ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1                   
 

ในกรณีที่ที่ดินตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมของที่ดินอีกแปลวหนึ่ง แต่ที่ดินสามยทร้พย์ที่มีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมแต่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทาง อื่นแล้ว กรณีนี้มีคำถามว่าทางภาระจำยอมหมดความจำเป็นในการใช้ทางภาระจำยอมหรือไม่ คำตอบก็์คือ ในเรื่องภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามกฎหมาย มีความหมายว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป แต่ถ้าทางภาระจำยอมยังใช้ได้อยู่แต่ไม่ได้ใช้นั้น ยังฟังไม่ได้ว่าทางภาระจำยอมหมดประโยชน์แล้ว และมีผลทำให้ภาระจำยอมสิ้นไปไม่

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3262/2548

          คดีก่อน บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์คนก่อนกับพวกฟ้อง ข. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินคนก่อนของจำเลยทั้งสองให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้น ที่ ข. เป็นผู้กระทำขึ้นออกจากทางพิพาท กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษา ให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างที่ จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นใหม่ภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนั้น เหตุที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างในคดี นี้จึงเป็นคนละเหตุกับที่ บ. กับพวกฟ้อง ข. ในคดีก่อน โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้บังคับจำเลยในคดีก่อนได้ ทั้งคดีก่อน บ. กับพวกก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีให้มีการจดทะเบียนภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลา บังคับคดีไปแล้วแม้โจทก์จะเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินจาก บ. โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

          คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิ ไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็น ภารยทรัพย์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียว กันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิเป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำว่าพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง

          คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หา ใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง

          การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

          โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินของโจทก์และของจำเลยทั้งสองเป็นของสิบตรีเพิ่ม เขียนบรรจง สิบตรีเพิ่มได้แบ่งกันที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินไว้เป็นทางเดินออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามซึ่งเป็นทางสาธารณะ ก่อนถึงแก่ความตายสิบตรีเพิ่มได้ขายที่ดินในส่วนของโจทก์ให้นายบุญชัย จิวาลัย และเมื่อสิบตรีเพิ่มถึงแก่ความตาย นางเข็ม เที่ยงสกุล ผู้รับมรดกได้ปิดกั้นทางเดิน นายบุญชัยได้ฟ้องนางเข็มให้เปิดทางและจดทะเบียนภาระจำยอม ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้นางเข็มจดทะเบียนภาระจำยอม แต่นายบุญชัยมิได้ดำเนินการบังคับคดี และได้จดทะเบียนยกที่ดินของตนให้นางสุพีร์ นนทแก้ว ต่อมานางสุพีร์ได้ขายให้โจทก์ ส่วนที่ดินของนางเข็มก็ได้โอนกรรมสิทธิ์กันเรื่อยมาจนตกเป็นขอจำเลยทั้งสอง หลังจากโจทก์ซื้อที่ดินแล้วโจทก์ใช้ทางภาระจำยอมดังกล่าวเดินเข้าออกสู่ถนน สาธารณะสืบต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 30 ปีแล้ว จำเลยทั้งสองร่วมกันปิดกั้นทางเดินดังกล่าวโดยใช้ไม้และสังกะสีตีปิดกั้นและ ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในทางภาระจำยอมทำให้โจทก์และบริวารไม่ สามารถเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางพิพาทและ จดทะเบียนให้ทางพิพาทกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองและให้ โจทก์เป็นผู้รื้อถอนสิ่งกีดขวาง โดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

          จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินของจำเลยทั้งสองไม่เคยตกเป็นภาระจำยอม นายบุญชัยกับนางสุพีร์ใช้ทางเดินอื่นออกสู่ถนนสาธารณะซึ่งสะดวกกว่าทางภาระ จำยอมจึงไม่มีความจำเป็นและหมดประโยชน์แล้ว และมิได้ใช้ทางภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี ทำให้ทางภาระจำยอมสิ้นไป ทั้งการที่นายบุญชัยกับนางสุพีร์มิได้บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาล ฎีกาตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีจึงมีอายุความบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และการที่โจทก์นำคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาสิ้นสุดไปแล้วมาฟ้องอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ ขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาว่าภาระจำยอมในทางพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2524 สิ้นไป

