ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont               

 

การประเมินภาษีเงินได้ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้น นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4231/2550

              แม้ผลการตรวจสอบภาษีโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ที่จำเลยลดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ลงจะมิใช่รายการที่ปรากฏอยู่ในแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2535 ที่โจทก์ยื่นไว้ก็ตาม แต่เนื่องจากผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ที่ยกมาแสดงในแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 แล้วเห็นว่า โจทก์ไม่มีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ที่จะยกไปในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 การที่จำเลยปรับปรุงลดผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ในแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จึงถือได้ว่าเป็นการประเมินจากรายการหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแบบแสดงรายการที่ผู้เสียภาษียื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานไม่ถูกต้องในส่วนของผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่ให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ในแบบ ภ.ง.ด. 50 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินตามมาตรา 18

           โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2542 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 18 และมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มเติมและเงินเพิ่ม รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 30,297,614.88 (ที่ถูก 30,297,614) บาท โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงยื่นอุทธรณ์การประเมิน ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2545 โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 และการแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ทั้งนี้เพราะการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ตามการประเมินไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์การประเมิน  โจทก์ได้อุทธรณ์การแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไว้แล้ว ส่วนของการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เพิ่มเติม เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าประเมินตามมาตรา 18 และมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีเงินได้นิติบุคลลโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 โดยอ้างว่าผลขาดทุนสุทธิยกมาที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ถูกต้อง เนื่องจากผลการตรวจสอบสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 มีการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์นั้นเป็นการประเมินโดยนำข้อมูลที่ปรากฏจากการตรวจสอบภาษีโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นมาใช้แทนรายการขาดทุนสุทธิที่โจทก์แสดงไว้ในรายการเป็นการประเมินโดยนำข้อเท็จจริงที่นอกเหนือจากแบบแสดงรายการมาใช้ในการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้น การประเมินของเจ้าพนักงานจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร นอกจากนี้การที่เจ้าพนักงานเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำผลขาดทุนสุทธิจำนวน 50,496,024.81 บาท มาหักเป็นรายจ่ายได้เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรสุทธิและผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมิได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิและรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์มีกำไร แต่มิได้มีการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติมแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยังไม่ยุติ โจทก์มีสิทธิยกขึ้นโต้แย้งชี้แจงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้ เจ้าพนักงานต้องออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เจ้าพนักงานไม่เคยออกหมายเรียกตรวจสอบแต่อย่างใด การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิที่ กค 0832/4.4/5640 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ สต. 3012041/2/100126 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ. 3 (อธ.3)/39/2546 และเลขที่ สภ.3 (อธ.3)/40/2546

จำเลยให้การว่า ข้อที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และมิได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 คงมีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 นั้นเจ้าพนักงานของจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีผลขาดทุนสะสมที่จะนำมาหักในการคำนวณภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิโดยให้เหตุผลว่าโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนผลขาดทุนสุทธิตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ข้อที่โจทก์อ้างว่าประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการประเมินโดยการนำข้อมูลนอกเหนือจากแบบแสดงรายการเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น การประเมินภาษีตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากรเป็นการประเมินตามแบบแสดงรายการที่ผู้เสียภาษียื่นไว้ ซึ่งหากผู้ยื่นแบบแสดงรายการคำนวณภาษีและยื่นรายการผิดพลาดในแบบแสดงรายการเจ้าพนักงานประเมินแจ้งประเมินภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตรวจพบรายการในแบบแสดงรายการที่โจทก์นำยอดผลขาดทุนสะสมยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิโดยโจทก์ทราบผลขาดทุนสุนธิของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้านั้นที่สามารถยกไปหักในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปตามคำพิพากษาศาลฎีกา ประกอบกับเจ้าพนักงานแจ้งให้โจทก์ทราบแล้วเพื่อให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เพิ่มเติม การที่เจ้าพนักงานแจ้งประเมินภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ส่งให้โจทก์รับไว้โดยชอบเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2542 จึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31 ซึ่งชอบด้วยกฎหมายแล้ว การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา โจทก์แถลงไม่ติดใจประเด็นที่ขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ สภ.3 (อธ.3)/39/2546

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/40/2546 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า “มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเพียงประการเดียวว่า การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้เจ้าพนักงานของจำเลยออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และปี 2534 แล้วพบว่า โจทก์มีกำไรสุทธิทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี ต่อมาวันที่ 16 กันยายน 2542 เจ้าพนักงานของจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบเพิ่มเติมว่า ผลการตรวจสอบดังกล่าวทำให้รอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 โจทก์ไม่มีผลขาดทุนสุทธิยกมาที่จะนำมาหักออกจากการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 โดยนำผลขาดสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี จำนวน 50,496,024.81 บาท มาคำนวณกำไรสุทธิ จึงไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงผลกำไรสุทธิใหม่แต่โจทก์ไม่ดำเนินการยื่นแบบเพิ่มเติมวันที่ 30 กันยายน 2542 จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 โดยลดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จำนวน 118,648,073.66 บาท ทำให้โจทก์มีกำไรสุทธิจำนวน 2,351,214.08 บาท และในวันเดียวกันจำเลยได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ว่า ผลการตรวจสอบสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 มีผลเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ตามหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิดังกล่าว จึงมีผลทำให้โจทก์จะต้องชำระภาษีเพิ่มเติม ดังนี้ แม้ผลการตรวจสอบภาษีโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ที่จำเลยลดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ลงจะมิใช่รายการที่ปรากฏอยู่ในแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ที่โจทก์ยื่นไว้ก็ตาม แต่เนื่องจากผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ที่ยกมาแสดงในแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 แล้วเห็นว่า โจทก์ไม่มีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ที่จะยกไปในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 การที่จำเลยปรับปรุงลดผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ในแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จึงถือได้ว่าเป็นการประเมินจากรายการหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแบบแสดงรายการที่ผู้เสียภาษียื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานไม่ถูกต้องในส่วนของผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่ให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ในแบบ ภ.ง.ด. 50 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินตามมาตรา 18 ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น”

   พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์
( เปรมใจ กิติคุณไพโรจน์ - ทองหล่อ โฉมงาม - กำธร โพธิ์สุวัฒนากุล )

หมายเหตุ

การประเมินภาษีเงินได้กรณีมีการยื่นแบบแสดงรายการนั้นอาจเป็นการประเมินตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่ต้องมีการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนก่อน หรืออาจเป็นการประเมินตามมาตรา 20 โดยมีการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อนก็ได้ ข้อแตกต่างระหว่างการประเมินตามมาตรา 18 และ มาตรา 20 คือ การประเมินตามมาตรา 18 เป็นการประเมินจากรายการหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแบบแสดงรายการที่ผู้เสียภาษียื่นเสียภาษี ส่วนการประเมินตามมาตรา 20 เป็นการประเมินจากรายการหรือข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ปรากฏตามแบบแสดงรายการหลังจากมีการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกตามมาตรา 19 แล้ว ดังนั้น การประเมินตามมาตรา 18 เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินจากรายการหรือข้อเท็จจริงนอกเหนือจากแบบแสดงรายการไม่ได้ หากมีการประเมินนอกเหนือจากรายการหรือข้อเท็จจริงตามแบบแสดงรายการจะเป็นการประเมินตามมาตรา 20 เมื่อมิได้มีการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน การประเมินนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2541)

คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากแบบแสดงรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2535 โดยมิได้มีการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 สำหรับระยะเวลาบัญชีดังกล่าวแต่อย่างใด ปัญหาจึงมีว่าการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินตามมาตรา 18 หรือ มาตรา 20 หากเป็นการประเมินตามมาตรา 18 การประเมินก็ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าเป็นการประเมินตามมาตรา 20 การประเมินก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมิได้มีการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน

แบบแสดงรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2535 หรือปี 2535 ระบุว่าโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ยกมาหักออกจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ฉะนั้น จึงต้องมีการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ว่า ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 นั้น โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิจริงหรือไม่ หากไม่มีผลขาดทุนสุทธิจริง ก็ไม่มีขาดทุนสุทธิที่โจทก์จะยกมาหักออกจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ได้ การคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ก็ไม่ถูกต้อง ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ไม่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 แต่เป็นกรณีที่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 เมื่อมีการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 แล้ว ผลการตรวจสอบไต่สวนปรากฏว่าโจทก์ไม่มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 จึงไม่มีผลขาดทุนสุทธิยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามที่โจทก์ระบุไว้ในแบบแสดงรายการของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 การคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ให้ถูกต้องโดยอาศัยมาตรา 18 ได้

ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

         ประมวลรัษฎากร

                 มาตรา 18 รายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้น ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมิน เป็นผู้ประเมินตามที่กำหนดไว้ในหมวดภาษีอากรนั้น ๆ และเมื่อได้ประเมินแล้ว ให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์ การประเมินก็ได้
                  ในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน ไปยังผู้จัดการมรดกหรือไปยังทายาทหรือผู้อื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี
                   ถ้าเมื่อประเมินแล้ว ไม่ต้องเรียกเก็บหรือเรียกคืนภาษีอากร การแจ้งจำนวนภาษีอากร เป็นอันงดไม่ต้องกระทำ แต่อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินยังคงดำเนินการ ตามมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ได้

                     มาตรา 19 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้น นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าว จะต้องกระทำภายในเวลาสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้น จะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวเกินกว่าสองปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษี

                   มาตรา 27 บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่างๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย หรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
                    ในกรณีอธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
                     การคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง ไม่ว่าภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้นจะเกิดจากการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาของศาล
 

สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย

ผู้คัดค้านอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายมาตั้งแต่เด็ก รับรองและแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าผู้ตายเป็นบุตร ส่งเสียให้การศึกษา ถือได้ว่าผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว แต่ผลของกฎหมายเพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่ ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้  

มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้

 

 

 




ฎีกาปี2550

ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียสิทธิเพิกถอนผู้จัดการมรดก
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด-หนี้ที่ไม่ได้ระบุระยะเวลาชำระหนี้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว-ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย
สิทธิของผู้รับจำนอง-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบ
ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน-ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง
บุตรบุญธรรม
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้