
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
การใช้ดุลพินิจของคณะอนุญาโตตุลาการ สิทธิของผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะอนุญาโตตุลาการรับคำคัดค้านและข้อเรียกร้องแย้งของตนและหยุดดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการได้นั้นต้องเป็นกรณีที่ พระราชบัญญัตอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ให้อำนาจไว้ การที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้านหรือข้อเรียกร้องแย้งของผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการ เป็นกรณีที่คณะอนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 25 วรรคสอง ที่ให้อำนาจคณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ได้ตามที่เห็นสมควรในเมื่อไม่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายอนุญาโตตุลาการนั้นบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งเมื่อคณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งดังกล่าวแล้วคู่พิพาทจะใช้สิทธิทางศาลมายื่นคำร้องขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ก็ต้องมีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ ให้สิทธิคู่พิพาทยื่นคำร้องขอได้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ ให้สิทธิคู่พิพาทยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับกรณีนี้ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้มีคำสั่งให้คณะอนุญาโตตุลาการรับคำคัดค้านและข้อเรียกร้องแย้งของตน และหยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการในกรณีนี้ได้ ( ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย - เกรียงชัย จึงจตุรพิธ ) ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายสุรพล คงลาภ มาตรา ๒๕ ในการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้คู่พิพาทได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และให้มีโอกาสนำสืบพยานหลักฐานและเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของตนได้ตามพฤติการณ์แห่งข้อพิพาทนั้น ในกรณีที่คู่พิพาทมิได้ตกลงกันหรือกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ได้ตามที่เห็นสมควร อำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการนี้ให้รวมถึงอำนาจวินิจฉัยในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงด้วย เพื่อประโยชน์แห่งหมวดนี้ คณะอนุญาโตตุลาการอาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยพยานหลักฐานมาใช้โดยอนุโลม
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย ผู้คัดค้านอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายมาตั้งแต่เด็ก รับรองและแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าผู้ตายเป็นบุตร ส่งเสียให้การศึกษา ถือได้ว่าผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว แต่ผลของกฎหมายเพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่ ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
|