
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง จำเลยมีและพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปในหมู่บ้าน และใช้อาวุธปืนกระบอกนั้นยิง ผู้ตาย 1 นัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อเท็จจริงตามพยานว่าขณะที่ผู้ตายและจำเลยกับพวกตั้งวงดื่มสุรากันที่บ้าน นางยุพา จำเลยซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตายได้พูดตักเตือนผู้ตายว่าขับรถ จักรยานยนต์ในหมู่บ้านอย่าขับรถเร็วเกรงว่าจะชนเด็ก เป็นเหตุให้ผู้ตายไม่พอใจพูดโต้ตอบว่าเป็นรถของตนเองจะยังขับเร็ว กับได้พูดท้าทายจำเลยว่ามึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกู หากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา พร้อมกับลุกขึ้นยืน จำเลยจึงลุกขึ้นและชักอาวุธปืนออกมายิงใส่บริเวณหัวไหล่ของผู้ตายแล้วเดินลง จากบ้านนางยุพาที่เกิดเหตุไป ดังนี้ เห็นว่า กรณีที่จะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะนั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็น ธรรม และเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่ อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำความผิด กล่าวคือจะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระทำความผิดเองเป็นเกณฑ์ในการ พิจารณาว่าร้ายแรงหรือไม่ไม่ได้ หากแต่จะต้องถือเอาตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์แห่งการพิจารณาว่าในสถานการณ์อย่างนั้นผู้กระทำความผิดถูกข่ม เหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ คดีนี้แม้จำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย แต่การที่ผู้ตายถูกจำเลยกล่าวตักเตือนเรื่องขับรถจักรยานยนต์เร็วในหมู่บ้าน แล้วพูดโต้ตอบจำเลยว่าเป็นรถของตนเองจะยังคงขับเร็ว และพูดท้าทายจำเลยว่ามึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกู หากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา เช่นนี้ตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปจะถือได้ว่าผู้ตายได้พูด จาแสดงกิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่ผู้ตายจะกระทำอย่างนั้นต่อจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่หาใช่ว่าผู้ตายได้กระทำการอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอัน ไม่เป็นธรรมไม่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ทั้งนี้เพราะคุณธรรมทางกฎหมาย ที่ลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดโดยบันดาลโทสะนั้น กฎหมายจะยอมลดหย่อนโทษให้ก็แต่เฉพาะกรณีที่การกระทำความผิดของจำเลยนั้น ตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปเห็นว่าผู้ที่อยู่ในภาวะ วิสัย และพฤติการณ์อย่างเดียวกับจำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยผู้กระทำความผิดถูกข่ม เหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2549 กรณีที่จะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็น ธรรมและเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่ อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำความผิด จะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระทำความผิดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าผู้ กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ไม่ได้ แม้จำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย และพูดตักเตือนผู้ตายเรื่องการขับรถจักรยานยนต์ในหมู่บ้านว่าไม่ให้ขับเร็ว เพราะเกรงว่าจะชนเด็ก แล้วผู้ตายตอบว่าเป็นรถของผู้ตายเองจะยังคงขับเร็ว และพูดท้าทายจำเลยว่า มึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกูหากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา ซึ่งเป็นการแสดงกิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่จะกระทำต่อจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลย จึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4,7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ป.อ. มาตรา 32, 33, 91, 288, 371 และริบปลอกกระสุนปืนและพลาสติกหน้าอัดกระสุนปืนของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ป.อ. มาตรา 288, 371 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต (ที่ถูกโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วย) จำคุก 1 ปี ฐานฆ่าผู้อื่น ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ฐานความผิดละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน ฐานฆ่าผู้อื่นเปลี่ยนโทษเป็นจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 แล้ว จำคุก 25 ปี รวมจำคุก 26 ปี 6 เดือน ริบปลอกกระสุนปืนและพลาสติกหน้าอัดกระสุนปืนของกลาง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ให้จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต (ที่ถูกโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วย) ให้จำคุก 6 เดือน รวมสองกระทง จำคุก 1 ปี 6 เดือน ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 เดือน เมื่อรวมกับโทษจำคุกฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงจำคุก 25 ปี 9 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพ ของจำเลยรับฟังได้เป็นยุติในเบื้องต้นว่า จำเลยมีและพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปในหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบ อนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันสมควร และใช้อาวุธปืนกระบอกนั้นยิงนายสมจิตร ผู้ตาย 1 นัด เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามฟ้อง จำเลยฎีกาในประเด็นแรกในปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ จึงเข้าเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 ที่บัญญัติว่า "ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลัก ฐานในสำนวน" คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพว่า ขณะที่ผู้ตายและจำเลยกับพวกตั้งวงดื่มสุรากันที่บ้านนางยุพา จำเลยซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตายได้พูดตักเตือนผู้ตายว่าขับรถ จักรยานยนต์ในหมู่บ้านอย่าขับรถเร็วเกรงว่าจะชนเด็ก เป็นเหตุให้ผู้ตายไม่พอใจพูดโต้ตอบว่าเป็นรถของตนเองจะยังขับเร็ว กับได้พูดท้าทายจำเลยว่ามึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกู หากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา พร้อมกับลุกขึ้นยืน จำเลยจึงลุกขึ้นและชักอาวุธปืนออกมายิงใส่บริเวณหัวไหล่ของผู้ตายแล้วเดินลง จากบ้านนางยุพาที่เกิดเหตุไป ดังนี้ เห็นว่า กรณีที่จะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็น ธรรม และเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่ อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำความผิด กล่าวคือจะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระทำความผิดเองเป็นเกณฑ์ในการ พิจารณาว่าร้ายแรงหรือไม่ไม่ได้ หากแต่จะต้องถือเอาตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์แห่งการพิจารณาว่าในสถานการณ์อย่างนั้นผู้กระทำความผิดถูกข่ม เหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ คดีนี้แม้จำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย แต่การที่ผู้ตายถูกจำเลยกล่าวตักเตือนเรื่องขับรถจักรยานยนต์เร็วในหมู่บ้าน แล้วพูดโต้ตอบจำเลยว่าเป็นรถของตนเองจะยังคงขับเร็ว และพูดท้าทายจำเลยว่ามึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกู หากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา เช่นนี้ตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปจะถือได้ว่าผู้ตายได้พูด จาแสดงกิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่ผู้ตายจะกระทำอย่างนั้นต่อจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่หาใช่ว่าผู้ตายได้กระทำการอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอัน ไม่เป็นธรรมไม่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ที่จำเลยฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุมากถึง 51 ปี แต่ผู้ตายเพิ่งมีอายุเพียง 35 ปี เท่านั้น ถือว่าเป็นรุ่นลูกหลานซึ่งจะต้องให้ความนับถือจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่และ เป็นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน แต่ผู้ตายกลับพูดจาลบหลู่ดูหมิ่นจำเลยและท้าทายชวนวิวาทด้วย จึงเป็นการดูหมิ่นญาติผู้ใหญ่ด้วยกิริยาท่าทางอย่างร้ายแรงทำให้จำเลยไม่ อาจอดกลั้นโทสะไว้ได้นั้น เท่ากับว่าจำเลยถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตนเองเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าการ กระทำของผู้ตายเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ซึ่งหาใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ ทั้งนี้เพราะคุณธรรมทางกฎหมายของ ป.อ. มาตรา 72 ที่ลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดโดยบันดาลโทสะนั้น กฎหมายจะยอมลดหย่อนโทษให้ก็แต่เฉพาะกรณีที่การกระทำความผิดของจำเลยนั้น ตามความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปเห็นว่าผู้ที่อยู่ในภาวะ วิสัย และพฤติการณ์อย่างเดียวกับจำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยผู้กระทำความผิดถูกข่ม เหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หาใช่ถือเอาตามความรู้สึกนึกคิดของตัวจำเลยผู้กระทำความผิดเอง ดังที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น? พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ให้จำคุก 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน เมื่อรวมกับโทษจำคุก 9 เดือน ในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ภาค 5 แล้วเป็นจำคุก 7 ปี 15 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5. ประมวลกฎหมายอาญา
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี อายุความคดีมรดก กับอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก ในกรณีที่เจ้ามรดก ขณะถึงแก่ความตายไม่มีคู่สมรสและบุตร บิดามารดาถึงแก่ความตายไปแล้วมรดกจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มีปัญหาว่าถ้าพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกแล้วส่วนของพี่น้องที่ตายก่อนเจ้ามรดกจะตกได้แก่ผู้ใด?
|