
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258
-ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line :
(1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
ความผิดฐานฟอกเงินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบขปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีอาญาที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ศาลเชื่อว่าโดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่เมื่อพยานหลักฐานโจทก์นำสืบมาแล้วนั้นยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลย กระทำความผิดหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2550
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 60 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบในการกระทำความ ผิดดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบเพื่อให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยทั้งสอง เป็นผู้กระทำความผิดจริง เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองก่อนถูกจับกุมว่า จำเลยทั้งสองมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจนมีรายได้นำไปซื้อทรัพย์สิน ของกลาง ลำพังจากการสอบสวนพบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ และจำเลยที่ 2 ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จะสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองไม่มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อทรัพย์สินของกลาง ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยทั้งสองรับโอนหรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อ ซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3, 5, 60 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมายและนับโทษจำเลยทั้งสองในคดีนี้ต่อจากโทษในคดี อาญาหมายเลขดำที่ 4876/2544 ของศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ และเคยต้องโทษและพ้นโทษมาแล้วตามฟ้องจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 (1), 60 จำคุกคนละ 3 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุกคนละ 4 ปี นับโทษต่อจากโทษของจำเลยทั้งสองในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 4876/2544 ของศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง ร้อยตำรวจเอกเดชากับพวกจับกุมจำเลยทั้งสองพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีน 45,800 เม็ด เงินจำนวน 21,000 บาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง รถยนต์หมายเลขทะเบียน ฐฉ 1161 กรุงเทพมหานคร โทรทัศน์สี 1 เครื่อง เครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง และตู้เย็น 1 ตู้ เป็นของกลาง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานโอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิด แหล่งที่มาของทรัพย์สินหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 60 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบในการกระทำความ ผิดดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ เมื่อคดีนี้เป็นคดีอาญาโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ เพื่อให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิดจริง แต่โจทก์มีเพียงร้อยตำรวจเอกเดชาผู้ร่วมจับกุมเบิกความเป็นพยานว่า เหตุที่ยึดทรัพย์สินของกลางเพราะฐานะของจำเลยทั้งสองไม่น่าที่จะมีทรัพย์สิน ของกลางได้ และสันนิษฐานว่าเงินจำนวน 21,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นเพียงความเข้าใจของพยานโจทก์เอง แม้จ่าสิบตำรวจกิติศักดิ์ผู้ร่วมจับกุม และพันตำรวจโทณรงค์พนักงานสอบสวนเบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองรับว่าใช้เงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษซื้อทรัพย์สิน ของกลางก็ตาม แต่ร้อยตำรวจเอกเดชาก็มิได้เบิกความถึงคำรับของจำเลยทั้งสองและไม่มีการ บันทึกคำรับของจำเลยทั้งสองไว้ในบันทึกการตรวจยึดทรัพย์สินเพื่อตรวจสอบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง ส่วนพันตำรวจโทณรงค์ก็เบิกความลอย ๆ โดยโจทก์มิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นพยาน คำเบิกความของจ่าสิบตำรวจกิติศักดิ์และพันตำรวจโทณรงค์จึงไม่มีน้ำหนักรับ ฟัง เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองก่อนถูกจับกุมว่า จำเลยทั้งสองมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจนมีรายได้นำไปซื้อทรัพย์สิน ของกลางและเป็นเหตุให้มีการไปตรวจค้นจับกุมจำเลยทั้งสองในวันเกิดเหตุ ลำพังจากการสอบสวนพบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประกอบอาชีพและจำเลยที่ 2 ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จะสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองไม่มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อทรัพย์สินของกลาง ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ทั้งจำเลยทั้งสองก็นำสืบว่าจำเลยทั้งสองมีรายได้จากการขายข้าวแกง การเล่นแชร์ การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน รับจำนำรถยนต์และกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยทั้งสองรับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิด แหล่งที่มาของทรัพย์สินหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง.
( ชัช ชลวร - วีระศักดิ์ เสรีเศวตรัตน์ - บวร กุลทนันทน์ )
การฟอกเงิน รับโอนหรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปก ปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 15 วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้
มาตรา 227 ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ทั้งปวงอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยก ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 84/1 คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนให้คู่ความ ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะ ได้รับประโยชน์ จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
มาตรา 5 ผู้ใด
(1) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิด แหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ
(2) กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน
มาตรา 60 ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี