ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

 

บิดารับราชการไม่สะดวกให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า

บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
ในคดีนี้ศาลเห็นว่า บิดา และมารดา ต่างก็มีความสามารถที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ แต่การที่บิดารับราชการครูย่อมไม่สะดวกในการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เพราะบิดามีเวลาเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น ส่วนมารดาอยู่ใกล้ชิดกับบุตรผู้เยาว์มาตั้งแต่คลอด บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาย่อมจะได้รับความอบอุ่นมากกว่า แม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่มารดา แต่กฎหมายรับรองให้บิดามีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3035/2533

บิดา         โจทก์
มารดา      จำเลย

          โจทก์จำเลยต่างสามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ แต่การให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์เป็นการไม่สะดวก เพราะโจทก์กลับบ้านได้เฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนการให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่าเพราะอยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ และแม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์มีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ในนี้ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
 
มาตรา 1521  ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภรรยาโดยจดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 1 คน
จำเลยได้พาบุตรไปอยู่กับมารดาโดยจงใจทิ้งร้างโจทก์ จนบัดนี้เกินกว่า 1 ปีแล้ว ทั้งจำเลยเคยฟ้องหย่าโจทก์ จึงขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยา และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ โดยให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน

          จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมิได้ทิ้งร้างโจทก์ เหตุที่จำเลยไปอยู่กับมารดาเพราะถูกโจทก์ทำร้ายทุบตี จำเลยมีเวลาพอที่จะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าโจทก์ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 62/2528 ของศาลชั้นต้น เพราะเหตุอย่างเดียวกัน ขอให้ยกฟ้องโจทก์ และให้จำเลยแต่ผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ กับให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้จำเลยเดือนละ 1,000 บาท จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง และแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่เคยทุบตีจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้น จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จำเลยไม่มีอำนาจขอเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ โจทก์สามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ดีกว่าจำเลย

          ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้นหรือไม่  2. จำเลยทิ้งร้างโจทก์ไปกว่า 1 ปี เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าหรือไม่และ  3. เมื่อหย่าแล้วใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และบุตรจะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละเท่าไร   ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความสละประเด็นข้อพิพาทข้อ 2 และตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันโดยจะไปจดทะเบียนหย่าภายหลังศาลพิพากษาในกำหนด 7 วัน และติดใจสืบพยานเฉพาะประเด็นข้อที่ 3 เท่านั้น

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้น เพราะอ้างเหตุคนละเหตุเมื่อหย่ากันแล้วให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ให้จำเลยได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์เดือนละ 1,000 บาท จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่จำเลยเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ
       
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
     โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาแรกโจทก์ฎีกาว่า โจทก์หรือจำเลยควรเป็นผู้ปกครองเด็กชายไกรภพ  บุตรผู้เยาว์ เห็นว่าโจทก์เป็นอาจารย์ 1 ระดับ 3 เงินเดือนขณะนั้น 3,325 บาท บิดาเป็นข้าราชการบำนาญ มีนา 400 ไร่ ส่วนจำเลยจบการศึกษาประถมปีที่ 4 มีนา 30 ไร่ ทำร่วมกับบิดามารดาอีก 80 ไร่ แม้โจทก์มีฐานะดีกว่าจำเลยมากก็ตามแต่โจทก์อาศัยอยู่บ้านพักครู กลางวันต้องไปสอนวันเสาร์-อาทิตย์จึงได้กลับบ้าน การที่จะให้เด็กชายไกรภพบุตรผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 3 ขวบ อยู่กับโจทก์ย่อมไม่สะดวก แม้ว่าจะหาผู้มาเลี้ยงหรือส่งบุตรผู้เยาว์อยู่ในโรงเรียนอนุบาลก็ตาม ความอบอุ่นที่บุตรผู้เยาว์ได้รับจากมารดามีมากกว่าเพราะมารดาอยู่ใกล้ชิดกับบุตรผู้เยาว์ตลอดเวลานับแต่คลอด จำเลยก็มิได้ยากจนถึงขนาดที่จะเลี้ยงดูและให้การศึกษาบุตรผู้เยาว์ไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์ที่จะให้บุตรผู้เยาว์ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีก็ทำได้ เพราะแม้อำนาจการปกครองจะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์ยังมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย  โจทก์ฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า ฟ้องแย้งของจำเลยคดีนี้ฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้นซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว  เห็นว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ในคดีนี้ได้  ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน.
 
 ( พนม พ่วงภิญโญ - จองทรัพย์ เที่ยงธรรม - อุดม มั่งมีดี )
 
 
มาตรา 1566  บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

มาตรา 1584/1  บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
         
 

 ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

 

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส