
ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม
-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร. 085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) -ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail: leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม ที่ดินของโจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมให้เป็นทางเดินให้จำเลยใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยได้ก่อสร้างหลังคา ชั้นวางของ นำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่าย ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม จำเลยอ้างว่ามีอาชีพค้าวัสดุก่อสร้าง ได้นำเอาวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอม ตั้งแต่ปี 2529 บิดามารดาโจทก์ มิได้คัดค้านหรือห้ามมิให้กระทำ ศาลเห็นว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยในเรื่องทางเดิน โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะไปหวงห้ามมิให้เดินผ่าน แต่จำเลยนำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอมทำให้โจทก์และประชาชนอื่นไม่สามารถเดินผ่านทางภาระจำยอมไปได้อย่างสะดวก การกระทำของจำเลยเป็นการก่อภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2552 ตามบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระบุไว้ว่า ที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยในเรื่องทางเดินซึ่งหมายความว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมซึ่งเป็นทางเท้าติดกับตึกแถวของจำเลยเดินผ่านหรือเดินเข้าออกไปยังถนนสาธารณะหรือที่อื่นใดก็ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะไปหวงห้ามมิให้เดินผ่าน เมื่อจำเลยนำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอม ก่อสร้างกันสาดหลังคาอะลูมิเนียมเป็นการถาวร นำชั้นมาวางของขายและนำรถยนต์มาจอดบนทางเท้าและทำประตูเปิดปิด ทำให้โจทก์และประชาชนอื่นไม่สามารถเดินผ่านทางภาระจำยอมไปได้โดยสะดวก การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์เป็นการก่อภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1388 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยที่อยู่บนทางภาระจำยอมออกไป จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกา ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประเด็นต่อมามีว่า จำเลยทำให้เกิดภาระเพิ่มมากขึ้นแก่ภารยทรัพย์และต้องรื้อถอนออกไปตามฟ้องหรือไม่ ข้อนี้โจทก์นำสืบว่าที่ดินของโจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมให้เป็นทางเดินให้จำเลยใช้เป็นทางเข้าออกจากตึกแถวของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ แต่เมื่อปี 2538 จำเลยได้ก่อสร้างหลังคา ชั้นวางของ นำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่าย ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม และนำแป๊บน้ำมาทำเป็นประตูปิดกั้น สิ่งของและสิ่งก่อสร้างของจำเลยดังกล่าวกีดขวางและทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ทางภาระจำยอม จำเลยก็นำสืบว่า จำเลยมีอาชีพค้าวัสดุก่อสร้าง ได้นำเอาวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอม ตั้งแต่ปี 2529 ต่อมาปี 2530 จำเลยได้สร้างกันสาดผ้าใบโดยใช้เหล็กค้ำยันกับผนังตึก ปี 2537 จำเลยได้ก่อสร้างเป็นกันสาดถาวรหลังคาอะลูมิเนียม ที่จำเลยนำวัสดุก่อสร้างมาวางบนทางภาระจำยอม และก่อสร้างหลังคาอะลูมิเนียมดังกล่าว นายประยงค์และนางถนอมนวล บิดามารดาโจทก์ มิได้คัดค้านหรือห้ามมิให้กระทำแต่อย่างใดจำเลยมีอาชีพค้าวัสดุก่อสร้าง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางเท้าบ้าง จึงเป็นข้อผูกพันที่โจทก์จำต้องยอมรับต่อจากบิดามารดาด้วยเห็นว่า ตามบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมได้ระบุว่า ที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยในเรื่องทางเดินซึ่งหมายความว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมซึ่งเป็นทางเท้าติดกับตึกแถวของจำเลยเดินผ่านหรือเดินเข้าออกไปยังถนนสาธารณะหรือที่อื่นใดได้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะไปหวงห้ามมิให้เดินผ่าน เมื่อจำเลยนำวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอม ก่อสร้างกันสาดหลังคาอะลูมิเนียมเป็นการถาวร นำชั้นมาวางของขายและนำรถยนต์มาจอดบนทางเท้าและทำประตูเปิดปิด ทำให้โจทก์และประชาชนอื่นไม่สามารถเดินผ่านทางภาระจำยอมไปได้อย่างสะดวก การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์เป็นการก่อภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยที่อยู่บนทางภาระจำยอมออกไป ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยขนย้ายเฉพาะวัสดุก่อสร้างที่นำมาวางบนทางภาระจำยอมออกไปโดยไม่ต้องรื้อหลังคากันสาดอะลูมิเนียมที่จำเลยก่อสร้างไว้นั้นนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมนั้น เป็นแบบฟอร์มสำเร็จรูปที่เจ้าพนักงานที่ดินทำไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเฉพาะเรื่องทางเดินไม่ครอบคลุมถึงเจตนาของคู่สัญญาทั้งหมดที่อยู่นอกเหนือจากบันทึกข้อตกลงก็จะไม่ระบุไว้นั้น เห็นว่า เป็นข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผลให้รับฟัง