
ให้ใช้ทางเอื้ออารีเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกัน
-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร. 085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) -ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail: leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 ให้ใช้ทางเอื้ออารีเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกัน ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วและสิ่งกีดกั้นทางบนที่ดินพิพาทและยอมให้โจทก์ใช้ทางตามปกติต่อไปให้จำเลยจดทะเบียนทางพิพาทบนโฉนดที่ดินของจำเลยให้ตกเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์จำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกทางอื่นออกสู่ถนนสาธารณะไม่ใช่ทางพิพาททางเดียว การที่นายแป้นบิดาของจำเลยยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่มีผลผูกพันจำเลย ทางพิพาทดังกล่าวที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้นั้นก็ด้วยความเอื้ออารีฉันมิตรอันเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกันเท่านั้นหาใช่เป็นทางภาระจำยอมไม่ ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นทางภาระจำยอม ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดกั้นใด ๆ ออกจากทางพิพาทให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนทางภาระจำยอมลงในโฉนดเลขที่ 17055 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง กว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวเขตด้านทิศตะวันออกเป็นทางภาระจำยอม หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2552 มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น มาตรา 1401 ภาระจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้ง จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจ ของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้ จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกทางอื่นออกสู่ถนนสาธารณะไม่ใช่ทางพิพาททางเดียว ทางพิพาทมีความกว้างประมาณ 2 เมตร เท่านั้น การที่นายแป้นบิดาของจำเลยทั้งสองยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่มีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง ทางพิพาทดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ใช้นั้นก็ด้วยความเอื้ออารีฉันมิตรอันเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกันเท่านั้นหาใช่เป็นทางภาระจำยอมไม่ ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นทางภาระจำยอม ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดกั้นใด ๆ ออกจากทางพิพาทให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนทางภาระจำยอมลงในโฉนดเลขที่ 17055 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง กว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวเขตด้านทิศตะวันออกเป็นทางภาระจำยอม หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณา โจทก์ถึงแก่กรรม นางจำนงค์ทายาทของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประการต่อไปว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และทางพิพาทมีความกว้างเท่าใดในปัญหาดังกล่าวปรากฏตามคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ทางพิพาทมีความกว้างประมาณ 2 เมตร การที่นายแป้นบิดาของจำเลยทั้งสองให้ความยินยอมแก่บุคคลอื่นใช้ทาง ถือได้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่มีผลผูกพันจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทด้วยความเอื้ออารีฉันมิตรอันเป็นการถือวิสาสะ ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นทางภาระจำยอม จากคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการที่จำเลยทั้งสองยอมรับแล้วว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 2 เมตร นายแป้นบิดาจำเลยทั้งสองยินยอมให้นายเที่ยงบิดาโจทก์ใช้ทางพิพาท เมื่อจำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินดังกล่าวมาจากนายแป้น โจทก์ก็ยังใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะ โดยจำเลยทั้งสองอ้างว่ายินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทด้วยความเอื้ออารีฉันมิตรอันเป็นการถือวิสาสะ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนโดยมีชื่อนายเที่ยงบิดาโจทก์และนายแป้นบิดาของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ตามโฉนดเลขที่ 18488 ต่อมาในปี 2529 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินเป็นโฉนดเลขที่ 17055 มีชื่อนายแป้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนนายเที่ยงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ในส่วนที่เหลือเมื่อแบ่งแยกที่ดินกันแล้วทำให้ที่ดินแปลงของนายเที่ยงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะนายแป้นยินยอมให้นายเที่ยงใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ นายเที่ยงจึงใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2529 และนายเที่ยงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2543 ดังนั้น นายเที่ยงจึงใช้ทางพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ห้ามปรามหรือขัดขวางทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 และเมื่อนายเที่ยงตายที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมา ดังนั้น ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 18488 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมฉบับลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2545 ภายหลังจากการสืบพยานดำเนินไปแล้ว 1 ปี และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวเพิ่มเติมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สิทธิเรียกร้องมรดกของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่? ที่จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นมรดกก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท จำเลยจึงครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้ ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปีจากทายาทผู้ครอบครอง ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่?? โจทก์ผู้เป็นทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกเสียภายในกำหนด 1 ปี จากจำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ทรัพย์ในส่วนมรดกนั้นย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทายาทผู้ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์ซึ่งรวมส่วนมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ย่อมใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทอื่นได้ด้วย ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง จึงต้องนำอายุความ 1 ปี มาใช้บังคับแก่คดี เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทายาทโดยธรรม เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ กรมสรรพากรโจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ภาษีอากร พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดก จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 694 ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร? ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หรือจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จะมีผลอย่างไร? ถือว่าผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกเป็นเหตุให้ทายาทอื่นได้รับความเสียหายและมีสิทธิร้องขอให้ถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่? การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกหากผู้ร้องไม่ได้ระบุทายาทในบัญชีทายาทโดยธรรม จะมีผลให้ให้ผู้จัดการมรดกถือว่าเป็นการปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่?? ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย แม้ว่าคำร้องใหม่นี้จะมีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เสียเช่นนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ สวนยางพาราโดยจดทะเบียนใส่ชื่อนายชัยสิน และจำเลย 9 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนโจทก์โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระหว่างการพิจารณาของศาลจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุด ซึ่งต้องดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตาย อำนาจของผู้จัดการมรดกในการขายที่ดินทรัพย์มรดกเพื่อใช้หนี้กองมรดก ผู้ซื้ออยู่ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแม้ยังไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขาย การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินให้โดยไม่มีค่าตอบแทนอันเป็นทางเสียเปรียบแก่ผู้ซื้อและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ผู้ซื้อที่ดินได้รับความเสียหายขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตกเป็นโมฆะ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองคืออะไร? ขั้นตอนในการทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมืองมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? การทำพินัยกรรมขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมป่วยหรือนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลสามารถทำได้หรือไม่? การที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ต้องการทำพินัยกรรมให้เจ้าหน้าที่โดยไม่มีพยานสองคนอยู่ต่อหน้าตนทำได้หรือไม่?? การนำพินัยกรรมซึ่งตกเป็นโมฆะไปประกอบยื่นคำร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกมีผลอย่างไร?? คำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทผู้คัดค้านจะคัดค้านคำร้องขอในประเด็นข้อใดจะต้องยื่นคำคัดค้านให้ชัดเจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีต้องวินิจฉัยตามที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้คัดค้านฎีกาว่า เดิมคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อมาจึงไม่ถือว่าคำคัดค้านเป็นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
|