
โกรธไม่ยอมคืนดีด้วยใส่ยาเบื่อหนูในโอ่งน้ำไม่ตายเป็นพยายามฆ่า
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont โกรธไม่ยอมคืนดีด้วยใส่ยาเบื่อหนูในโอ่งน้ำไม่ตายเป็นพยายามฆ่า โกรธแค้นที่ไม่ยอมคืนดีด้วยจำเลยเอายาเบื่อหนูซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ใส่ในน้ำในโอ่งน้ำดื่มของผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2536 จำเลยเอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้ำดื่มของผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายทราบเสียก่อนไม่ยอมดื่มน้ำดังกล่าวผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการปลอมปนเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบุคคลอื่นเสพหรือใช้และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักตามมาตรา 90 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 288, 236 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 236 และมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...ข้อเท็จจริงจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเอายาเบื่อหนูซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ใส่ในน้ำในโอ่งน้ำดื่มของผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายเพราะโกรธแค้นที่ผู้เสียหายไม่ยอมคืนดีด้วย แต่ผู้เสียหายทราบเสียก่อนไม่ยอมดื่มน้ำดังกล่าวผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย และการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการปลอมปนเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบุคคลอื่นเสพย์หรือใช้และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 ด้วย พยานหลักฐานจำเลยไม่อาจฟังหักล้างพยานโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น" พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดกเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสามซึ่งมีสิทธิรับมรดกเช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
|