
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน หน้าห้องพักของผู้เสียหายมีการกั้นผนังด้วยอิฐบล็อกและมีช่องประตูทางเข้ากั้นไว้เป็นสัดส่วนเป็นพื้นที่ใช้สอยของผู้เสียหายบุคคลอื่นไม่สามารถจะเข้าไปใช้สอยได้ ถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย การที่จำเลยกับพวกเข้าไปรุมชกต่อย เตะผู้เสียหายที่บริเวณหน้าห้องพักของผู้เสียหาย ถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานของผู้อื่นในเวลากลางคืน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2550 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 295, 364, 365 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 364, 365 (1) (2) (3), 83 เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้าย จำคุก 4 เดือน ฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่น 2 กระทง จำคุกกระทงละ 8 เดือน รวมทุกกระทงจำคุก 1 ปี 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 8 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 16 เดือน จำเลยไม่มีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 และมาตรา 83 ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยกับนายธวัชหรือหนุ่ย น้องจำเลย และนายวาทีหรือเต็ง จำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2736/2543 ของศาลชั้นต้น เข้าไปหานางสาวกนกวรรณ โดยรออยู่บริเวณหน้าห้องพักของผู้เสียหายที่ 1 เมื่อนางสาวกนกวรรณออกมาจากห้องน้ำนายธวัชจะเข้าไปลวนลาม แต่ผู้เสียหายที่ 1 ขัดขวาง จำเลยกับพวกจึงร่วมกันทำร้ายร่างกายนายมานพผู้เสียหายที่ 1 และนายดิลก ผู้เสียหายที่ 2 เห็นเหตุการณ์จึงวิ่งเข้ามาห้ามแต่ก็ถูกจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับอันตรายแก่กาย เหตุเกิดที่บริเวณหน้าห้องพักที่ทางปั้มน้ำมันซัสโก้จัดให้เป็นที่พักของผู้เสียหายที่ 1 คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานของผู้อื่นในเวลากลางคืนหรือไม่ เมื่อพิจารณาแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุประกอบภาพแสดงสถานที่เกิดเหตุแล้ว จะเห็นว่า ที่เกิดเหตุซึ่งบริเวณหน้าห้องพักของผู้เสียหายที่ 1 มีการกั้นผนังด้วยอิฐบล็อกและมีช่องประตูทางเข้ากั้นไว้เป็นสัดส่วน บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ใช้สอยของผู้เสียหายที่ 1 บุคคลอื่นไม่สามารถจะเข้าไปใช้สอยได้ ที่เกิดเหตุถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (4) การที่จำเลยกับพวกเข้าไปรุมชกต่อย เตะผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณหน้าห้องพักของผู้เสียหายที่ 1 ถือว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานของผู้อื่นในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (3) ประกอบมาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีความผิดฐานดังกล่าวมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (3) ประกอบมาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน เมื่อรวมกับโทษฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วเป็นจำคุก 20 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครอง ของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะ ห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 362 มาตรา 363 หรือ มาตรา 364 ได้กระทำ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐ โจทก์จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนางพิสมร ภรรยาชอบด้วยกฎหมายของนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายก่อนนายประเสริฐ โดยมีทรัพย์มรดกนายประเสริฐ เป็นคู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร เมื่อนายประเสริฐ ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของพิสมร โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายประเสริฐจึงมีสิทธิรับมรดกของนางพิสมร ในส่วนที่้ตกได้แก่นายประเสริฐ ได้
|