-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร. 085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail: leenont0859604258@yahoo.co.th
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line :
(1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1
"ทางจำเป็น" จำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น
ที่ดินพิพาทมีที่ตั้งอยู่ในสภาพที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะมาแต่เดิม เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมไม่มีสิทธิผ่านที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะจึงต้องใช้ทางในที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะในลักษณะทางจำเป็น เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทมีสิทธิออกสู่ทางสาธารณะในที่ดินของโจทก์ได้ ที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นที่ดินที่ปิดกั้นที่ดินพิพาทไม่ให้ออกสู่ทางสาธารณะอีกต่อไป ที่ดินพิพาทจึงไม่ได้ถูกปิดล้อม โจทก์ย่อมไม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะ จะอ้างว่าเป็นทางจำเป็นมาแต่เดิมจึงตกติดตามตัวผู้โอนมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2546
การที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์จะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภารจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วยทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์ เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้
ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ
ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็น
ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ตำบลบางพลัด (บางพลู)อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยซื้อจากนางสาวจินดา อรรถสิทธิ์ และนางสาวเปล่งศรี อรรถสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 795 ตำบลบางพลู อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 795 ดังกล่าว ที่ดินโจทก์อยู่ติดกับที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตก เดิมนางละมูล โพธิประสิทธิ์ มารดาจำเลยเป็นผู้แบ่งแยกที่ดินในนามเดิมแบ่งออกเป็น6 โฉนดเพื่อยกให้บุตร และยกที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ให้แก่นางสาวจินดาและนางสาวเปล่งศรี ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 795 ส่วนที่เหลือให้จำเลยพร้อมกับถนนพิพาทกว้างประมาณ 7 เมตร ยาวประมาณ 60 เมตร ออกสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์โดยประสงค์ให้ทุกคนใช้ร่วมกัน และนางละมูลให้จำเลยไปจัดการจดทะเบียนภารจำยอมบางส่วนให้แก่ที่ดินที่ถูกแบ่งแยกซึ่งถูกปิดกั้นทุกแปลง แต่จำเลยไม่จดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ซึ่งไม่มีทางออกสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ หลังจากโจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมาแล้ว โจทก์เข้าสวมสิทธิของนางสาวจินดาและนางสาวเปล่งศรีใช้ถนนที่สร้างขึ้นในที่ดินของจำเลยเป็นทางขนวัสดุสิ่งของจากถนนจรัญสนิทวงศ์เข้าไปในที่ดินเพื่อปรับปรุงที่ดินและก่อสร้างอาคาร เพราะเห็นว่าเป็นทางจำเป็น แต่จำเลยขัดขวางปักเสาปิดกั้นด้วยรั้วสังกะสีไม่ยอมให้โจทก์เข้าไปใช้ที่ดินและใช้ถนน โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นใดได้ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสารั้ว สิ่งก่อสร้างที่จำเลยสร้างปิดกั้นทางเข้าออกของโจทก์ และให้จำเลยเปิดถนนให้โจทก์ใช้ทางได้อย่างสภาพเดิม หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลสั่งให้โจทก์มีอำนาจกระทำการรื้อถอนได้เองโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
จำเลยให้การว่า นางละมูล โพธิประสิทธิ์ แบ่งแยกที่ดินและยกที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 แก่นางสาวจินดา อรรถสิทธิ์ และนางสาวเปล่งศรี อรรถสิทธิ์ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องอุปการะดูแลช่วยเหลือยามแก่ชรา ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ นางละมูลยังคงสงวนสิทธิเก็บกินในที่ดินจนกว่าจะถึงแก่กรรม บุคคลทั้งสองจึงยังไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินสำหรับที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 795 จำเลยและพี่น้องตกลงใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยมอบหมายให้นายสมใจ โพธิประสิทธิ นำที่ดินว่างของทุกแปลงรวมถึงที่ดินพิพาทออกให้เช่าทำร้านอาหาร ให้เช่าที่จอดรถและนำค่าเช่าที่ได้เป็นค่าใช้จ่ายดูแลรักษานางละมูลซึ่งป่วย นางสาวจินดาและนางสาวเปล่งศรีไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องหรือใช้ประโยชน์ใด ๆ โจทก์ทราบเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยและญาติพี่น้องดังกล่าวและโจทก์มีบ้านพักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบ้านของจำเลยโดยมีที่ดินติดกับที่ดินแปลงพิพาทด้วย เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินนางสาวจินดาและนางสาวเปล่งศรีแล้ว ทำให้ที่ดินดังกล่าวมีเขตติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันตกซึ่งสามารถผ่านออกไปสู่ถนนสาธารณะได้ ทางพิพาทมิใช่ทางจำเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสวมสิทธิของนางสาวจินดาและนางสาวเปล่งศรี ไม่มีสิทธิหรือความจำเป็นใด ๆ ที่จะให้จำเลยเปิดทางถนนทางเดินรถเข้าสู่ที่ดินแปลงพิพาทของโจทก์ที่มีความกว้างถึง 7 เมตร ยาว60 เมตร และไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเปิดกว้างถึงเพียงนั้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 795 ตำบลบางพลู อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นของนางละมูลโพธิประสิทธิ์ ต่อมานางละมูลได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวเป็น 6 แปลง คือที่ดินโฉนดเลขที่ 29492 ถึง 29497 และยกที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ให้แก่นางสาวจินดา อรรถสิทธิ์กับนางสาวเปล่งศรี อรรถสิทธิ์ ซึ่งเป็นหลาน และยกที่ดินคงเหลือของที่ดินโฉนดเลขที่ 795ให้แก่จำเลย โดยได้กันบางส่วนเป็นทางให้ผู้ที่ได้รับการยกให้ที่ดินที่แบ่งแยกทุกแปลงใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ตามผังการแบ่งแยกเอกสารหมาย จ.3, จ.10 และโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.2, จ.11 ในวันที่ 14 สิงหาคม 2541 นางสาวจินดาและนางสาวเปล่งศรีขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 29495 เอกสารหมาย จ.11 ให้แก่โจทก์คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 795 ของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือไม่ เห็นว่า โจทก์และจำเลยเบิกความรับกันว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ที่โจทก์ซื้อจากนางสาวจินดาและนางสาวเปล่งศรีนั้นทางด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัย และมีทางเดินจากที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้านออกสู่ทางสาธารณะได้ และจากที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ที่โจทก์ซื้อมาดังกล่าวสามารถเดินไปยังที่ดินโจทก์ที่ปลูกบ้านแล้วเดินต่อไปยังทางสาธารณะได้ตามผังการแบ่งแยกแผนผังสังเขปที่ตั้งที่ดินเอกสารหมาย จ.10และ ล.1 ซึ่งตามรายงานการเดินเผชิญสืบกับภาพถ่ายการเดินเผชิญสืบ (ภาพที่ 6)และภาพถ่ายหมาย จ.13 ปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ซื้อมากับที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้านส่วนที่ติดกันกว้าง 1.16 เมตร ส่วนทางเดินจากบ้านโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะก็กว้าง 1.35เมตร ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้เดิมผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ที่โจทก์รับโอนมาจะมีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจะได้สิทธิใช้ทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภารจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วยทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 29495 ซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 795 ของจำเลยเป็นทางจำเป็น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องของโจทก์นั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
( ประสพสุข บุญเดช - จรัส พวงมณี - จรูญวิทย์ ทองสอน )
หมายเหตุ
ทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และมาตรา 1350 เป็นข้อจำกัดสิทธิของผู้มีกรรมสิทธิ์ต้องให้ที่ดินอีกแปลงหนึ่งเดินผ่านออกสู่ทางสาธารณะเนื่องจากที่ดินแปลงที่มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินดังกล่าวโดยสภาพของที่ตั้งและตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ คดีนี้ที่ดินพิพาทมีที่ตั้งอยู่ในสภาพที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะมาแต่เดิม ที่ดินของโจทก์ก็เป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ปิดกั้นที่ดินพิพาทไม่ให้ออกสู่ทางสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์อีกด้านหนึ่งเจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมไม่มีสิทธิผ่านที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะจึงต้องใช้ทางในที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะในลักษณะทางจำเป็น เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทมีสิทธิออกสู่ทางสาธารณะในที่ดินของโจทก์ได้ ที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นที่ดินที่ปิดกั้นที่ดินพิพาทไม่ให้ออกสู่ทางสาธารณะอีกต่อไป ที่ดินพิพาทจึงไม่ได้ถูกปิดล้อม โจทก์ย่อมไม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะ จะอ้างว่าเป็นทางจำเป็นมาแต่เดิมจึงตกติดตามตัวผู้โอนมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนหาได้ไม่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติเช่นนั้น แต่ถือตามสภาพและความจำเป็นของเจ้าของที่ดินในปัจจุบันเป็นสำคัญ
คดีนี้โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ก่อนแล้วมาซื้อที่ดินพิพาท แต่ถ้าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินอยู่ก่อนแล้วมาซื้อที่ดินพิพาทผลคดีน่าจะแตกต่างกัน เพราะการเช่าเป็นเพียงบุคคลสิทธิ
ไพโรจน์ วายุภาพ
รับซื้อฝากที่ดินโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรม
สามีภริยาได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส การที่ภริยาทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับซื้อฝาก โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้รับซื้อฝากรับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริต สามีจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างภริยา กับผู้รับซื้อฝากได้ทั้งหมด
สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ | สัญญาระหว่างสมรส
เมื่อคู่สมรสตกลงกันในขณะจดทะเบียนสมรสว่า ไม่ประสงค์จะให้บันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สิน แต่ในวันเดียวกันทั้งสองฝ่ายมาขอบันทึกเพิ่มเติ่มว่าสามียกที่ดิน 1 แปลงให้ภริยา บันทึกครั้งหลังมิใช่สัญญาก่อนสมรสตาม แต่เป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันหรือสัญญาระหว่างสมรส ซึ่งคู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน
ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส
แจ้งความว่าหญิงคู่หมั้นหลอกลวงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย จัดงานแต่งใหญ่โต คู่หมั้นมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว การเลิกราเป็นที่อับอายแก่หญิงมากกว่า เวลาไปสู่ขอก็ไม่ได้ตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันเมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของหญิงคู่หมั้น เพราะคู่หมั้นไม่ได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาเท่านั้น ชายจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนได้
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
การใช้ทางแบบคุ้นเคยกันในลักษณะเพื่อนบ้านที่ต่างพื่งพาอาศัยกันและเป็นการได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินแล้วแม้จะได้นำดินลูกรังและหินมาถมในทางพิพาทตลอดมาทุกปีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากใครก็ตาม ก็เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกของผู้ใช้ทางเท่านั้น พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการถือวิสาสะในการใช้ทางไม่ใช่เป็นการแสดงเจตนาที่จะใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์ แม้จะได้ใช้ทางมานานเกิน 10 ปี ก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของตนได้
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
เจ้าของโครงการจัดสรรที่ดินได้กันทางเดินพิพาทไว้เป็นทางเข้าออกสำหรับตึกแถวที่แบ่งขายในการก่อสร้างตึกแถวเจ้าของโครงการได้ก่อสร้างตึกแถวทำกันสาดปูนซิเมนต์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินแปลงที่เป็นทางเดินยื่นออกไป 1.5 เมตรต่อมาเจ้าของโครงการถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย โจทก์ในคดีนี้ซื้อที่ดินทางเดินจากการขายทอดตลาดและฟ้องขับไล่ผู้ซื้อตึกแถวศาลฎีกาเห็นว่าทางเดินตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายแล้วรวมถึงกันสาดที่ยื่นออกไปด้วย