ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




เช็คประกันหนี้ผู้ออกเช็คไม่ติดคุก

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

เช็คประกันหนี้ผู้ออกเช็คไม่ติดคุก

ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การออกเช็คเพื่อเป็นการประกันหนี้ มิได้มีเจตนาจะใช้เช็คนั้นชำระหนี้ จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดดังกล่าว ไม่เป็นความทางอาญา และไม่ต้องติดคุก

เจ้าของเช็คหรือผู้ออกเช็คได้ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายส่งมอบให้ภริยานำไปเป็นประกันการซื้อสินค้าโดยไม่ได้มีส่วนร่วมในธุรกิจของภริยา ถือได้ว่าเช็คดังกล่าวไม่มีวันที่ออกเช็คและวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด การที่ภริยานำเช็คมาสลักหลังและเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายเองตามที่ภริยาตกลงกับผู้รับเช็ค(ผู้ทรง)ในภายหลังก็เป็นเพียงแต่ให้เช็คมีรายการต่างๆ สมบูรณ์ตามกฎหมายเพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้ผู้ออกเช็คมีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7152/2554

พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด         โจทก์
 
          จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ถือได้ว่าไม่มีวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ออกเช็คกระทำความผิด การที่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายตามที่ตกลงกับโจทก์ร่วมในภายหลัง เป็นเพียงแต่ให้เช็คมีรายการต่างๆ สมบูรณ์ตามกฎหมายเพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง หาทำให้กลับมาเป็นความผิดทางอาญาไม่ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คกับจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังร่วมกันออกเช็คนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
 
มาตรา 910  ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบังคับไว้ในมาตราก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน เว้นแต่ในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
ตั๋วแลกเงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น
ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน
ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย
ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

 มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตาม กฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
 (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
 (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
 (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
 (4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงิน ตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
 (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต เมื่อได้ มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ


          โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545 เวลากลางวันและวันที่ 3 มีนาคม 2545 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาลุมพินี รวม 9 ฉบับ ฉบับที่ 1 เลขที่ 8177625 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 ฉบับที่ 2 เลขที่ 8177655 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 ฉบับที่ 3 เลขที่ 8177626 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2545 ฉบับที่ 4 เลขที่ 8177648 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ฉบับที่ 5 เลขที่ 8177649 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ฉบับที่ 6 เลขที่ 8177650 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2545 ฉบับที่ 7 เลขที่ 8177651 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2545 ฉบับที่ 8 เลขที่ 8177652 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2545 และฉบับที่ 9 เลขที่ 8177653 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2545 ฉบับที่ 1 และที่ 3 สั่งจ่ายเงินฉบับละ 300,000 บาท ส่วนที่เหลือสั่งจ่ายเงินฉบับละ 310,000 บาท มอบให้แก่นายวรวิทย์ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน ผู้เสียหายนำเข้าธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งเก้าฉบับให้เหตุผลอย่างเดียวกันว่า มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นหรือออกเช็คโดยขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะออกเช็คนั้น หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91

          จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
          ระหว่างการพิจารณา นายวรวิทย์ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์ร่วมอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (5) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเรียงกระทงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้จำคุกกระทงละ 3 เดือน ทางนำสืบของจำเลยทั้งสองเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลงโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 9 กระทง จำคุก 18 เดือน

          จำเลยทั้งสองฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคัดค้านกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและกรอกรายการต่างๆ ยกเว้นวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งเก้าฉบับ ส่วนจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังและลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งเก้าฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อเช็คพิพาทแต่ละฉบับถึงกำหนดโจทก์ร่วมนำไปเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารเรียกเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลอย่างเดียวกันว่า มีคำสั่งให้ระงับการจ่าย ทั้งนี้เพราะจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งแก่ธนาคารให้ระงับการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่า ยังตกลงเรื่องสินค้าไม่เรียบร้อยตามหนังสือลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2545 เอกสารหมาย จ.21 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์และโจทก์ร่วมมีตัวโจทก์ร่วมเบิกความว่า โจทก์ร่วมรู้จักกับจำเลยที่ 2 มาก่อน ต่อมาจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 มาให้รู้จักและแนะนำเป็นหุ้นส่วนกัน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองเดินทางมาที่บ้านโจทก์ร่วมด้วยกันแทบทุกครั้งเพื่อเลือกสินค้าไปจำหน่าย และเมื่อซื้อสินค้าไปแล้วในวันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 1 จะสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมโดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังไว้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 และวันที่ 3 มีนาคม 2545 จำเลยทั้งสองมาที่บ้านโจทก์ร่วมและซื้อสินค้าไปหลายรายการตามบิลเงินสดเอกสารหมาย จ.22 ถึง จ.24 ตามลำดับ จำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ร่วมเป็นเช็ครวม 13 ฉบับ เช็คดังกล่าวเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 โจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังทุกฉบับ ส่วนจำเลยทั้งสองมีตัวจำเลยทั้งสองเบิกความทำนองเดียวกันว่า จำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากัน แต่ไม่เคยยุ่งเกี่ยวหรือเข้าหุ้นกันทำกิจการใดจำเลยที่ 2 ได้ขอยืมเช็คของจำเลยที่ 1 ไปเพื่อใช้ในการค้ำประกันการซื้อขายสินค้าของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เบิกความยืนยันว่า โจทก์ร่วมได้ชักชวนจำเลยที่ 2 นำสินค้าของโจทก์ร่วมไปขาย โดยให้จำเลยที่ 2 นำสินค้าไปขายก่อน หากขายได้ก็นำเงินมาจ่ายโจทก์ร่วม หากขายไม่ได้ให้นำสินค้ามาคืน ต่อมาโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 2 ไปเปิดบัญชีที่ธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) สาขาราชปรารภ เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำเช็คมาวางเพื่อค้ำประกันในการนำสินค้าจากโจทก์ร่วมไปจำหน่ายและโจทก์ร่วมจะนำเช็คของจำเลยที่ 2 ไปขายเพื่อหมุนเงินตามแบบขอเปิดบัญชีเอกสารหมาย ล.1 ส่วนหลักฐานการซื้อขายเมื่อจำเลยที่ 2 ไปที่บ้านของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจะฉีกกระดาษให้คนละ 1 ใบ เมื่อดูสินค้าและสอบถามราคากันแล้ว ต่างฝ่ายต่างจดรายละเอียดลงในกระดาษของตนแล้วต่างคนต่างเก็บไว้ตามหลักฐานการซื้อขายเอกสารหมาย ล.4 หลังจากนั้นบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 2 ถูกปิด โจทก์ร่วมจึงให้จำเลยที่ 2 นำเช็คของผู้อื่นมาค้ำประกันก็ได้ โดยให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันเช็คอีกทอดหนึ่งเพราะโจทก์ร่วมต้องการนำเช็คไปขายลดเพื่อหมุนเงิน จำเลยที่ 2 จึงขอยืมเช็คจากจำเลยที่ 1 เพื่อค้ำประกันการซื้อขายสินค้ากับโจทก์ร่วม จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหุ้นส่วนหรือมีส่วนร่วมในการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ร่วม