เพราะหากจำเลยกับมารดาโจทก์มีข้อตกลงให้นำวัสดุสิ่งของมาวางจำหน่ายบนทางเท้าได้ หรือให้ที่จอดรถได้ หากแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงด้วย ก็เชื่อว่าพนักงานคงจะระบุไว้ให้เมื่อตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุไว้ จึงต้องตีความไปตามลายลักษณ์อักษรที่ระบุไว้ซึ่งในเรื่องดังกล่าวหากจำเลยนำสิ่งของก่อสร้างวัสดุมาวางจำหน่ายบนทางภาระจำยอมตามสมควรแก่ความจำเป็น ก็เชื่อว่าโจทก์คงจะไม่หวงห้ามทักท้วงดังที่ได้ปล่อยให้กระทำมาเป็นเวลาหลายปี แต่ต่อมาเมื่อจำเลยนำชั้นวางของและนำสิ่งของวัสดุก่อสร้างมาวางจำหน่ายบนทางเท้าในปริมาณมาก ทั้งยังมีการนำกระถางต้นไม้มาทำเป็นแนวและสร้างที่จอดรถยนต์อีก ทำให้โจทก์และประชาชนที่จำเป็นจะต้องเดินผ่านทางภาระจำยอมได้รับความไม่สะดวก โจทก์จึงจำต้องดำเนินคดีแก่จำเลย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายมีว่า ศาลชั้นต้นพิพากษานอกประเด็นหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาอ้างว่า ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ประเด็นเดียวว่า จำเลยได้ก่อให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในภารยทรัพย์หรือไม่เท่านั้น ประเด็นเรื่องทรัพย์สินที่นำมาวางจำหน่าย ศาลไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ และคู่ความไม่ได้โต้แย้ง ต้องถือว่าคู่ความสละประเด็นดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่พิพาทให้ศาลวินิจฉัยนั้น เห็นว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 28 สิงหาคม 2543 ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ไว้ว่าจำเลยทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์และต้องรื้อถอนออกไปตามฟ้องหรือไม่ มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ก่อให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในภารยทรัพย์หรือไม่ ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในข้อ 3 ว่า จำเลยทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์และต้องรื้อถอนออกไปตามฟ้องหรือไม่ จึงรวมถึงการนำสิ่งของวัสดุก่อสร้างมาวางไว้บนทางภาระจำยอมและจะต้องขนย้ายออกไปด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกันที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยขนย้ายวัสดุสิ่งของออกไปจากทางภาระจำยอมนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น” ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส แจ้งความว่าหญิงคู่หมั้นหลอกลวงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย จัดงานแต่งใหญ่โต คู่หมั้นมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว การเลิกราเป็นที่อับอายแก่หญิงมากกว่า เวลาไปสู่ขอก็ไม่ได้ตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันเมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของหญิงคู่หมั้น เพราะคู่หมั้นไม่ได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาเท่านั้น ชายจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนได้ ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ การใช้ทางแบบคุ้นเคยกันในลักษณะเพื่อนบ้านที่ต่างพื่งพาอาศัยกันและเป็นการได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินแล้วแม้จะได้นำดินลูกรังและหินมาถมในทางพิพาทตลอดมาทุกปีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากใครก็ตาม ก็เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกของผู้ใช้ทางเท่านั้น พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการถือวิสาสะในการใช้ทางไม่ใช่เป็นการแสดงเจตนาที่จะใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์ แม้จะได้ใช้ทางมานานเกิน 10 ปี ก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของตนได้ ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย เจ้าของโครงการจัดสรรที่ดินได้กันทางเดินพิพาทไว้เป็นทางเข้าออกสำหรับตึกแถวที่แบ่งขายในการก่อสร้างตึกแถวเจ้าของโครงการได้ก่อสร้างตึกแถวทำกันสาดปูนซิเมนต์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินแปลงที่เป็นทางเดินยื่นออกไป 1.5 เมตรต่อมาเจ้าของโครงการถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย โจทก์ในคดีนี้ซื้อที่ดินทางเดินจากการขายทอดตลาดและฟ้องขับไล่ผู้ซื้อตึกแถวศาลฎีกาเห็นว่าทางเดินตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายแล้วรวมถึงกันสาดที่ยื่นออกไปด้วย การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองที่ต้องครอบครองติดต่อกัน ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นหรือไม่ และไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของหากบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่? สภาพของที่ดินภาระจำยอมใช้เป็นเพียงทางเดินเท่านั้น รถยนต์ไม่สามารถเข้าออกได้เพราะมีขั้นบันไดลงไปสู่ถนนสาธารณะ การที่เจ้าของที่ดินสร้างแผงร้านค้าโดยเว้นทางเท้าไว้ถึง 2.50 เมตร จึงไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหรือไม่? ศาลเห็นว่าทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของผู้อื่นนั้นเป็นทางที่ใช้สัญจรอยู่ในโครงการหมู่บ้านและที่ดินจัดสรร ดังนั้น ไม่ว่ารถยนต์จะสามารถเข้าออกทางได้หรือไม่ก็ตาม
|