ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont               

 

จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ การพิจารณาค่าชดเชยของโจทก์จะต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 มิใช่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 ดังที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงตกอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้องคดีนี้ จึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยโดยอ้างว่ามีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นการอ้างบทกฎหมายคลาดเคลื่อน แต่พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 เมื่อ โจทก์เป็นลูกจ้างในการช่วยชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2542 โดยไม่ได้กำหนดเวลาจ้างไว้และถูกเลิกจ้างโดยมีผลในวันที่ 30 เมษายน 2545 ด้วยเหตุว่าการชำระบัญชีดำเนินลุล่วงแล้วหลายส่วน จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเลิกจ้างไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868 - 5869/2550

จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงตกอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้องคดีนี้ ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยโดยอ้างว่ามีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นการอ้างบทกฎหมายคลาดเคลื่อน แต่พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับเดิม และยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 95 โจทก์เป็นลูกจ้างในการช่วยชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2542 โดยไม่ได้กำหนดเวลาจ้างไว้ และถูกเลิกจ้างโดยมีผลในวันที่ 30 เมษายน 2545 ด้วยเหตุว่าการชำระบัญชีดำเนินลุล่วงแล้วหลายส่วน จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 (3) และตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 มิได้มีบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยไว้แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมพิจารณาเข้าด้วยกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่าโจทก์ และเรียกจำเลยทั้งสองในสำนวนหลังต่อจากจำเลยทั้งสิบในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 11 และที่ 12 ตามลำดับ

โจทก์ฟ้องทั้งสองสำนวนขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบสองจ่ายค่าชดเชยจำนวน 42,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสิบสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 7 และที่ 9 ศาลแรงงานกลางอนุญาต

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 จ่ายค่าชดเชยจำนวน 42,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง ไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2526 ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 23,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 มีพระราชกฤษฎีกายุบเลิกหน่วยงานจำเลยที่ 1 แต่ให้คงอยู่ในระหว่างชำระบัญชีและตั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชี เมื่อจำเลยที่ 1 ยุบกิจการได้เลิกจ้างโจทก์และจ่ายค่าชดเชยหลังหักหนี้ที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาวันที่ 2 มกราคม 2542 คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีได้จ้างโจทก์เป็นผู้ช่วยในการชำระบัญชีโดยไม่ได้กำหนดเวลาจ้างกันไว้ เพียงกำหนดภารกิจให้ช่วยชำระบัญชีจนเสร็จเท่านั้น ให้ค่าจ้างเดือนละ 7,000 บาท วันที่ 22 มีนาคม 2545 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการผู้ชำระบัญชีมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลเป็นการเลิกจ้างวันที่ 30 เมษายน 2545 อ้างเหตุว่าการชำระบัญชีดำเนินลุล่วงแล้วหลายส่วน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ้างโจทก์อีกต่อไป จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 อุทธรณ์ประการแรกว่า ในขณะที่พระราชกฤษฎีกายุบเลิกจำเลยที่ 1 นั้น กิจการของจำเลยที่ 1 ยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์จึงต้องทำงานต่อไปจนกว่าการชำระบัญชีจะแล้วเสร็จโดยยังคงเป็นพนักงานต่อไปตามเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้โดยสำคัญผิด เพราะโจทก์ยังไม่ได้พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จนกระทั่งเมื่อมีการชำระบัญชีเสร็จสิ้นจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เลิกจ้างโจทก์ และถือว่าค่าชดเชยที่โจทก์ได้รับโดยไม่มีสิทธิแต่แรกนั้นเป็นค่าชดเชยเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างในภายหลัง เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ส่วนที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 อุทธรณ์ว่า การพิจารณาค่าชดเชยของโจทก์จะต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 มิใช่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 ดังที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนั้น เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงตกอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้องคดีนี้ จึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยโดยอ้างว่ามีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นการอ้างบทกฎหมายคลาดเคลื่อน แต่พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยทั้งสิบสองตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับเดิมและยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 95 เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จริงว่า โจทก์เป็นลูกจ้างในการช่วยชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2542 โดยไม่ได้กำหนดเวลาจ้างไว้และถูกเลิกจ้างโดยมีผลในวันที่ 30 เมษายน 2545 ด้วยเหตุว่าการชำระบัญชีดำเนินลุล่วงแล้วหลายส่วน จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเลิกจ้างไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 (3) เป็นเงิน 42,000 บาท และตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 มิได้มีบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้ แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 ได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 12 ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.
 

มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้

คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

 

 




ฎีกาปี2550

ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียสิทธิเพิกถอนผู้จัดการมรดก
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด-หนี้ที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาชำระหนี้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว-ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน-ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง
บุตรบุญธรรม
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้