ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont            

 

รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า 

ถ้าสามี หรือภริยาได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้นฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
สามีรับหญิงอื่นมาเป็นภรรยาโดยการรู้เห็นและยินยอมของภริยาและโดยภริยาเป็นเจ้าภาพให้สามีทำพิธีออกบ้านและเป็นผู้มอบเงิน 15,000 บาท เป็นค่าสินสอดให้แก่หญิงอื่นนั้นด้วย หลังจากนั้นสามี ภริยาและหญิงอื่นนั้นอาศัยอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ดังนั้นภริยา จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2540
 
ตามประเด็นแรกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าโจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางย.เป็นภรรยาหรือไม่อันจะนำมาพิจารณาเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(1)ประเด็นดังกล่าวโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งได้มีการสืบพยานเสร็จแล้วประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้แต่แรกดังกล่าวจึงชอบแล้วการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นขึ้นใหม่ว่าโจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516 หรือไม่ประเด็นที่กำหนดใหม่นี้ได้รวมถึงเหตุหย่าทุกข้อตามมาตรา1516 และครอบคลุมไปถึงประเด็นเดิมด้วยทั้งจำเลยก็ได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปตามประเด็นที่กำหนดไว้จากข้อเท็จจริงในสำนวนโดยโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไรคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภรรยากันจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายขณะที่อยู่กินฉันสามีภรรยามีบุตรด้วยกัน 4 คนและมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2528 จำเลยได้อุปการะเลี้ยงดูนางสาวเหยอะ แซ่สง เป็นภรรยา และนำมาอาศัยอยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับโจทก์และจำเลย หลังจากนั้นจำเลยและนางสาวเหยอะได้หาเหตุทะเลาะและด่าว่าโจทก์หลายครั้ง โจทก์ต้องหนีออกจากบ้านไปถึง 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 นางสาวเหยอะได้หาเรื่องทะเลาะกับโจทก์และใช้มีดไล่ฟันโจทก์จนต้องหลบหนีออกจากบ้านและต่อมาได้ไปอาศัยอยู่กับมารดาของโจทก์ โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยต่อไป ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยให้แบ่งสินสมรสแก่โจทก์เป็นเงิน 50,500 บาท และให้จำเลยแบ่งที่ดินที่ทางราชการกรมประชาสงเคราะห์อนุญาตให้ทำกินแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งเนื้อที่ 8 ไร่ กับให้โจทก์เป็นผู้ปกครองบุตรทั้งสี่คนแต่เพียงผู้เดียว

จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 4 คน สินสมรสที่ทำมาหาได้ร่วมกันมีบ้าน1 หลัง ราคาเพียง 4,000 บาท ไร่ปลูกข้าวโพดอ่อนเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ราคาไม่เกิน 300 บาท ไร่ปลูกแครอทเนื้อที่ 2 งานราคา 3,000 บาท ไร่ปลูกขิงเนื้อที่ 1 ไร่ ราคา 5,000 บาท รวมสินสมรสเป็นเงิน 12,000 บาท เท่านั้น จำเลยรับนางเหยอะมาเป็นภรรยาโดยการรู้เห็นและยินยอมของโจทก์โดยโจทก์เป็นเจ้าภาพให้จำเลยทำพิธีออกบ้านและเป็นผู้มอบเงิน 15,000 บาท เป็นค่าสินสอดให้แก่นางเหยอะ หลังจากนั้นโจทก์จำเลยและนางเหยอะอาศัยอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน จำเลยมีบุตรกับนางเหยอะ 5 คน จำเลยไม่เคยด่าว่าโจทก์แต่โจทก์กับนางเหยอะเท่านั้นที่มีสาเหตุทะเลาะกัน โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับจากรู้ว่าจำเลยนำนางเหยอะมาเป็นภรรยา ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ให้เด็กหญิงยง แซ่เถา เด็กหญิงนิภา แซ่เถา เด็กหญิงวงเดือน แซ่เถา และเด็กชายวีระศักดิ์ แซ่เถา บุตรผู้เยาว์ของโจทก์กับจำเลยอยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว โดยให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทุกคนคนละ 300 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะให้จำเลยแบ่งสินสมรสแก่โจทก์จำนวนเงิน 7,500 บาท

จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

     โจทก์ ฎีกา
     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามฎีกาของโจทก์ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทข้อ (1) ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ครั้งแรก เป็นการพิพากษาไม่ตรงกับเหตุหย่าตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นขึ้นใหม่ให้ถูกต้องสมบูรณ์นั้น เห็นว่า ตามประเด็นแรกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่า"โจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางเหยอะ แซ่สง เป็นภรรยาหรือไม่" อันจะนำมาพิจารณาเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) ประเด็นดังกล่าวโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งได้มีการสืบพยานเสร็จแล้วประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้แต่แรกดังกล่าวจึงชอบแล้ว และการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นขึ้นใหม่ว่า "โจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 หรือไม่"ประเด็นดังกล่าวที่กำหนดใหม่นี้ได้รวมถึงเหตุหย่าทุกข้อตามมาตรา1516 และครอบคลุมไปถึงประเด็นเดิมด้วย อีกทั้งจำเลยก็ได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยไปตามประเด็นที่กำหนดไว้จากข้อเท็จจริงในสำนวนโดยโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2จึงชอบแล้ว

พิพากษายืน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1517 เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามี หรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้

เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีก ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตาม มาตรา 1516 (8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บน เป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจ คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏใน คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความ ทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่า ฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใด ที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐาน มาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้

ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบ คำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ใน ขณะนั้น

คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาล กำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือ ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็น ข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 226

 

 

ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส