
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258
-ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line :
(1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
การตรวจค้นและจับกุมจะชอบหรือไม่ก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ตำรวจค้นบ้านและจับโดยไม่มีหมายค้นแม้เป็นการตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นเรื่องที่จะต้องไปฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นคดีเรื่องใหม่ไม่เกี่ยวกับขั้น ตอนการสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2550
การตรวจค้นและการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็น เรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และเป็นคนละขั้นตอนกับการสอบสวน ไม่มีผลกระทบไปถึงการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและอำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์ ทั้งหามีผลทำให้การแสวงหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจที่ชอบเป็นไม่ชอบ ด้วยกฎหมายไปด้วยไม่ การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 58, 83, 91 ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง บวกโทษของจำเลยที่ 1 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 947/2545 ของศาลชั้นต้นเข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ และนับโทษของจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1120/2546 และ 1136/2546 ของศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ และจำเลยที่ 2 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 8 ปี บวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 947/2545 ของศาลชั้นต้นเข้ากับโทษในคดีนี้ เป็นจำคุก 8 ปี 6 เดือน ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ริบของกลาง (ที่ถูก ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง)
โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า การตรวจค้นบ้านของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานตำรวจกระทำโดยไม่มีหมายค้น และไม่มีเหตุที่จะเข้าค้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 (2) และ (5) เนื่องจากการกระทำความผิดในคดีนี้มิได้กระทำโดยซึ่งหน้า ทั้งมิใช่กรณีที่ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้านและการจับนั้นมีหมายจับ เห็นว่า การตรวจค้นและการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็น เรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และเป็นคนละขั้นตอนกับการสอบสวนไม่มีผลกระทบไปถึงการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์ ทั้งหามีผลทำให้การแสวงหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจที่ชอบเป็นไม่ชอบ ด้วยกฎหมายไปด้วยไม่ การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎาไม่รับวินิจฉัย”
พิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 1
( ประเสริฐ วิริยสิทธาวัฒน์ - สิทธิชัย รุ่งตระกูล - ธนัท วิรบุตร์ )
หมายเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2550 วินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายว่า "การตรวจค้นบ้านจำเลยและการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจจะชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และเป็นคนละขั้นตอนกับการสอบสวน ไม่มีผลกระทบไปถึงการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและอำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์ ทั้งหามีผลทำให้การแสวงหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจที่ชอบเป็นไม่ชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่" จึงเป็นการยืนยันหลักกฎหมายที่ว่า ความชอบด้วยกฎหมายของขั้นตอนการค้นและการจับกุมไม่มีความสัมพันธ์ในการส่งผล ให้การสอบสวนชอบหรือไม่
ส่วนการที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 15 นั้น" หมายความว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 ฎีกาอ้างว่าการตรวจค้นบ้านของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานตำรวจกระทำโดยไม่มีหมายค้นและไม่มีเหตุที่จะเข้าค้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 (2) และ (5) เนื่องจากการกระทำความผิดในคดีนี้มิได้กระทำโดยซึ่งหน้า ทั้งมิใช่กรณีที่ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้านและการจับนั้นมีหมายจับ ศาลฎีกาจึงบอกว่า ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวว่า การค้นก็ดีการจับก็ดีจะชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยอ้างหรือไม่เพราะถึงอย่างไร ก็ไม่มีผลต่อคดี (กล่าวคือ ไม่ส่งผลให้การสอบสวนชอบหรือไม่ชอบ) ศาลฎีกาจึงเห็นว่าเรื่องที่จำเลยอ้างในฎีกาไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับ การวินิจฉัย
พรเพชร วิชิตชลชัย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสั ยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น
(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการ กระทำความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมา ได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78
การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้น และบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้ แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป
----ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ ---- * www.lawyerleenont.com * สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ ปรึกษาทนาย 084 130 2058
ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับคดีแทนบุคคลภายนอกแล้ว ตัวบุคคลภายนอกเองก็ไม่มีสิทธิขอบังคับคดีเพราะไม่ใช่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีไม่มีส่วนได้เสียในชั้นบังคับคดี แม้ว่าบุคคลภายนอกจะมีส่วนได้เสียตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องร้องบังคับคดีจำเลย
http://www.peesirilaw.com/การบังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา/ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดี.html
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์อาจอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตวตามความเป็นจริง หรือตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายก็ได้ ในกรณที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย โจทก์ก็มีหน้าที่เพียงนำสืบให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐาน ถ้าโจทก์สืบไม่ได้ก็ถือไม่ได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ศาลก็ต้องยกฟ้อง แต่ถ้าโจทก์ฟ้องโดยอ้างว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายและตามความเป็นจริงด้วย
http://www.peesirilaw.com/พระราชบัญญัติล้มละลาย/การฟ้องคดีล้มละลาย.html
การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด
คำสั่งศาลให้ริบของกลาง ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องห้ามฎีกาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ในคดีนี้ผู้ฎีกายื่นฎีกาต่อศาลฎีกาโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการับคดีไว้พิจารณาพร้อมกับฎีกาภายในกำหนด ดังนั้นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
http://www.peesirilaw.com/ยาเสพติดให้โทษ/การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด.html
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ 0859604258 * www.peesirilaw.com *
http://www.peesirilaw.com/เกี่ยวกับกฎหมาย/สำนักงานทนายความ-รับปรึกษากฎหมาย-0859604258.html
http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=webboard