ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ใช้ทาง 50 ปีก็ไม่ได้สิทธิภาระจำยอม

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1                   

ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียน ซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทาง บิดามารดาสั่งให้พี่น้องทุกคนใช้ทางพิพาทร่วมกัน รวมทั้งครูและนักเรียนด้วย บรรดาทายาทจึงทำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางพิพาท จึงเป็นการใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของมารดาโจทก์ที่ 1 และสิทธิของจำเลย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้เปลี่ยนเจตนาการใช้โดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมในทางแต่อย่างใด แม้โจทก์ที่ 1 จะใช้ทางพิพาทเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 50 ปี ก็หาได้สิทธิภาระจำยอมในทางไม่ 
 
  คำพิพากษาศาลฎีกาที่  307/2552

          ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้า ของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอม

          โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 538 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 5/10 ตารางวา โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทมูลนิธิ มีนายวิโรจน์ เป็นผู้จัดการมูลนิธิ และเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนเจียหมินซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 600 ตารางวา จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เดิมที่ดินของโจทก์ที่ 1 กับที่ดินของจำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของนางบุญเฮียงหรือมุยเฮียง หรือเฮียง มารดาโจทก์ที่ 1 และจำเลย เมื่อประมาณปี 2490 ขณะที่นางเฮียงยังมีชีวิตได้ก่อตั้งโรงเรียนเจียหมินขึ้น ต่อมาจึงมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็นแปลงย่อยหลังจากนางเฮียงถึงแก่กรรม เพื่อแบ่งมรดกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 จำเลย และพี่น้องคนอื่นโจทก์ที่ 1 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นโรงเรียนเจียหมิน ซึ่งต่อมาได้โอนกิจการให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน ในการเข้าออกโรงเรียนเจียหมินนั้น นักเรียน ผู้ปกครอง โจทก์ที่ 1 บริวารโจทก์ที่ 1 และประชาชนทั่วไปได้เดินหรือใช้รถยนต์ผ่านที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้บางส่วน ไปทางทิศตะวันออกจนจดที่ดินของนายบรรชิต เพื่อออกสู่ถนนเจ้าสำอางค์อันเป็นถนนสาธารณะ มีความกว้างประมาณ 6 ถึง 11 เมตร ยาวประมาณ 33 เมตร โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาประมาณ 50 ปี แล้ว ตั้งแต่นางเฮียงยังมีชีวิตอยู่ จนกระทั่งเมื่อประมาณต้นเดือนกันยายน 2543 จำเลยได้สร้างประตูเหล็กกว้าง 6 เมตร ปิดกั้นทางเข้าออกด้านทิศตะวันออกและสร้างรั้วลวดหนามยาว 18 เมตร ปิดกั้นทางเข้าออกด้านทิศใต้ในที่ดินของจำเลย ทำให้โจทก์ที่ 1 พร้อมบริวาร นักเรียน ผู้ปกครอง และเพื่อนบ้านใกล้เคียง ตลอดจนประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้ทางดังกล่าวเข้าออกถนนเจ้าสำอางค์ได้ และหากเกิดอัคคีภัยหรือภัยพิบัติอย่างใดแก่โรงเรียนเจียหมิน รถดับเพลิงหรือรถพยาบาลจะไม่สามารถเข้าออกได้สะดวก อันจะทำให้เกิดความเดือนร้อนเสียหายแก่นักเรียนอย่างมาก จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าทางเดินเข้าออกกว้างประมาณ 6 ถึง 11 เมตร ยาวประมาณ 33 เมตร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ของจำเลยตามแผนที่พิพาทท้ายฟ้องหมายเลข 4 ที่ระบายด้วยสีส้มเป็นทางภาระจำยอม และมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนประตูเหล็กและรั้วลวดหนามที่เขียนด้วยหมึกสีแดง และสีม่วงในแผนที่พิพาทดังกล่าวออกโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยเพิกเฉยก็ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนโดยให้จำเลยเป็นผู้ ออกค่าใช้จ่าย

          จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ที่ 1 มิได้เป็นผู้ใช้ทางพิพาท แต่เป็นนักเรียนโรงเรียนเจียหมินซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนโจทก์ที่ 2 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในสามยทรัพย์ที่จะฟ้องบังคับให้เปิดทางพิพาทเป็นทาง ภาระจำยอมได้และโจทก์ที่ 2 มิได้รับมอบอำนาจจากนายวิโรจน์ ผู้จัดการเนื่องจากนายวิโรจน์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว นับตั้งแต่โรงเรียนเจียหมินดำเนินกิจการ นักเรียนได้ขออาศัยใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่หน้าบ้านจำเลยเดินเข้าออกสู่ทาง สาธารณะตลอดมาโดยไม่มีพฤติการณ์เปลี่ยนเจตนาเป็นปรปักษ์อันก่อให้เกิดภาระจำ ยอมแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้ปิดประกาศโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปว่าทางพิพาทเป็นถนนส่วนบุคคล มาตั้งแต่ปี 2503 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นภาระจำยอมโดยผลแห่งกฎหมาย ปัจจุบันจำเลยยังอนุญาตให้นักเรียนอาศัยเดินผ่านทางพิพาทโดยมิได้กั้นหรือ หวงห้ามตามที่โจทก์ฟ้อง นอกจากนี้ครูโรงเรียนเจียหมินยังสามารถใช้เส้นทางด้านทิศเหนือออกสู่ทาง สาธารณะได้อีกทางหนึ่งด้วย ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางเดินในที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ความกว้าง 6 ถึง 11 เมตร ยาวประมาณ 33 เมตร เป็นทางจำเป็นสำหรับโจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเปิดทางดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อให้รถยนต์และบุคคลเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกโดยไม่จำต้องรื้อถอน ประตูเหล็กและรั้วลวดหนาม ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 คำขออื่นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          โจทก์ที่ 1 และจำเลยอุทธรณ์

          ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยถึงแก่กรรมนางบุญช่วย ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาต

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ทางเดินเข้าออกกว้างประมาณ 6 ถึง 11 เมตร ยาว 33 เมตร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ของจำเลยตามที่ระบายด้วยหมึกสีส้มในแผนที่พิพาทท้ายฟ้องหมายเลข 4 (เอกสารหมาย จ.6) เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองส่วนในการรื้อถอนรั้วเหล็กกั้นตาม ภาพถ่ายประตูทางเข้าทางพิพาทหมาย ล.1 ให้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้ เป็นพับ
          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิต เป็นบุตรของนางเฮียง และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 538, 539 และ 540 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับซึ่งเดิมที่ดินทั้งสามเป็นแปลงเดียวกันโดยเป็นกรรมสิทธิ์ของนางเฮีย งตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.6 เมื่อปี 2490 นางเฮียงได้ก่อตั้งโรงเรียนเจียหมินโดยสร้างอยู่บนที่ดินด้านทิศตะวันตกมี ทางเดินเข้าออกสู่ถนนเจ้าสำอางค์ไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวไปทางทิศใต้ออก สู่ถนนเจ้าสำอางค์ โดยนางเฮียงได้แบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิตครอบครองที่ดินเป็นสัดส่วน ต่อมาเมื่อนางเฮียงถึงแก่ความตายจึงมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ แก่โจทก์ที่ 1 จำเลย และนายบรรชิตดังกล่าว โดยโรงเรียนเจียหมินอยู่บนที่ดินโฉนด เลขที่ 538 ของโจทก์ที่ 1 ส่วนทางเดินเข้าออกของโรงเรียนเจียหมินอยู่บนที่ดินของจำเลยและนายบรรชิต โจทก์ที่ 1 ดูแลกิจการโรงเรียนเจียหมินจึงถึงปี 2525 จึงโอนกิจการให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการ แต่มิได้โอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเจียหมินใช้ทางพิพาทที่ผ่านที่ดิน โจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิตออกสู่ถนนเจ้าสำอางค์ตลอดมาเป็นเวลา 50 ปี จำเลยได้ทำประตูและรั้วลวดหนามปิดกั้นทางเข้าออกดังกล่าว ทำให้โจทก์ที่ 1 ครู นักเรียนและผู้ปกครองไม่สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทดังกล่าวได้ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประเด็นแรกว่าโจทก์ที่ 2 มีอำนาจฟ้อง หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสัง ริมทรัพย์ ฉะนั้นผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจำต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนเจียหมิน ซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 538 ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทาง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมาศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า โจทก์ที่ 1 และบริวารใช้ทางพิพาทโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี หรือไม่ โจทก์ที่ 1 นำสืบว่าหลังจากนางเฮียงมารดาของโจทก์ที่ 1 ก่อตั้งโรงเรียนเจียหมินบนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แล้วได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกโรงเรียนสู่ถนนเจ้าสำอางค์มาตลอด และนายชาญชัย พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่า จำเลยยินยอมให้โรงเรียนใช้ทางพิพาทตลอดมา นอกจากนี้นางวิจิตร ผู้จัดการมรดกของนางเฮียงและพี่สาวของโจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิตเบิกความว่าบิดามารดาสั่งให้พี่น้องทุกคนใช้ทางพิพาทร่วม กัน รวมทั้งครูและนักเรียนด้วย บรรดาทายาทของนางเฮียงจึงทำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางพิพาท จึงเป็นการใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของมารดาโจทก์ที่ 1 และสิทธิของจำเลย ทั้งโจทก์ที่ 1 มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้เปลี่ยนเจตนาการใช้ทางพิพาทโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทแต่อย่างใด แม้โจทก์ที่ 1 จะใช้ทางพิพาทเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 50 ปี ก็หาได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทไม่ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น กรณีจึงไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง"

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
                       ( ชัยวุฒิ โลหชิตรานนท์ - รัตน กองแก้ว - สุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ )


               หมายเหตุ 

               โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 เป็นโจทก์ร่วมกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ให้เป็นโจทก์ร่วมกันได้ถ้าบุคคลนั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่โจทก์แต่ละคนต้องเป็นผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิซึ่งมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 55 อยู่แล้ว เพียงมาเป็นโจทก์ร่วมกันตามมาตรา 59 เท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 2 มิใช่เจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจฟ้องให้เปิดทางภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1387 โจทก์ที่ 2 ก็เป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ที่ 1 โดยอาศัยมาตรา 59 ไม่ได้
          ไพโรจน์ วายุภาพ
 
   มาตรา 1387  อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเห็นเหตุ ให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงด เว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น

          

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำการเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
จำเลยครอบครองที่ดินของโจทก์โดยสำคัญผิด
"ทางจำเป็น" จำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น
ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม
นำที่ดินตกเป็นภาระจำยอมแล้วขายทอดตลาด
สาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นตกอยู่ในภาระจำยอม
อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป
การครอบครองปรปักษ์สิ้นสุดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่?
เจ้าของใหม่รับโอนมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
สาธารณูปโภคที่ดินแบ่งขายเป็นภาระจำยอม
พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการถือวิสาสะในการใช้ทาง
ให้ใช้ทางเอื้ออารีเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกัน
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
โจทก์ไม่มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็น