ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont                  

 

เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเยาวชนไปฝึกอบรม

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เยาวชนมีความผิดลงโทษจำคุก 27 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งเยาวชนไปฝึกอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 24 ปี บริบูรณ์ ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าให้จำคุกเยาวชน 12 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเยาวชนไปฝึกอบรมมีกำหนดขึ้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี เยาวชนฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า การที่เยาวชนฎีกาแต่เพียงว่า ขอให้ส่งตัวเยาวชนไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม นั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนจึง ต้องห้ามฎีกา ไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้ พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้

                 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3937/2553

พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์      โจทก์

          จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงว่าขอให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรม อันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.104 (2) ดังนี้แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้ แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาลอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เหมือนในชั้นอุทธรณ์ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่ไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวได้ บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนี้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่จึงไม่รับวินิจฉัย

          (มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2553)
 

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 80, 83, 91, 288, 289, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ริบกระสุนปืนของกลาง

          จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
          ระหว่างพิจารณานางปรียาภรณ์ มารดาของนายศราวุธ ผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

        ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 83 มาตรา 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสองและวรรคสาม (ที่ถูก วรรคสาม), 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 มีอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็น กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่ สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 25 ปี ฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ไว้ในครอบครองโดยไม่ ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 27 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 6 จังหวัดนครสวรรค์ จนกว่าจำเลยที่ 1 จะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสองและวรรคสาม (ที่ถูก วรรคสาม), 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 2 มีอายุ 17 ปีเศษ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 106 ให้รอการกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ให้ผู้ปกครองจำเลยที่ 2 รับตัวจำเลยที่ 2 ไปปกครองดูแลโดยเคร่งครัด และให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้ง มีกำหนด 2 ปี ให้ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่จำเลยที่ 2 และพนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ให้จำเลยที่ 2 ประกอบอาชีพหรือเรียนหนังสือให้เป็นกิจจะลักษณะ ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำผิดเช่นเดียว กันนี้อีก และห้ามดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือเสพยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ห้ามเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน หรือในสถานเริงรมย์ทุกแห่ง และห้ามเกี่ยวข้องกับการพนันทุกชนิด กับให้จำเลยที่ 2 อยู่ในโอวาทของผู้ปกครองโดยเคร่งครัด และให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3 ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ให้ยก ริบกระสุนปืนของกลาง

          จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 83, 80 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กึ่งหนึ่งแล้ว ให้จำคุก 10 ปี เมื่อรวมกับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว เป็นจำคุก 12 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 6 จังหวัดนครสวรรค์ มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยที่ 1 ฟัง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาแต่เพียงว่าขอให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรม อันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาตามพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ดังนี้แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้ แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้ พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ.2534 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนี้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่าข้อความ ที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้น ต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

          พิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 1

( พิษณุ ดำรงเกียรติวัฒนา - ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล - สิริรัตน์ จันทรา )
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ - นายพายัพ สนองไทย
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 - นางสาวนันทา ปัทมสูต

มาตรา 121 คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว ให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้ตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่ใน กรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัว ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
 (1) กำหนดให้ใช้วิธีการตาม มาตรา 74 (1) และ(5) แห่งประมวลกฎ หมายอาญา
 (2) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม มาตรา 104 เว้น แต่ในกรณีที่การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นการพิพากษาหรือมีคำ สั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี
 (3) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม มาตรา 105 เว้น แต่การกักและอบรมนั้นมีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกินสามปี

มาตรา 124 คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาล ฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ เหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม มาตรา 121
 
มาตรา 104 ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจ ใช้วิธีการสำหรับเด็ก และเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความ ปลอดภัยได้ดังต่อไปนี้
 (1) เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม มาตรา 39 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นกักและอบรม ซึ่งจะต้องกักและอบรมใน สถานกักและอบรมของสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่า เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
 (2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถาน พินิจ สถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต ตามเวลา ที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริ บูรณ์
 (3) เปลี่ยนโทษปรับเป็นการคุมความประพฤติ โดยกำหนดเงื่อนไขข้อ เดียวหรือหลายข้อ ตาม มาตรา 100 ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าได้กำหนดเงื่อนไข ไว้ให้นำ มาตรา 100 วรรคสองและวรรคสามและ มาตรา 101 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
 หลักเกณฑ์วิธีการกักและอบรม หรือการฝึกและอบรมเด็กหรือเยาวชนให้ เป็นไปที่กำหนดในกฎกระทรวง
 ในกรณีที่ศาลได้พิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหา และพฤติการณ์แห่งคดี แล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไปหลังจากที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ศาลระบุ ในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด
 

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส เมื่อการสมรสเป็นโมฆะ

คู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรมของคู่สมรสที่เสียชีวิต ส่วนแบ่งมรดกเป็นไปตามกฎหมาย ถ้าการสมรสเป็นโมฆะมีผลกับมรดกของคู่สมรสที่ตายอย่างไร? มีสิทธิรับมรดกหรือไม? บุตรที่เกิดมามีสิทธิรับมรดกของบิดาที่ตายหรือไม่?

 

  



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




คำพิพากษาคดีอาญา

รับผู้เยาว์จากโรงเรียนมีเพศสัมพันธ์ในรถยนต์จำคุก 14ปี
ทำบันทึกการยืมทรัพย์มอบให้ไปขายไม่เป็นยักยอกทรัพย์ โทร0859604258
ค่าตอบแทนการวิ่งเต้นการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับ-ตำรวจ
ความผิดฐานเป็น"ตัวการ" ร่วมกันกระทำความผิด-ผู้สนับสนุน
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้อาวุธ
เดินทางมาด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำความผิดร่วมกันเสมอไป
ครูอัตราจ้างพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีจำคุก 32 ปี
ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังแต่ไม่ผิดฐานค้ามนุษย์
นำหนังสือมอบอำนาจเปล่าเซ็นชื่อไปกรอกข้อความโอนขายที่ดิน
โกรธไม่ยอมคืนดีด้วยใส่ยาเบื่อหนูในโอ่งน้ำไม่ตายเป็นพยายามฆ่า
สำนักงานปฏิรูปฯเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01
การสมรสตามหลักกฎหมายอิสลาม
นำอาวุธติดตัว, ระหว่างเดินทางย่อมคิดทบทวน
เช็คประกันหนี้ผู้ออกเช็คไม่ติดคุก
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว
อ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กหญิงไปเสียจากผู้ดูแลเพื่ออนาจาร
คดีรอการกำหนดโทษจำเลยมิใช่ผู้ต้องโทษตาม-พรบ.ล้างมลทิน
ให้การรับสารภาพรอการลงโทษจำคุก
ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมโทษหนักขึ้น
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ความผิดนอกราชอาณาจักร
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
เบิกความอันเป็นเท็จ
ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้
ลักบัตรเครดิตและใช้เอกสารปลอม
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
เป็นการใช้อำนาจของครูต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์