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ดังกล่าว คำขออื่นนอกจากนี้ของโจทก์ให้ยก และยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร บริเวณด้านทิศเหนือกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยทั้งสอง ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินส่วนดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ ที่ดินของโจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยทั้งสองมีอาณาเขตติดต่อกัน โดยที่ดินของโจทก์อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ดินของจำเลยทั้งสอง ทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยทั้งสองด้านทิศเหนือกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดิน เดิมนายบุญชัยเจ้าของที่ดินของโจทก์คนก่อนกับพวกได้ฟ้องนางเข็มเจ้าของ ที่ดินของจำเลยทั้งสองคนก่อนให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นออกจากทางพิพาท กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ต่อมาปี 2538 โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงดังกล่าว และจำเลยทั้งสองก็ได้ก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 4314 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 และได้ปิดกั้นทางพิพาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อแรกมีว่า ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนหรือไม่ เห็นว่า คดีก่อนนายบุญชัยกับพวกได้ฟ้องนางเข็มให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นออกจาก ทางพิพาท กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างที่ จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นใหม่ภายหลังจากมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ดังนั้น เหตุที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างในคดี นี้จึงเป็นคนละเหตุกับที่นายบุญชัยกับพวกฟ้องนางเข็มในคดีก่อน โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้บังคับจำเลยในคดีก่อนได้ ทั้งคดีก่อนนายบุญชัยกับพวกก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีให้มีการจดทะเบียนภาระ จำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้ว แม้โจทก์จะเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 จากนายบุญชัย โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า คำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความอันเป็นทรัพย์สิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิ ดังจำเลยทั้งสองฎีกาไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่ เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกัน แต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ เป็นสิทธิคนละประเภทกันทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความ ในคดีก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 คำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีดังกล่าวว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 นั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามทางนำสืบของโจทก์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบหักล้างว่า เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 นายบุญชัยเจ้าของที่ดินคนก่อนได้แบ่งแยกเพื่อใช้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุ ทธารามตามข้อตกลงที่ทำกับสิบตรีเพิ่ม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 จึงยอมฟังได้ว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 ด้วยเช่นกัน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ทางพิพาทเกิดจากข้อตกลงระหว่างสิบตรีเพิ่มกับนายบุญชัย จึงไม่อาจตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความได้นั้น เห็นว่า แม้ทางพิพาทจะเกิดจากข้อตกลงระหว่างสิบตรีเพิ่มกับนายบุญชัยที่ตกลงให้กัน ที่ดินของแต่ละฝ่ายไว้เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธาราม แต่เมื่อนายบุญชัยและผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 จากนายบุญชัยตลอดมาจนถึงโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกสู่ซอยวัดยางสุ ทธารามโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี ก็ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความได้เช่นกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงคดีนี้

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า ทางภาระจำยอมสิ้นผลเพราะโจทก์ไม่ได้ใช้ทางพิพาทติดต่อกันเกินกว่า 10 ปีหรือไม่ โจทก์มีนางสุพีร์  ผู้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ให้แก่โจทก์เป็นพยานเบิกความว่า พยานปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 และใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามตลอดมา หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วพยานก็ยังคงใช้ทางพิพาทเป็นทางออก สู่ซอยวัดยางสุทธารามเช่นเดิมจนกระทั่งขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ให้แก่โจทก์ และรื้อบ้านออกไปเมื่อปี 2538 ซึ่งโจทก์เบิกความถึงเหตุการณ์ต่อมาว่า หลังจากซื้อที่ดินจากนางสุพีร์แล้วโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกไปซื้อเครื่อง อุปโภคบริโภคตลอดมา นอกจากนี้โจทก์ยังมีนายสุริยนต์ พุทธาวัฒน์ จ่าเอกวิทย์ สกุลวัฒนะ นางเกศนี แจ่มใส และนางถาวร แซ่เหลียง เบิกความสนับสนุนถึงการใช้ทางพิพาทดังกล่าว เห็นว่า นางเข็มเจ้าของที่ดินของจำเลยคนก่อนเคยปิดกั้นทางพิพาท นายบุญชัยกับนางสุพีร์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลขอให้รื้อถอนสิ่งปิดกั้นอ้างว่าเป็น ทางภาระจำยอม แสดงว่านายบุญชัยกับนางสุพีร์ประสงค์จะใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุ ทธาราม จึงน่าเชื่อว่าหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้ว นางสุพีร์ยังคงใช้ทางพิพาทเป็นทางออกตลอดมา พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อ จำเลยทั้งสองมีตัวจำเลยที่ 1 กับนายสมชัย ชีวินศิริรัตน์ เบิกความทำนองเดียวกันว่า หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วมีเพียงครอบครัวนางเข็มเท่านั้น ที่ใช้ทางพิพาท เห็นว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้นำนางเข็มหรือบุคคลในครอบครัวนางเข็มซึ่งจำเลยทั้งสอง อ้างว่าเป็นผู้ใช้ทางพิพาทมาเบิกความสนับสนุน กลับปรากฏว่านางเกศนีซึ่งเป็นบุตรนางเข็มได้มาเบิกความเป็นพยานโจทก์ยืนยัน ว่า นางสุพีร์และโจทก์ใช้ทางพิพาทตลอดมา พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองยังเลื่อนลอย ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปิดกั้นทางพิพาทแสดงว่าไม่มีการใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินนั้น เห็นว่า ทางพิพาทเป็นเพียงทางคนเดินมิใช่สำหรับรถยนต์แล่น ต้นไม้ดังกล่าวมิได้ปิดกั้นทางพิพาทจนไม่สามารถเดินผ่านไปได้ การที่มีต้นไม้ดังกล่าวจึงมิได้แสดงว่าไม่มีการใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินแต่ อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงฟังว่าทางภาระจำยอมมิได้สิ้นผล เพราะโจทก์ไม่ได้ใช้ติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า ภาระจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หรือไม่ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาข้อนี้ว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ถนนพรานนกซึ่งเป็นทางสาธารณะแล้ว ความจำเป็นที่จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์จึงหมดไป เห็นว่า คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หา ใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ -ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือไม่ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเป็นเรื่องอำนาจ ฟ้องของโจทก์ จำเลยทั้งสองย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก เห็นว่า แม้โจทก์จะปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 ซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่นายบุญชัยกันไว้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามตามที่ ตกลงกับสิบตรีเพิ่ม แต่ที่ดินแปลงนี้อยู่ด้านในไม่เป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองที่จะ ออกสู่ซอยวัดยางสุทธาราม ที่สิบตรีเพิ่มทำข้อตกลงกับนายบุญชัยให้นายบุญชัยกันที่ดินของนายบุญชัยดัง กล่าวก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของสิบตรีเพิ่มแปลงอื่นซึ่งอยู่ด้านในเท่า นั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองขอถือเอาคำฟ้องแย้งเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกข้อตกลงเรื่องกัน ที่ดินเป็นทางออก และฎีกาขอให้ทางพิพาทพ้นจากภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคสอง นั้น เห็นว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิบอกเลิกข้อตกลง และมีสิทธิขอให้ที่พิพาทพ้นจากภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาล อุทธรณ์และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองทุกข้อฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน

( ทองหล่อ โฉมงาม - สมศักดิ์ เนตรมัย - เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์ )

                                 หมายเหตุ 

          ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 บัญญัติว่า คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความรายเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน...

