ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont             

 

ขณะเกิดเหตุเด็กหญิงอายุ 14  ปีเศษ การที่จำเลยมารับเด็กหญิงไปรับประทานอาหาร มารดาของเด็กหญิงก็รับรู้ และทราบว่าบุตราสาวของตนค้างคืนกับจำเลยที่บ้านจำเลย พฤติการณ์แสดงว่า มารดาของเด็กหญิงรู้เห็นยินยอมการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ แต่จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15  ปี แม้เด็กหญิงนั้นจะยินยอมก็ตามก็เป็นความผิดตามมาตรา 277 วรรคแรก

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2550

ขณะที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายที่ 1 นั่งซ้อนท้ายไปเที่ยวที่หาดทรายแก้ว ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้เสียหายที่ 1 ก็อยู่บริเวณใกล้ๆ นั้นด้วยหลังจากนั้น 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 ไปขอร้องให้ น. พาไปพูดกับบิดามารดาจำเลยว่ายอมจะรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เป็นสะใภ้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาจำเลยบอกว่าจะรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เหมือนบุตรสะใภ้ ผู้เสียหายที่ 2 ก็พอใจโดยไม่มีการเรียกสินสอดแต่อย่างใด ต่อมา 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 ไปขอให้ น. ไปพูดกับบิดามารดาจำเลยว่าให้ทำพิธีสมรส แต่บิดามารดาจำเลยบอกว่าให้รอไว้ก่อน ผู้เสียหายที่ 2 รู้เรื่องดังกล่าวแล้วก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน ตามพฤติการณ์ของผู้เสียหายที่ 2 ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านจำเลยและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยความยินยอมของผู้เสียหายที่ 1 และโดยความรู้เห็นยินยอมของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.317 วรรคสาม

แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เกือบจะมีอายุครบ 15 ปี แล้วก็ตาม แต่กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก นั้นจะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจสำคัญผิดโดยสุจริต แต่จำเลยมิได้นำสืบในเรื่องดังกล่าว จำเลยคงเบิกความว่าผู้เสียหายที่ 1 บอกจำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 มีอายุ 16 ปี ส่วน ส.พี่สาวจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า ผู้เสียหายที่ 1 บอก ส. ว่ามีอายุ 16 ปีกว่าแล้ว ส่วน บ. บิดาจำเลยกลับให้การชั้นสอบสวนว่า บ. ได้สอบถามเรื่องอายุ ผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 18 ปี คำเบิกความของจำเลยและคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. ไม่สอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของ บ. เพราะขัดแย้งหรือต่างกันมากถึง 2 ปี ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีรูปร่างใหญ่กว่าเด็กหญิงทั่วไปอันเป็นเหตุชักจูงใจให้จำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ลำพังคำเบิกความของจำเลยที่ว่าผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 16 ปี เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งไม่ใช่ภริยาของตนโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 317, 91
      จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก, 317 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 6 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุสมควรเพื่อการอนาจาร จำคุก 6 ปี รวมจำคุก 12 ปี
      จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
     โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุ เด็กหญิง ส. ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 14 ปี 11 เดือนเศษ และเป็นบุตรของ ค. ผู้เสียหายที่ 2 เมื่อวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีผู้เสียหายทั้งสองเป็นพยาน โดยผู้เสียหายที่ 1 เบิกความว่า วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่ชายทะเลจนถึงเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายมาส่งที่บ้าน เมื่อถึงบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้ว จำเลยไม่จอดรถแต่กลับขับรถพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านจำเลยแล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 1 ไว้ จนกระทั่งจำเลยลืมใส่กุญแจบ้าน ผู้เสียหายที่ 1 จึงหลบหนีออกมาบอกผู้เสียหายที่ 2 ส่วนผู้เสียหายที่ 2 เบิกความว่า หลังจากผู้เสียหายที่ 2 ทราบจากนางคำเลียนหรือเลียน  ว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายที่ 1 นั่งซ้อนท้ายไปแล้ว ต่อมา 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 ไปตามหาผู้เสียหายที่ 1 ที่บ้านจำเลย แต่ไม่พบจำเลย คงพบนายบุญฤทธิ์  บิดาจำเลย นายบุญฤทธิ์บอกผู้เสียหายที่ 2 ว่า ผู้เสียหายที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยที่สวนผักห่างจากบ้านจำเลยประมาณ 1 กิโลเมตร ผู้เสียหายที่ 2 ไม่กล้าไปตามผู้เสียหายที่ 1 ให้กลับบ้านเพราะกลัวจำเลยจะฆ่า ผู้เสียหายที่ 2 จึงกลับบ้าน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ผู้เสียหายที่ 1 กลับมาเอาของใช้ส่วนตัวที่บ้านผู้เสียหายที่ 2 แล้วก็กลับไปไม่ถึง 1 ชั่วโมง มีชาวบ้านมาบอกผู้เสียหายที่ 2 ว่าผู้เสียหายที่ 1 ถูกพวกจำเลยทำร้าย ผู้เสียหายที่ 2 จึงไปที่บ้านจำเลยพบจำเลย มารดาจำเลยและพี่สาวจำเลยกำลังร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ผู้เสียหายที่ 2 จึงพาผู้เสียหายที่ 1 กลับบ้านและพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรตำบลท่าฉัตรไชย เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำร้ายร่างกายและพรากผู้เยาว์ แต่จ่าสิบตำรวจนิรันดร์ จันทร์พิทักษ์ พยานโจทก์อีกปากหนึ่งกลับเบิกความว่า ผู้เสียหายที่ 2 มาบอกพยานว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปอยู่ที่บ้านจำเลย จึงมาขอให้พยานช่วยพูดกับบิดามารดาจำเลยว่าจะยอมรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เป็นสะใภ้หรือไม่ พยานจึงพาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่บ้านจำเลย พบผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยอยู่หลังบ้านพยานสอบถามนายบุญฤทธิ์ นายบุญฤทธิ์บอกว่าจะรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เหมือนบุตรสะใภ้ ผู้เสียหายที่ 2 พอใจ จึงพากันกลับโดยไม่มีการเรียกค่าสินสอด หลังจากนั้น 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 ไปบอกพยานเพื่อขอให้พยานไปช่วยพูดกับบิดามารดาจำเลยว่าให้ทำพิธีสมรส แต่นายบุญฤทธิ์และมารดาจำเลยบอกว่าให้รอไว้ก่อน พยานก็ไปบอกเรื่องดังกล่าวให้ผู้เสียหายที่ 2 ทราบ เห็นว่า จ่าสิบตำรวจนิรันดร์เป็นผู้ที่ชาวบ้านในบริเวณที่เกิดเหตุเคารพนับถือ คำเบิกความของจ่าสิบตำรวจนิรันดร์จึงมีน้ำหนักให้รับฟังประกอบกับนางคำเลียนก็ให้การชั้นสอบสวนว่า ขณะที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายที่ 1 นั่งซ้อนท้ายไปเที่ยวที่หาดทรายแก้วเพื่อจะไปรับประทานส้มตำ ผู้เสียหายที่ 2 ก็อยู่บริเวณใกล้ๆ นั้นด้วย แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หลังจากนั้น 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 จึงไปขอร้องให้จ่าสิบตำรวจนิรันดร์พาไปพูดกับบิดามารดาจำเลยว่าจะยอมรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เป็นสะใภ้หรือไม่ เมื่อนายบุญฤทธิ์และมารดาจำเลยบอกว่าจะรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เหมือนบุตรสะใภ้ ผู้เสียหายที่ 2 ก็พอใจ โดยไม่มีการเรียกค่าสินสอดแต่อย่างใด ต่อมา 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 ไปขอให้จ่าสิบตำรวจนิรันดร์ไปพูดกับนายบุญฤทธิ์และมารดาจำเลยว่าให้ทำพิธีสมรสแต่นายบุญฤทธิ์และมารดาจำเลยบอกว่าให้รอไว้ก่อน ผู้เสียหายที่ 2 รู้เรื่องดังกล่าวแล้วก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน ตามพฤติการณ์ของผู้เสียหายที่ 2 ดังกล่าว เชื่อได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยความยินยอมของผู้เสียหายที่ 1 และโดยความรู้เห็นยินยอมของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก โดยจำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายที่ 1 มีอายุเกิน 15 ปี แล้วหรือไม่ เห็นว่า แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เกือบจะมีอายุครบ 15 ปี แล้วก็ตาม แต่กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก นั้นจะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต แต่จำเลยมิได้นำสืบในเรื่องดังกล่าว จำเลยคงเบิกความว่า ผู้เสียหายที่ 1 บอกจำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 มีอายุ 16 ปี ส่วนนางสาวสุขฤดี  พี่จำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า ผู้เสียหายที่ 1 บอกนางสาวสุขฤดีว่ามีอายุ 16 ปีกว่าแล้ว ส่วนนายบุญฤทธิ์กลับให้การชั้นสอบสวนว่า นายบุญฤทธิ์สอบถามเรื่องอายุ ผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 18 ปี คำเบิกความของจำเลยและคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาวสุขฤดีไม่สอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของนายบุญฤทธิ์เพราะขัดแย้งหรือต่างกันมากถึง 2 ปี ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าเด็กหญิงทั่วไป อันเป็นเหตุชักจูงใจให้จำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ลำพังคำเบิกความของจำเลยที่ว่าผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 16 ปี เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งไม่ใช่ภริยาของตนโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมจนสำเร็จความใคร่ไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง ตามที่จำเลยให้การชั้นสอบสวน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน”

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในข้อหาความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8
                      ( เรวัตร อิศราภรณ์ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - วีระชาติ เอี่ยมประไพ )  

                       ประมวลกฎหมายอาญา

                        มาตรา 62 ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็น ความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดหรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษ น้อยลง แล้วแต่กรณี
                         ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่ง มาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วย ความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำ โดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าการกระทำ นั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท
                         บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้น จะต้องได้รู้ข้อเท็จนั้น

                         มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
                         การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น
                         ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
                         ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกันและเด็กนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
                ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำ ต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป

                มาตรา 317 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท
                 ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
                 ถ้าความผิดตาม มาตรานี้ ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้นั้นกระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
   *ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี,กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม โดยความรู้เห็นยินยอมของบิดามารดา*
 

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย

โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐ โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนางพิสมร ภรรยาชอบด้วยกฎหมายของนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายก่อนนายประเสริฐ โดยมีทรัพย์มรดกนายประเสริฐ เป็นคู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร  เมื่อนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของพิสมร โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐจึงมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร ในส่วนที่้ตกได้แก่นายประเสริฐ ได้  

  

 

 




ฎีกาปี2550

ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียสิทธิเพิกถอนผู้จัดการมรดก
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด-หนี้ที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาชำระหนี้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว-ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน-ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง
บุตรบุญธรรม
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้