการเงินหรือหน่วยงานอื่นๆ ขอให้ดำเนินการ รวมทั้งดำเนินการฟ้องร้องสำหรับหนี้ที่มีปัญหาได้ ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการกองกฎหมายของโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ น่าจะถือได้ว่าเป็นการกระทำการแทนโจทก์แล้ว หากไม่ถือว่าเป็นการกระทำแทนก็จะเกิดข้อคิดว่าการที่ผู้อำนวยการกองกฎหมายกระทำไปไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ เลยหรือ ทั้งๆ ที่หากจำลยไม่ชำระค่าเสียหาย ผู้อำนวยการกองกฎหมายมีสิทธิฟ้องคดีได้ตามคำสั่งของผู้ว่าการของโจทก์ การที่ผู้อำนวยการกองกฎหมายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนน่าจะต้องถือว่าโจทก์รู้เช่นกัน เทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น
                           ศิริชัย วัฒนโยธิน

                   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
            มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด
             แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิด มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมา นั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ
                    มาตรา 797 อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดั่งนั้น
                    อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัด หรือโดย ปริยายก็ย่อมได้
อายุความละเมิด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตัวการตัวแทน รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิด ไม่พ้นกำหนด 1 ปี ไม่ขาดอายุความ
 

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย

โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐ โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนางพิสมร ภรรยาชอบด้วยกฎหมายของนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายก่อนนายประเสริฐ โดยมีทรัพย์มรดกนายประเสริฐ เป็นคู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร  เมื่อนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของพิสมร โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐจึงมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร ในส่วนที่้ตกได้แก่นายประเสริฐ ได้  

 

 




ฎีกาปี2550

ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียสิทธิเพิกถอนผู้จัดการมรดก
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด-หนี้ที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาชำระหนี้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว-ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน-ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง
บุตรบุญธรรม
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้