
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
เรื่องฎีกาไม่ได้ลงชื่อ | ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา ดังนั้นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2550 ฎีกาของจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา โดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามในมาตรา 1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 แห่ง ป.วิ.อ. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเงิน 14,900 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จำคุก 2 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 เดือน กับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเงิน 14,000 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 จำคุก 1 เดือน 10 วัน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 20 วัน แต่ให้เปลี่ยนเป็นลงโทษกักขังมีกำหนด 20 วัน แทนโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้ปรากฏว่า ฎีกาของจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกาโดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามในมาตรา 1 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” พิพากษายกฎีกาของจำเลย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี มาตรา 215 นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วย การพิจารณาและว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้น มาบังคับ ในชั้นศาลอุทธรณ์ด้วยโดยอนุโลม มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี
|