
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
ความผิดหลายกรรมเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี แต่ในคดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลนำโทษจำคุกจาก 16 คดีมารวมลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 นั้นหาได้ไม่เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2550 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยรวม 16 คดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยยื่นคำร้องครั้งใหม่อ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225 คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2141/2538, 2289/2538, 2290/2538, 3047/2538, 3083/2538, 3150/2538, 3166/2538, 3243/2538, 3342/2538, 3349/2538 (ที่ถูก 3439/2548) ,3487/2538, 50/2539, และ 1793/2539 ของศาลชั้นต้น และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3105/2542, 4010/2542 และ 943/2543 ของศาลจังหวัดนนทบุรี โดยให้นับโทษจำคุกต่อกัน คดีถึงที่สุดแล้ว วันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้รวมโทษจำคุกของจำเลยตามคำพิพากษาทั้ง 16 สำนวน มิให้เกินกว่า 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 191, 192 วรรคท้าย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาได้ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน แต่ให้แก้ไขหมายเลขคดีแดงที่ 3349/2538 ของศาลชั้นต้น เป็นหมายเลขคดีแดงที่ 3439/2538 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด วันที่ 21 กรกฎาคม 2547 จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์รวมคดี 16 คดี ขอให้รวมโทษจำคุกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีของจำเลยไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จึงไม่อาจปรับโทษจำคุกของจำเลยรวมกันได้ ให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยทุกคดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยมายื่นคำร้องครั้งใหม่โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยชี้ขาดและถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแต่
มาตรา 15 วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้
มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้ คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี
|