           จากบทบัญญัติดังกล่าวกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำนั้นจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกัน ซึ่งก็คือโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนำคดีมาฟ้องกันอีก และคดีที่ฟ้องนั้นจะต้องเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน

           จากข้อเท็จจริงในคดีที่หมายเหตุนี้ คู่ความในคดีก่อนคือ นายบุญชัยกับพวกเป็นโจทก์ นางเข็มเป็นจำเลย ส่วนคู่ความในคดีหลังเป็นคนละคนกับคู่ความในคดีก่อนดังนี้จะถือว่าเป็นคู่ ความต่างรายกันหรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยวางแนวตลอดมาว่าแม้คู่ความต่างรายกัน แต่ถ้าหากเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน ก็ถือว่าเป็นคู่ความรายเดียวกัน เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2545 เป็นต้น รวมทั้งคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ด้วย

           ส่วนประเด็นที่วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวแล้วน่าจะเป็นฟ้องซ้ำ แต่เหตุที่ฟ้องเป็นเหตุที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ รับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิมแล้ว ดังนั้น ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นคนละเหตุกันและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่ง ปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงชอบแล้ว แต่การที่นายบุญชัยกับพวกซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนไม่บังคับคดีให้นางเข็ม จำเลยในคดีก่อนจดทะเบียนทางภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้ว โจทก์ในฐานะผู้สืบสิทธิจากนายบุญชัยจะมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยในฐานะผู้สืบ สิทธิจากนางเข็มให้จดทะเบียนภาระจำยอมได้อีกหรือไม่ เมื่อพิจารณาตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นแล้วเห็นได้ว่าการบังคับให้จด ทะเบียนภาระจำยอมมิใช่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง แต่เป็นผลสืบเนื่องจากการที่จำเลยปิดกั้นทางเดินภาระจำยอมขึ้นใหม่จึงไม่ เป็นฟ้องซ้ำดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้แต่ถ้าหากจำเลยิได้เข้าไปขัดขวางการใช้ ทางภาระจำยอมเช่นนี้ หากโจทก์มาฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอม ก็ไม่สามารถกระทำได้เพราะคำพิพากษาศาลฎีกายังผูกพันอยู่ (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาษาที่ 949/2496)

           มีข้อน่าพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ หรือไม่ (ฟ้องซ้ำหรือไม่กับการบังคับคดีได้หรือไม่ เป็นคนละกรณีกัน) เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิจากนายบุญชัย เมื่อนายบุญชัยไม่บังคับคดีภายในกำหนด โจทก์จึงไม่น่าจะมีสิทธิบังคับคดีเอากับจำเลยที่เป็นผู้สืบสิทธิจากนางเข็ม ได้ อย่างไรก็ตามศาลฎีกาคงเห็นว่าการที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมไว้จะก่อให้เกิด ปัญหาได้เมื่อมีการโอนที่ดิน ทำให้ผู้ที่รับโอนไม่ทราบว่ามีทางภาระจำยอมอยู่จะเกิดมีการกระทบกระทั่งกัน เหมือนกับกรณีนี้อีกก็เป็นได้ จึงยอมให้บังคับคดีได้
                    
          ศิริชัย วัฒนโยธิน
 

         

ทางภาระจำยอมเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์มีผลอย่างไร?

โจทก์ใช้ทางผ่านไปตามที่ดินของจำเลยมาเกิน 10 ปีแล้ว ที่ดินส่วนที่เป็นทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม แม้ว่าการได้ภาระจำยอมแล้วไม่จดทะเบียนภาระจำยอมให้ถูกต้องก็ไม่เสียสิทธิ การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายให้บุคคลภายนอกไปและบุคคลภายนอกผู้ซื้อได้สิทธิโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วก็ตาม เพราะภาระจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี(เจ้าของกรรมสิทธิทางภาระจำยอม) ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิและเป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินแปลงอื่น(อันเป็นสามยทรัพย์) ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล ดังนั้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็ไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่

 

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำการเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
จำเลยครอบครองที่ดินของโจทก์โดยสำคัญผิด
"ทางจำเป็น" จำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น
ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม
นำที่ดินตกเป็นภาระจำยอมแล้วขายทอดตลาด
สาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นตกอยู่ในภาระจำยอม
อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป
การครอบครองปรปักษ์สิ้นสุดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่?
เจ้าของใหม่รับโอนมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
สาธารณูปโภคที่ดินแบ่งขายเป็นภาระจำยอม
พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการถือวิสาสะในการใช้ทาง
ให้ใช้ทางเอื้ออารีเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกัน
ใช้ทาง 50 ปีก็ไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
โจทก์ไม่มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็น