
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย แม้ผู้ขายสินค้าในฐานะผู้เอาประกันภัยได้มอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งแล้วความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยหาได้สิ้นสุดเพราะเหตุเรื่องกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อไม่ สิทธิของผู้เอาประกันภัยจะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามสัญญาประกันภัย สิทธิตามสัญญาซึ่งกฎหมายบัญญัติต่างลักษณะกัน เมื่อเข้าลักษณะใดต้องใช้ลักษณะนั้นบังคับ จะยกเอาบทบัญญัติในเรื่องกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะซื้อขายมาเป็นข้อวินิจฉัยสิทธิของผู้ขายอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยไม่ได้ ในเรื่องสิทธิของผู้เอาประกันภัยอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยจะมีเพียงใดก็ต้องเป็นไปตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ที่ 1 (ผู้ขาย) และจำเลย (ผู้รับประกันภัย) ได้ตกลงประกันภัยทุกชนิดที่อาจเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผู้ขนส่งทำการขนส่งสินค้าจากต้นทางกรุงเทพมหานครถึงปลายทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นสุดลงเมื่อโจทก์ที่ 1 มอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งตามเงื่อนไขการซื้อขายแบบเอฟ. โอ. บี. แต่การคุ้มครองจะมีตลอดเวลาที่ผู้ขนส่งทำการขนส่งจากต้นทางกรุงเทพมหานครถึงปลายทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสินค้าสูญหายในระหว่างการขนส่ง จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 1,770,794 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,673,156 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,254,867 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงิน (วันที่ 21 สิงหาคม 2546) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ที่ 1 โดยกำหนดค่าทนายความให้ 50,000 บาท ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์ที่ 2 ให้เป็นพับ จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 หรือไม่ ...ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองตกลงซื้อขายสินค้ากันในราคา เอฟ โอ บี โจทก์ที่ 1 ผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ที่ 2 ในต่างประเทศคือเพียงได้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งและผู้ขนส่งได้ออกใบรับขนทางอากาศให้แก่ผู้ส่งของแล้ว กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนไปยังผู้ซื้อคือโจทก์ที่ 2 แล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 เอาประกันภัยในความเสียหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งและโจทก์ที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งแล้ว ความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยย่อมสิ้นสุดลง ความเสียหายอยู่นอกเหนือความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยรับประกันภัยความเสียหายในระหว่างการขนส่งจากโจทก์ที่ 1 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดนั้น ที่จำเลยอ้างว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งแล้ว กรรมสิทธิ์ในสินค้าย่อมโอนไปยังผู้ซื้อนั้น เห็นว่า การส่งมอบทรัพย์สินซื้อขายดังกล่าวนั้นมิใช่เป็นข้อวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เพราะการส่งมอบเป็นเพียงหน้าที่ประการหนึ่งของผู้ขายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 และถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ หรือในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน หรือในการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อใดก็ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459, 460 และจะยกเอาบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ในลักษณะซื้อขายมาเป็นข้อวินิจฉัยสิทธิของผู้ขายอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งกฎหมายบัญญัติต่างลักษณะกัน เมื่อเข้าลักษณะใดต้องใช้ลักษณะนั้นบังคับ ในเรื่องสิทธิของผู้เอาประกันภัยอันเกิดแต่สัญญาประกันภัยจะมีเพียงใดก็ต้องเป็นไปตามสัญญาประกันภัย ในข้อนี้นางเสาวภาและนางสาวปริยาภรณ์ พยานโจทก์ที่ 1 ได้ให้ถ้อยคำตรงกันได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยได้ตกลงประกันภัยทุกชนิดที่อาจเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผู้ขนส่งทำการขนส่งสินค้าจากต้นทางกรุงเทพมหานครถึงปลายทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวก็ระบุไว้ชัดว่า การประกันภัยนี้เริ่มคุ้มครองตั้งแต่เวลาที่สำนักไปรษณีย์ได้รับวัตถุที่เอาประกันภัยและมีการออกใบรับโดยถูกต้อง และผลความคุ้มครองจะดำเนินต่อเนื่อง โดยเส้นทางการขนส่งตามปกติจนกว่าได้ส่งมอบให้ผู้รับสินค้า ณ ปลายทาง ดังนี้ ความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจึงไม่สิ้นสุดลงเมื่อโจทก์ที่ 1 มอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง แต่กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวคุ้มครองตลอดเวลาที่ผู้ขนส่งทำการขนส่งจากต้นทางกรุงเทพมหานครจนถึงปลายทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบ เมื่อสินค้าสูญหายในระหว่างการขนส่ง จำเลยผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย... พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นนี้ 30,000 บาท แทนโจทก์ที่ 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและใน การนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐ โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนางพิสมร ภรรยาชอบด้วยกฎหมายของนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายก่อนนายประเสริฐ โดยมีทรัพย์มรดกนายประเสริฐ เป็นคู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร เมื่อนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของพิสมร โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐจึงมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร ในส่วนที่้ตกได้แก่นายประเสริฐ ได้
|