พฤติการณ์ในการซื้อขายในช่วงหลังโจทก์ร่วมจะโทรศัพท์มาบอกจำเลยที่ 2 ให้ไปดูสินค้าและตกลงราคากันโดยบางครั้งโจทก์ร่วมจะหาราคาสินค้าและบอกว่าต้องการเช็คกี่ฉบับ หลังจากนั้น 2 ถึง 3 วัน จำเลยที่ 2 จะไปขอยืมเช็คจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนที่โจทก์ร่วมต้องการ โดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 จะไปเขียนวันที่สั่งจ่ายที่บ้านของโจทก์ร่วมตามที่โจทก์ร่วมกำหนด และจำเลยที่ 2 จะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คให้ จำเลยที่ 2 ไปที่บ้านโจทก์ร่วมเพียงผู้เดียวไม่เคยไปกับจำเลยที่ 1 เห็นว่า แม้ตามบิลเงินสดเอกสารหมาย จ.22 ถึง จ.24 จะระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ซื้อสินค้าไป ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ซื้อสินค้ากับโจทก์ร่วม แต่บิลเงินสดดังกล่าวเป็นหลักฐานที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในเอกสารดังกล่าว ทั้งโจทก์ร่วมเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่า บิลเงินสดทั้งสามฉบับเป็นของพยาน บิลเงินสดดังกล่าวมีคู่ฉบับโดยเป็นต้นฉบับ 1 ใบ และสำเนา 1 ใบ ตามปกติพยานจะให้ต้นฉบับเงินสดแก่จำเลยทั้งสองทุกครั้ง ซึ่งหากโจทก์ร่วมให้ต้นฉบับบิลเงินสดแก่จำเลยทั้งสองไปดังที่เบิกความ โจทก์ร่วมย่อมมีแต่เพียงสำเนาบิลเงินสดเท่านั้น แต่บิลเงินสดเอกสารหมาย จ.22 ถึง จ.24 ที่โจทก์อ้างส่งศาลเป็นต้นฉบับ ดังนั้น คำเบิกความของโจทก์ร่วมและบิลเงินสดเอกสารหมาย จ.22 ถึง จ.24 จึงเป็นพิรุธไม่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้หากจำเลยที่ 1 ไปที่บ้านโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 เพื่อซื้อสินค้า จำเลยที่ 1 ก็น่าจะออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมและลงวันที่สั่งจ่ายตามที่ตกลงกับโจทก์ร่วมในวันที่รับสินค้าไปจากโจทก์ร่วม ไม่น่าจะต้องออกเช็คให้ในวันรุ่งขึ้น และแม้จะออกเช็คให้ในวันรุ่งขึ้นก็น่าจะตกลงกับโจทก์ร่วมได้ว่า โจทก์ร่วมจะให้จำเลยที่ 1 ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คแต่ละฉบับในวันใดบ้าง ไม่น่าจะต้องเว้นไม่ลงวันที่สั่งจ่ายไว้เช่นนั้น ทั้งๆ ที่ได้ลงจำนวนเงินสั่งจ่ายไว้แล้ว ตามพฤติการณ์อาจเป็นไปตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า การทำหลักฐานการรับสินค้าคือต่างฝ่ายต่างทำไว้ตามเอกสารหมาย ล.4 และจำเลยที่ 2 ขอยืมเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 1 เพื่อนำไปเป็นหลักประกันในการรับสินค้ามาจากโจทก์ร่วม โดยจำเลยที่ 1 มิได้ลงวันที่ไว้และจำเลยที่ 2 มาลงวันที่สั่งจ่ายตามที่ตกลงกับโจทก์ร่วมในภายหลังก็เป็นได้ กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ซื้อสินค้าจากโจทก์ร่วมและออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ร่วมหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 277 วรรคสอง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นๆ ของจำเลยทั้งสอง และคำแก้ฎีกาของโจทก์ร่วมอีกต่อไปการที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คคือจำเลยที่ 1 กระทำความผิด และการที่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายตามที่ตกลงกับโจทก์ร่วมในภายหลังก็เป็นเพียงแต่ให้เช็คมีรายการต่างๆ สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง เท่านั้น หาทำให้กลับมาเป็นความผิดทางอาญาไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คกับจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังรับรองแม้จะร่วมกันออกเช็คนั้นตามฟ้องก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองมานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น”
          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
 
 
( ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน - ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ - กษิดิ์เดช จีนสลุต )
 
 


ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
การใช้ทางแบบคุ้นเคยกันในลักษณะเพื่อนบ้านที่ต่างพื่งพาอาศัยกันและเป็นการได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินแล้วแม้จะได้นำดินลูกรังและหินมาถมในทางพิพาทตลอดมาทุกปีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากใครก็ตาม ก็เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกของผู้ใช้ทางเท่านั้น พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการถือวิสาสะในการใช้ทางไม่ใช่เป็นการแสดงเจตนาที่จะใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์ แม้จะได้ใช้ทางมานานเกิน 10 ปี ก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของตนได้

ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
เจ้าของโครงการจัดสรรที่ดินได้กันทางเดินพิพาทไว้เป็นทางเข้าออกสำหรับตึกแถวที่แบ่งขายในการก่อสร้างตึกแถวเจ้าของโครงการได้ก่อสร้างตึกแถวทำกันสาดปูนซิเมนต์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินแปลงที่เป็นทางเดินยื่นออกไป 1.5 เมตรต่อมาเจ้าของโครงการถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย โจทก์ในคดีนี้ซื้อที่ดินทางเดินจากการขายทอดตลาดและฟ้องขับไล่ผู้ซื้อตึกแถวศาลฎีกาเห็นว่าทางเดินตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายแล้วรวมถึงกันสาดที่ยื่นออกไปด้วย

การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ
การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองที่ต้องครอบครองติดต่อกัน ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นหรือไม่ และไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของหากบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต

เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
สภาพของที่ดินภาระจำยอมใช้เป็นเพียงทางเดินเท่านั้น รถยนต์ไม่สามารถเข้าออกได้เพราะมีขั้นบันไดลงไปสู่ถนนสาธารณะ การที่เจ้าของที่ดินสร้างแผงร้านค้าโดยเว้นทางเท้าไว้ถึง 2.50 เมตร จึงไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหรือไม่? ศาลเห็นว่าทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นทางที่ใช้สัญจรอยู่ในโครงการหมู่บ้านและที่ดินจัดสรร ดังนั้น ไม่ว่ารถยนต์จะสามารถเข้าออกทางได้หรือไม่ก็ตาม

จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
ที่ดินของโจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมให้เป็นทางเดินให้จำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยได้ก่อสร้างหลังคานำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่าย ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม จำเลยอ้างได้นำเอาวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายตั้งแต่ปี 2529 บิดามารดาโจทก์ มิได้คัดค้านศาลเห็นว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยในเรื่องทางเดิน โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะไปหวงห้ามมิให้เดินผ่าน จำเลยนำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอม
 

 




คำพิพากษาคดีอาญา

รับผู้เยาว์จากโรงเรียนมีเพศสัมพันธ์ในรถยนต์จำคุก 14ปี
ทำบันทึกการยืมทรัพย์มอบให้ไปขายไม่เป็นยักยอกทรัพย์ โทร0859604258
ค่าตอบแทนการวิ่งเต้นการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับ-ตำรวจ
ความผิดฐานเป็น"ตัวการ" ร่วมกันกระทำความผิด-ผู้สนับสนุน
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้อาวุธ
เดินทางมาด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำความผิดร่วมกันเสมอไป
ครูอัตราจ้างพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีจำคุก 32 ปี
ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังแต่ไม่ผิดฐานค้ามนุษย์
นำหนังสือมอบอำนาจเปล่าเซ็นชื่อไปกรอกข้อความโอนขายที่ดิน
โกรธไม่ยอมคืนดีด้วยใส่ยาเบื่อหนูในโอ่งน้ำไม่ตายเป็นพยายามฆ่า
สำนักงานปฏิรูปฯเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01
การสมรสตามหลักกฎหมายอิสลาม
นำอาวุธติดตัว, ระหว่างเดินทางย่อมคิดทบทวน
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว
อ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กหญิงไปเสียจากผู้ดูแลเพื่ออนาจาร
คดีรอการกำหนดโทษจำเลยมิใช่ผู้ต้องโทษตาม-พรบ.ล้างมลทิน
ให้การรับสารภาพรอการลงโทษจำคุก
ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมโทษหนักขึ้น
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ความผิดนอกราชอาณาจักร
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
เบิกความอันเป็นเท็จ
ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้
ลักบัตรเครดิตและใช้เอกสารปลอม
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
เป็นการใช้อำนาจของครูต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์