ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ความผิดนอกราชอาณาจักร

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont                   

 

คนร้ายลอยเรือซึ่งบรรทุกน้ำมันดีเซล 100,000 ลิตรเศษเพื่อดักให้เรือที่ชักธงชาติไทยมารับน้ำมันไปจำหน่ายให้แก่เรือประมง อีกทอดหนึ่ง แม้สถานที่ลอยเรือนั้นจะอยู่นอกราชอาณาจักรก็ตาม แต่คนร้ายก็มีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นใน ราชอาณาจักร เพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันของกลางไปจำหน่ายให้แก่เรือประมง ที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย แม้ว่าความผิดยังไม่สำเร็จแต่ยังอยู่ในขั้นพยายามก็ตาม แต่ตามกฎหมายศุลกากร ถือว่าเสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จแล้ว
 
 มาตรา 5 ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้ กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะ แห่งการกระทำผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็ง เห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้ กระทำในราชอาณาจักร
 

ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมาย บัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือ พยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5445/2552

 พนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต             โจทก์
 
          แม้เหตุจะเกิดที่นอกราชอาณาจักรแต่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือ ย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันของกลางไปจำหน่ายให้แก่เรือที่ทำ การประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย กรณีต้องด้วย ป.อ. มาตรา 5 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า การพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นใน ราชอาณาจักรให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร และการพยายามกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดซึ่งถือเสมือนเป็นความผิดสำเร็จโดยมีโทษเช่น เดียวกับความผิดสำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469
 

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2459 (ที่ถูก พ.ศ.2469) มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2489 (ที่ถูก พ.ศ.2498) มาตรา 4 มาตรา 6 มาตรา 11 มาตรา 22 และมาตรา 23 พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 4 มาตรา 6 ทวิ มาตรา 13 มาตรา 20 ทวิ และมาตรา 25 ตรี พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466 มาตรา 2 มาตรา 19 และมาตรา 31 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 3 มาตรา 277 และมาตรา 282 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 83 และมาตรา 91 ริบของกลางทั้งหมด เฉพาะวิทยุคมนาคมและเครื่องมือหาตำแหน่งที่เรือของกลางให้ริบไว้เพื่อใช้ใน ราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข จ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับและเงินรางวัลแก่ผู้จับตามกฎหมาย
                       จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 277 และมาตรา 282 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และมาตรา 23 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466 มาตรา 19 และมาตรา 31 พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 6 ทวิ วรรคหนึ่ง มาตรา 20 ทวิ และมาตรา 25 ตรี วรรคสอง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานทำการในเรือในตำแหน่งนายเรือโดยมิได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความ สามารถอันถูกต้อง จำคุก 2 เดือน ฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบ อนุญาต จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฐานมีเครื่องตวง เครื่องวัดซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ของกฎหมายไว้ในความครอบครอง จำคุก 6 เดือน ฐานตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 เดือน ฐานปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฐานนำของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาใน ราชอาณาจักร ปรับ 1,439,496 บาท ฐานรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ปรับ 330,600 บาท รวมจำคุก 5 ปี 3 เดือน และปรับ 1,770,096 บาท จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน และปรับ 1,180,064 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และมาตรา 30 ในกรณีที่ต้องกักขังแทนค่าปรับ ให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับ 2 ปี ริบของกลางทั้งหมด เฉพาะเครื่องวิทยุคมนาคมให้ริบไว้เพื่อใช้ในราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข ให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาล สั่งริบ ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 และมาตรา 8

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาตรา 80 และมาตรา 83 ปรับ 1,439,496 บาท ลดโทษหนึ่งในสามตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว ปรับ 959,664 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และมาตรา 30 โดยกักขังแทนค่าปรับ 2 ปี ริบของกลาง ให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือ ค่าปรับตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ริบของกลางทั้งหมดโดยไม่สั่งให้ริบเครื่องวิทยุคมนาคมของกลางไว้เพื่อใช้ใน ราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขยกข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาและโจทก์ไม่ฎีกาโต้แย้งว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง จำเลยนำเรือบรรทุกน้ำมันชื่อสกายโอเชี่ยน 3 นำพาน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล 117,414 ลิตร ราคา 352,242 บาท ที่ยังมิได้เสียค่าภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากรแล่นจากประเทศสาธารณรัฐ สิงคโปร์จะเข้ามายังราชอาณาจักรไทย โดยจำเลยนำเรือบรรทุกน้ำมันดังกล่าวมาจอดลอยลำในทะเล ณ บริเวณหมู่เกาะอาดัง และศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่า ที่เกิดเหตุอยู่ในทะเลอาณาเขตอันเป็นเขตราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ซึ่งต้องฟังให้เป็นผลดีแก่จำเลยว่า จุดที่จำเลยลอยลำเรือนั้นอยู่นอกราชอาณาจักรไทย แต่พันตำรวจตรีสุวัฒน์ ดาบตำรวจวันชัย และสิบตำรวจโทชัยวัฒน์ ใช้เรือตรวจการของตำรวจน้ำไปจับจำเลยกับพวก ณ จุดดังกล่าวแล้วนำตัวจำเลยกับพวกส่งให้พันตำรวจเอกจงรักษ์ และพันตำรวจโทวีรวิทย์ พนักงานสอบสวน ดำเนินคดีในข้อหาลักลอบนำน้ำมันดีเซลเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาอื่น ๆ ตามฟ้อง พร้อมเรือบรรทุกน้ำมันสกายโอเชี่ยน 3 น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล 117,414 ลิตร วิทยุรับส่ง 2 เครื่อง เครื่องมือหาตำแหน่งที่เรือ 2 เครื่อง มิเตอร์ 2 เครื่อง และสายน้ำมันพร้อมหัวจ่าย 4 สาย เป็นของกลาง ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษี (น้ำมันดีเซลของกลาง) และยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรทั้งได้ใช้และมี ไว้เพื่อใช้กระทำความผิดซึ่งของกลางตามฟ้อง ข้อหาอื่นพิพากษายกฟ้องและให้ริบของกลางทั้งหมดนั้น แต่เนื่องจากการพยายามกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยมีความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า บริเวณทะเลจุดที่เกิดเหตุอยู่ในเขตต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมี อำนาจตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่จะป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการศุลกากรได้ ปรากฏว่าประเทศไทยได้ประกาศเขตอำนาจในเขตต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตตั้งแต่วัน ที่ 14 สิงหาคม 2538 แล้ว ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจึงมีอำนาจตรวจค้นเรือใด ๆ ที่สงสัยว่าจะละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการศุลกากรและจับกุม ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดต่อกฎหมายและระเบียบดังกล่าวในทะเลซึ่งเป็นเขตต่อ เนื่องได้ การจับกุมจำเลยกับพวกจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตลอดจนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2538 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุแล้ว ส่วนที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานตำรวจกลั่นแกล้งจับกุมเพราะเรียกร้องเงินจากจำเลยไม่ได้นั้น เห็นว่า การจับกุมและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าคดีนี้มีการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ตามคำเบิกความของจำเลยที่ตอบโจทก์ถามค้าน จำเลยเบิกความรับว่า จำเลยลอยเรือเพื่อให้เรือลำอื่นที่ชักธงชาติไทยมารับช่วงน้ำมันไปจำหน่ายแก่ เรือประมงอีกทอดหนึ่ง แม้เหตุจะเกิดที่นอกราชอาณาจักรแต่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือ ย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันของกลางไปจำหน่ายให้แก่เรือประมง ที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในขั้นพยายามตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัย กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า การพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นใน ราชอาณาจักร ให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวได้กระทำในราชอาณาจักร เมื่อการพยายามกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและถือเสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จโดยมีโทษเช่น เดียวกับความผิดสำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา ส่วนของกลางทั้งหมดตามฟ้องฟังได้ว่า เป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้และมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะสั่งริบของกลางทั้งหมดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ลงโทษจำเลยมานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน
( ชาลี ทัพภวิมล - ดิเรก อิงคนินันท์ - นิยุต สุภัทรพาหิรผล )
ศาลจังหวัดภูเก็ต - นายทิษณุ เพ็งไพบูลย์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 - นายประจักษ์ เกียรติ์อนุพงศ์

 

 คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี

คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส เมื่อการสมรสเป็นโมฆะ

คู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรมของคู่สมรสที่เสียชีวิต ส่วนแบ่งมรดกเป็นไปตามกฎหมาย ถ้าการสมรสเป็นโมฆะมีผลกับมรดกของคู่สมรสที่ตายอย่างไร? มีสิทธิรับมรดกหรือไม? บุตรที่เกิดมามีสิทธิรับมรดกของบิดาที่ตายหรือไม่?

 

 




คำพิพากษาคดีอาญา

รับผู้เยาว์จากโรงเรียนมีเพศสัมพันธ์ในรถยนต์จำคุก 14ปี
ทำบันทึกการยืมทรัพย์มอบให้ไปขายไม่เป็นยักยอกทรัพย์ โทร0859604258
ค่าตอบแทนการวิ่งเต้นการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับ-ตำรวจ
ความผิดฐานเป็น"ตัวการ" ร่วมกันกระทำความผิด-ผู้สนับสนุน
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้อาวุธ
เดินทางมาด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำความผิดร่วมกันเสมอไป
ครูอัตราจ้างพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีจำคุก 32 ปี
ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังแต่ไม่ผิดฐานค้ามนุษย์
นำหนังสือมอบอำนาจเปล่าเซ็นชื่อไปกรอกข้อความโอนขายที่ดิน
โกรธไม่ยอมคืนดีด้วยใส่ยาเบื่อหนูในโอ่งน้ำไม่ตายเป็นพยายามฆ่า
สำนักงานปฏิรูปฯเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01
การสมรสตามหลักกฎหมายอิสลาม
นำอาวุธติดตัว, ระหว่างเดินทางย่อมคิดทบทวน
เช็คประกันหนี้ผู้ออกเช็คไม่ติดคุก
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว
อ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กหญิงไปเสียจากผู้ดูแลเพื่ออนาจาร
คดีรอการกำหนดโทษจำเลยมิใช่ผู้ต้องโทษตาม-พรบ.ล้างมลทิน
ให้การรับสารภาพรอการลงโทษจำคุก
ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรมโทษหนักขึ้น
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
เบิกความอันเป็นเท็จ
ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยเพิ่มเติมได้
ลักบัตรเครดิตและใช้เอกสารปลอม
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
เป็นการใช้อำนาจของครูต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์