ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด

ทนายความบริษัทสำนักงานพีศิริ ทนายความ จำกัด  

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายโทร.  085-9604258 (ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ)

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางemail:  leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1                

ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเลขที่ 357/90 อาคารชุดจอมเทียนฮิลล์รีสอร์ท คอนโดมิเนียม โดยการครอบครองปรปักษ์ โดยผู้ร้องได้ครอบครองห้องชุดติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีย่อมได้กรรมสิทธิ์โดย การครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7500/2552

        คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่อาจขอรับโอน กรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ หากประสงค์ที่จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ก็ชอบที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามป.พ.พ. มาตรา 1382 เพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่

            ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเลขที่ 357/90 อาคารชุดจอมเทียนฮิลล์รีสอร์ท คอนโดมิเนียม โดยการครอบครองปรปักษ์

            ศาลชั้นต้นประกาศนัดไต่สวนแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน

            ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอให้เป็นพับ

           ผู้ร้องอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          ผู้ร้องฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหรือไม่โดยผู้ร้องฎีกาว่า พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ของคนต่างด้าว อนุญาตให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เมื่อรวมกันต้องไม่เกินร้อยละ สี่สิบเก้าของเนื้อที่ห้องชุด ผู้ร้องไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเกินกว่าสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด และได้ครอบครองห้องชุดติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบ ครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในห้อง ชุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น เห็นว่า คนต่างด้าวอาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้โดยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราช บัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 19 (1) (2) หรือ (5) กล่าวคือ ต้องเป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือเป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุน หรือเป็นคนต่างด้าวซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงิน จากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศหรือถอนเงินจากบัญชีเงิน ฝากเงินตราต่างประเทศ และต้องแสดงหลักฐานการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตาม กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือหลักฐานการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุน หรือหลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือหลักฐานการถอน เงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศหรือถอนเงินจากบัญชี เงินฝากเงินตราต่างประเทศในจำนวนไม่น้อยกว่าค่าห้องชุดที่จะซื้อต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานดังกล่าวตามมาตรา 19 หากเป็นเอกสารที่ถูกต้องตามมาตรา 19 ตรี และอัตราส่วนการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวทั้งผู้ที่ถือ กรรมสิทธิ์อยู่แล้วและผู้ที่ขอรับโอนไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 ทวิ วรรคหนึ่ง หรืออยู่ในหลักเกณฑ์ตามมาตรา 19 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับห้อง ชุด ให้แก่คนต่างด้าวผู้ขอรับโอนได้ และคนต่างด้าวที่จะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามพระราช บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือ จะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการและด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี และตามวรรคสอง ของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า คณะกรรมการจะกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนต่างด้าวโดยคำนึงถึงราย ได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวดังกล่าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติหรือเงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสม เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามี ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยมีข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 44 ถ้าปรากฏว่า เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศหรือเป็นผู้ไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้ เพราะกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จะเห็นได้ว่าคนต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่ อาจขอรับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ หากผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1382 เพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

                                           พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
                             ( เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์ - ศุภชัย สมเจริญ - สนอง เล่าศรีวรกต )

ศาลจังหวัดพัทยา - นายพูนศักดิ์ เข็มแซมเกษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 - นายธีรยุทธ ศุภะกลิน


               

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำการเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
จำเลยครอบครองที่ดินของโจทก์โดยสำคัญผิด
"ทางจำเป็น" จำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น
ทำที่จอดรถในทางภาระจำยอม
นำที่ดินตกเป็นภาระจำยอมแล้วขายทอดตลาด
สาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นตกอยู่ในภาระจำยอม
อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป
การครอบครองปรปักษ์สิ้นสุดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่?
เจ้าของใหม่รับโอนมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
สาธารณูปโภคที่ดินแบ่งขายเป็นภาระจำยอม
พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการถือวิสาสะในการใช้ทาง
ให้ใช้ทางเอื้ออารีเป็นการถือวิสาสะคุ้นเคยกัน
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
ใช้ทาง 50 ปีก็ไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
โจทก์ไม่มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็น