ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont        

 

ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี 

การจะอ้างสมัครใจแยกกันอยู่ |   เหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว  สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าภริยาได้  แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543

เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน และพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลย

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลย

จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

ศาลชั้นต้นพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยใหม่แล้วพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดกับจำเลย

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาจดทะเบียนสมรสที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2505 มีบุตร 1 คนโจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องรวม 2 คดี ได้แก่

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2523 วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาแยกกับโจทก์หรือละทิ้งโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายหาทางแยกกับจำเลย เพราะจำเลยนำสืบได้ว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับนางสาวปิยะพรรณและส่งเสียให้นางสาวปิยะพรรณไปศึกษาในต่างประเทศ และโจทก์จะทำการสมรสกับนางสาวปิยะพรรณ

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2538 วินิจฉัยว่า จำเลยมิได้ประพฤติชั่วและมิได้กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง

ส่วนจำเลยได้ฟ้องนางดารัตน์ วิภาตะกลัศ เรียกค่าทดแทนเนื่องจากนางดารัตน์แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับโจทก์ในคดีนี้ตั้งแต่ปี 2523 โดยโจทก์มิได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2539 ให้นางดารัตน์ชำระเงิน200,000 บาท แก่จำเลยในคดีนี้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ

ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทอ้างว่าจำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนางดารัตน์ โดยเจตนาใส่ความโจทก์หลายเรื่อง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นของโจทก์ตามคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ 2085/2539 นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท โดยกล่าวหาว่าจำเลยกล่าวข้อความเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อหน้าบุคคลหลายคนว่า โจทก์จบดอกเตอร์เพราะจำเลยส่งเสีย พอจบกลับมาไล่เตะลูกเมีย ทิ้งลูกเมียไปหาเมียใหม่ เมียคนแรกถูกหลอกเกือบหมดตัว พอคนที่สองก็ถูกหลอกเกลี้ยงตัว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 500บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี โจทก์จึงนำข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมาฟ้องหย่าจำเลยเป็นครั้งที่สาม ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดงที่ ค. 18/2536

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า3 ปี หรือไม่ เห็นว่า เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ

1. เหตุฟ้องหย่า ที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงต้องกล่าวอ้างว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการเข้าเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด ดังที่ปรากฏในมาตรา 1516 นอกจากมาตรา 1516(4/2)

2. เหตุฟ้องหย่า ที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายดังที่ปรากฏในมาตรา 1516(4/2)

ทั้งนี้ เหตุฟ้องหย่าอันเนื่องจากกรณีที่ 1 นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควร หรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา (4/2)ส่วนเหตุฟ้องหย่าอันเกี่ยวจากกรณีที่ 2 ก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นหากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกันและไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

เมื่อต้นเหตุแห่งการฟ้องหย่าในคดีนี้ เกิดจากความพยายามของโจทก์ที่ต้องการหย่าขาดจากจำเลยตลอดมานับตั้งแต่โจทก์เรียนจบปริญญาเอกกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่โจทก์ก็มิอาจที่จะหย่าขาดจากจำเลยได้ เพราะศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องถึง 2 ครั้งนอกจากนี้ ยังฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท และนำข้อเท็จจริงจากคดีดังกล่าวมาฟ้องหย่าจำเลยด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องอีก เห็นได้ว่า แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้งหลายครารวมทั้งในคดีนี้ก็ต้องย้อนกลับมาที่ศาลฎีกาถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใดรวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2523 และในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2539 จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียน และเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องข้อ 2.1 และ 2.2 ว่า เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้น แม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามี อันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรม เพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นกรณีหมิ่นประมาท จริงอยู่สำนักราชเลขาธิการมิใช่เป็นหน่วยงานที่จำเลยพึงร้องเรียนโดยตรง แต่มีเหตุที่อาจทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่า สมควรที่จะต้องร้องขอความเป็นธรรมต่อสำนักราชเลขาธิการด้วย เพราะเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดของจังหวัดว่ามีความเหมาะสมเพียงใดหรือไม่ที่จะให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดของจังหวัดนั้น

กล่าวโดยสรุป ข้อเท็จจริงตามหนังสือชี้แจงและคำเบิกความของจำเลยในทุกประเด็นตามข้อ 2.1 และ 2.2 ที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เพราะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังนั้น เห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) นอกจากนี้พฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2)แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาเมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ ทั้งน่าจะเป็นบทเรียนให้โจทก์จำเลยได้คิดใคร่ครวญและทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ว่า โจทก์จำเลยได้ร่วมในชะตากรรมอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มาเนิ่นนานเกินควรแล้ว สมควรที่จะได้ยุติความบาดหมางทั้งสิ้นทั้งปวงเพื่อบุตรที่โจทก์จำเลยมีอยู่เพียงคนเดียวซึ่งต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างบิดามารดา ทั้งที่บุตรมิได้ร่วมก่อขึ้นเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่

 

การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจของกฎหมาย

การที่นายจ้างจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิแก่นายจ้างเรียกเอาเงินทดแทนที่จ่ายไปนั้นคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจึงไม่อาจอ้างการรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายไปคืนได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2554) การรับช่วงสิทธิจะมีได้จึงต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้รับช่วงสิทธิได้

 

ออกเช็คไม่ลงวันที่ไม่มีความผิดทางอาญา?

ถือได้ว่าเช็คดังกล่าวไม่มีวันที่ออกเช็คและวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด การที่ภริยานำเช็คมาสลักหลังและเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายเองตามที่ภริยาตกลงกับผู้รับเช็ค(ผู้ทรง)ในภายหลังก็เป็นเพียงแต่ให้เช็คมีรายการต่างๆ สมบูรณ์ตามกฎหมายเพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้ผู้ออกเช็คมีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2554)

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส