
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่ ปี 2545 โจทก์ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ปี 2547 โจทก์ฟ้องหย่าอ้างเหตุเดียวกัน ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นโจทก์และจำเลยได้กลับมาอยู่ด้วยกันแล้วสมัครใจแยกกันอยู่อีกก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ดังนั้นมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าทั้งในคดีก่อนและในคดีนี้จึงเป็นมูลเหตุเรื่องเดียวกัน เหตุฟ้องหย่าในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ป.พ.พ. จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่โจทก์เป็นฝ่ายให้จำเลยไปอยู่กับบิดามารดาของจำเลยเพื่อให้ช่วยในการดูแลบุตรผู้เยาว์ เนื่องจากโจทก์เป็นนักบิน ไม่มีเวลาช่วยดูแลบุตร แต่จำเลยกลับนำเวลาดังกล่าวไปหาหญิงอื่นและคิดเป็นอุบายในการฟ้องหย่ากับจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอคุ้มครองชั่วคราวโดยขอขายบ้านที่อยู่กินกับจำเลย แต่ศาลไม่อนุญาต โจทก์จึงแอบขายบ้านหลังดังกล่าวไปโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าโจทก์ไม่มีภริยา ทำให้จำเลยไม่สามารถกลับไปอยู่อาศัยที่บ้านหลังดังกล่าวได้ จำเลยจึงฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการโอนและดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนในคดีที่โจทก์ฟ้องหย่านั้น จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีอยู่ระหว่างการฎีกา จำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มาโดยตลอด ส่วนโจทก์ไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เลย ซึ่งจำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่โจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1121/2545 ของศาลชั้นต้น ซึ่งยังอยู่ในระหว่างระยะเวลายื่นฎีกา โดยโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไว้ ถ้าหากโจทก์ไม่ยื่นฎีกา คดีนี้ก็จะเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 หรือไม่ และโจทก์แถลงว่าติดใจในประเด็นที่ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเพียงประเด็นเดียวว่า คดีมีเหตุหย่าเพราะโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า 3 ปี หรือไม่ ส่วนประเด็นอื่นนั้น ฝ่ายโจทก์ไม่ติดใจที่จะขอให้ศาลวินิจฉัย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 ของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากันโดยอ้างเหตุหย่าในคดีดังกล่าวว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เหตุหย่าตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ว่า โจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีเป็นฟ้องซ้อนในเหตุหย่าเดียวกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำแถลงรับของคู่ความตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 26 กันยายน 2549 ว่า คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 ของศาลชั้นต้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาในคดีนี้โจทก์ขอสละประเด็นอื่นคงเหลือประเด็นที่ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี เห็นว่า มูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าตามที่โจทก์อ้างในคดีก่อนเกิดเมื่อประมาณปลายปี 2539 ในคดีนี้โจทก์ก็อ้างว่ามูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าเกิดเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2539 อันเป็นช่วงปลายปี 2539 เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นโจทก์และจำเลยได้กลับมาอยู่ด้วยกันแล้วสมัครใจแยกกันอยู่อีกก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ดังนั้นมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าทั้งในคดีก่อนและในคดีนี้จึงเป็นมูลเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าในคดีก่อนแล้ว เหตุฟ้องหย่าในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น”
ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้
ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง
|