ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont          

 

ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ 

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้เป็นกรณีเฉพาะ เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกันแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างก็ตาม ทั้งมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3494/2547

โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกันกับให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกันโดยให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว แต่ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเช่นนี้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอเพราะกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1522 ที่บัญญัติว่ากรณีหย่าโดยคำพิพากษาให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน กับให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว

     จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
     ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว แต่ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองในอัตราเดือนละคนละ 4,000 บาท นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาจนกว่าผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

         จำเลยฎีกา
        ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากันมาตั้งแต่ปี 2530 มีบุตรแฝดด้วยกัน 2 คน โดยวิธีผสมเทียม ปัจจุบันบุตรทั้งสองมีอายุ 8 ปีเศษ ระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภริยาในเดือนเมษายน 2537 โจทก์ไปบวชเป็นพระภิกษุ ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2540 โจทก์ลาสิกขามาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยและกลับไปบวชอีก ครั้นต่อมาวันที่ 30 พฤษภาคม 2542 จำเลยกับสิบตำรวจโทไพบูลย์ ได้เข้าพิธีแต่งงานกันและได้อยู่กินกันฉันสามีภริยา ในขณะที่โจทก์ยังเป็นสามีของจำเลยอยู่ แม้โจทก์จะไปร่วมงานในพิธีแต่งงานด้วย แต่โจทก์ก็อ้างว่าถูกข่มขู่และจำเลยยินยอมที่จะคืนหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับที่ดินทั้งเจ็ดฉบับให้โจทก์ซึ่งเป็นเหตุที่โจทก์ต้องยินยอมไปร่วมพิธีแต่งงานของจำเลยกับสิบตำรวจโทไพบูลย์ พฤติการณ์ที่จำเลยพยายามถ่ายโอนทรัพย์สินหลายรายการไปจากโจทก์ และอยู่กินฉันสามีภริยากับสิบตำรวจโทไพบูลย์โดยเปิดเผยในระหว่างที่จำเลยยังคงเป็นภริยาโจทก์ และการที่จำเลยมิได้ดูแลเอาใจใส่โจทก์เท่าที่ควรในขณะที่โจทก์อุปสมบทเป็นภิกษุ ล้วนเป็นการทำการปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง และมิได้ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้ ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาว่า คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ ศาลล่างทั้งสองจึงไม่มีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้นั้น เห็นว่าบิดาและมารดา มีหน้าที่จักต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของทั้งบิดาและมารดาที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน แม้ต่อมาการสมรสระหว่างบิดามารดาในฐานะสามีภริยาจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งบิดาและมารดาต่างก็ยังคงมีหน้าที่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อยู่ ซึ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติ อีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายได้ตามมาตรา 1598/38 นอกจากนี้กรณีที่การสมรสระหว่างบิดามารดาสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยการหย่าหรือโดยคำพิพากษาของศาลก็ดี มาตรา 1522 บัญญัติว่า ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอมให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่า สามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด และถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ให้ศาลเป็นผู้กำหนดซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้เป็นกรณีเฉพาะ เมื่อศาลพิพากษาให้หย่าหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ ดังนั้น เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกันแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างก็ตาม ทั้งมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ เมื่อได้ความจากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่นำสืบมาว่า โจทก์เป็นผู้มีทรัพย์สินและมีรายได้จากค่าเช่าทรัพย์สินเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ ส่วนจำเลยมีรายได้จากการค้าขายเพียงเล็กน้อย ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 4,000 บาท ต่อคน จึงเหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
       มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอมให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร แก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้

มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตรนั้น ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะ เลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่ เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี
 

 

ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส