ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

 

สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?

ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นคดีนี้ เพราะโจทก์และจำเลยยังไม่ได้หย่าขาดจากกันถูกต้องหรือไม่? โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นสามีภริยากันมีบุตรด้วยกัน 2 คน จำเลยขอไปเช่าอพาร์ตเมนต์โดยอ้างว่าเลิกงานดึกจำเลยขาดการติดต่อและไม่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันเดือนละ 30,000 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์และจำเลยมีเรื่องทะเลาะกัน และบิดาโจทก์ได้ทำร้ายร่างกายจำเลย โจทก์และจำเลยจึงตกลงแยกกันอยู่ จำเลยมีรายรับและหนี้สินที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ โจทก์เป็นผู้มีฐานะทางการเงินและฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าจำเลยมากสามารถอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นคดีนี้ เพราะโจทก์และจำเลยยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์เดือนละ 15,000 บาท ต่อคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1568/2552

          ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์...” บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธมิได้ ส่วนการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1598/38 ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีเมื่อศาลเชื่อว่าโจทก์และจำเลยก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และแบ่งความรับผิดให้จำเลยชำระค่าอุปการระเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เท่ากับคนละ 7,500 บาทต่อเดือนนั้นจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณี

          ส่วนข้ออ้างว่าจำเลยยกส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอีกนั้น กรณีแบ่งสินสมรสเป็นคนละส่วนกับหน้าที่ของจำเลยในฐานะบิดาที่จำต้องอปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดได้
 
มาตรา 1564  บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้

มาตรา 1598/38  ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ เด็กชายภัทรภณ อายุ 12 ปี และเด็กหญิงภัทรลภา อายุ 7 ปี อยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่ 1620 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เมื่อต้นปี 2552 จำเลยขอไปเช่าอพาร์ตเมนต์อยู่ใกล้กับวิทยาลัยนอร์ธ ซึ่งจำเลยสอนหนังสืออยู่ในขณะนั้น โดยอ้างว่าเลิกงานดึก หลังจากนั้นจำเลยขาดการติดต่อกับโจทก์และไม่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์มีรายได้จากค่าเช่าอาคารชุดเดือนละ 20,000 บาท ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว เด็กชายภัทรภณเรียนอยู่ในโรงเรียนเซนต์จอห์นค่าเรียนเทอมละ  38,000 บาท ส่วนเด็กหญิงภัทรลภาเรียนอยู่โรงเรียนอนุบาลดาราทร ค่าเรียนเทอมละ 15,000 บาท และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นอีก ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะหรือสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาหรือเทียบเท่าหรือชั้นสูงสุด

          จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า เมื่อปี 2542 โจทก์และจำเลยมีเรื่องทะเลาะกัน และบิดาโจทก์ได้ทำร้ายร่างกายจำเลย โจทก์และจำเลยจึงตกลงแยกกันอยู่โดยได้ทำหนังสือเรื่องทรัพย์สินระหว่างสมรสไว้ด้วย ที่โจทก์อ้างว่ามีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์มีรายได้จากการให้เช่าห้องอาคารชุดจำนวน 14 ห้อง เดือนละประมาณ 60,000 บาท และรายได้จากการประกอบธุรกิจบริษัทอโกรอุตสาหกรรมไทย - ญี่ปุ่น จำกัด เดือนละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท รวมแล้วโจทก์มีรายได้เดือนละประมาณ 110,000 บาท ส่วนจำเลยมีรายได้จากการเป็นอาจารย์วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เดือนละ 19,679 บาท มีภาระค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินจำนวนมาก ไม่อยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ โจทก์เป็นผู้มีฐานะทางการเงินและฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าจำเลยมากสามารถอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้จากค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นคดีนี้ เพราะโจทก์และจำเลยยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์เดือนละ 15,000 บาท ต่อคน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะ ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์เดือนละ 7,500 บาทต่อบุตรผู้เยาว์แต่ละคน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นผับ

          โจทก์และจำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่าจำเลยและโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรผู้เยาว์ 2 คน คือเด็กชายภัทรภณ และเด็กหญิงภัทรลภา จำเลยแยกอยู่กับโจทก์ตั้งแต่ปี 2542 บุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่กับโจทก์ตลอดมา คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่าจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดหรือไม่ต้องชำระ โจทก์ฎีกาว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาเดือนละ 30,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์อ้างบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มาตัดทอนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เป็นการไม่ชอบ ส่วนจำเลยฎีกาว่า จำเลยมีรายจ่ายและหนี้สินมากกว่ารายรับและได้ยกรายได้จากสินสมรสในส่วนของจำเลยให้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ในข้อนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์...” บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธมิได้ ส่วนการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1598/38 ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ข้อเท็จจริงได้ความตามข้อนำสืบของโจทก์และจำเลยว่า ต่างฝ่ายต่างมีรายรับและรายจ่ายของตนเองโดยโจทก์มีรายรับจากค่าเช่าห้องในอาคารชุดเดือนละประมาณ 28,000 ถึง 30,000 บาท แต่มีรายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง โดยเด็กชายภัทรภณเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซ็นต์จอห์นเสียค่าเล่าเรียนปีละ 2 เทอม เทอมละ 35,000 ถึง 38,000 บาท และค่ากิจกรรมพิเศษเฉลี่ยแล้วเทอมละประมาณ 45,000 บาท ส่วนเด็กหญิงภัทรลภาเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 โรงเรียนดาราทรเสียค่าเล่าเรียนปีละ 3 เทอม เทอมละ 12,000 บาท และค่ากิจการพิเศษเฉลี่ยแล้วเทอมละประมาณ 10,000 บาท และโจทก์ยังต้องเลี้ยงดูบิดามารดาอีกด้วย ส่วนจำเลยมีรายได้จากการเป็นอาจารย์สอนหนังสือเดือนนะ 19,679 บาท และมีรายได้จากการสอนพิเศษเดือนละประมาณ 3,000 บาท ถึง 4,000 บาท แต่มีรายจ่ายส่วนตัวเดือนละ 5,000 บาท ค่าเช่าที่พักรวมค่าน้ำค่าไฟเดือนละประมาณ 4,800 บาท ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาเดือนละประมาณ 2,000 บาท และมีหนี้สินประมาณ 1,000,000 บาท เห็นว่า ค่าใช้จ่ายในส่วนของจำเลยเกิดจากจำเลยแยกไปอยู่ต่างหากเอง และหนี้สินที่จำเลยก่อขึ้นก็ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เมื่อพิจารณาใบแจ้งยอดบัญชีแล้ว จะเห็นว่าจำเลยสามารถผ่อนชำระหนี้เงินกู้ตามเอกสารดังกล่าวในฉบับแรกชำระไปแล้ว 33 งวด งวดละ 6,298.80 บาท ในฉบับที่สองชำระไปแล้ว 10 งวด งวดละ 9,237.94 บาท จึงน่าเชื่อว่าจำเลยมีรายได้มากกว่าที่อ้างค่อนข้างมาก สำหรับโจทก์แม้จำต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง แต่ยังมีรายได้จากค่าเช่าห้องในอาคารชุดพอนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ ทั้งนี้แม้โจทก์และจำเลยจะมีภาระในการอุปการะเลี้ยงดูบุพการีด้วยก็ตามแต่ก็เชื่อว่าโจทก์และจำเลยต่างก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ที่ศาลอุทธรณ์แบ่งความรับผิดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เท่ากับคนละ 7,500 บาทต่อเดือนนั้น จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว ส่วนที่จำเลยอ้างว่า ค่าเช่าห้องในอาคารชุดเป็นดอกผลของสินสมรส เมื่อจำเลยมอบให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง เท่ากับจำเลยได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว เห็นว่า ส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยเป็นเหตุคนละส่วนกับหน้าที่ของจำเลยในฐานะบิดาที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมายจำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์และจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยในข้ออื่นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยอันเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 
( พิษณุ ดำรงเกียรติวัฒนา - ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล - สิริรัตน์ จันทรา )
 
 

ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

 

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส