
ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมโทษหนักขึ้น
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมโทษหนักขึ้น ลักทรัพย์ธรรมดามีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมโทษหนักขึ้น คือ คุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์ ...(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น... ศาลชั้นต้นพิพากษาจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (12) จำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าท่อพีวีซีจำนวน 5 ท่อ เป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ทำนากุ้ง ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม แต่การทำนากุ้ง ไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทและแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) จำคุก 6 เดือน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13491/2553 พนักงานอัยการจังหวัดกระบี่ โจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335, 357 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (12) วรรคสอง ประกอบมาตรา 86 จำคุก 12 เดือน คำให้การชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาของจำเลย การลักทรัพย์สำเร็จเสร็จสิ้นและเด็ดขาดไปแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา วินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวมาแล้วและยังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเดิม ฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาพิพากษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 219 วรรคสอง และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง อนึ่ง ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าท่อพีวีซีจำนวน 5 ท่อ เป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ทำนากุ้ง ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมและศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 335 (1) (12) วรรคสอง เห็นว่า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.2542 คำว่า “กสิกรรม” หมายความถึงการทำไร่ ไถนา การทำนากุ้ง ไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรมตามความหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทและแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) วรรคแรก ประกอบมาตรา 86 ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ( วีระชาติ เอี่ยมประไพ - อาวุธ ปั้นปรีชา - สมชาย พันธุมะโอภาส ) มาตรา 195 ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น มาตรา 225 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณา และว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชั้นอุทธรณ์มาบังคับในชั้นฎีกาโดยอนุโลม เว้นแต่ห้ามมิให้ทำความเห็นแย้ง ป.อ. มาตรา 335
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส เมื่อการสมรสเป็นโมฆะ คู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรมของคู่สมรสที่เสียชีวิต ส่วนแบ่งมรดกเป็นไปตามกฎหมาย ถ้าการสมรสเป็นโมฆะมีผลกับมรดกของคู่สมรสที่ตายอย่างไร? มีสิทธิรับมรดกหรือไม? บุตรที่เกิดมามีสิทธิรับมรดกของบิดาที่ตายหรือไม่?
|