ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont        

ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน 

สามีภรรยาทำพิธีแต่งงานกันตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กินด้วยกันแล้ว แม้จะมีเรื่องทะเลาะกันรุนแรงเพียงใด หากมิใช่เป็นเรื่องร้ายแรงถึงขนาดแล้วย่อมที่จะให้อภัยโดยต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันได้  สาเหตุที่ทะเลาะกันเป็นสาเหตุเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไปจึงมิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจระหว่างกันได้  สามีไปอยู่ที่บ้านตนเองโดยไม่ยอมกลับไปหาภริยา สามีมิได้ขวนขวายที่จะชักชวนให้ภริยาไปอยู่ด้วย ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าภริยาจงใจละทิ้งร้าง สามีจึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า  กรณีที่ฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากฝ่ายหญิงได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของฝ่ายหญิง  เมื่อปรากฏว่า ทั้งสองได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว สามีจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากภริยาได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2542

การที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและ ค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรส โดยเป็น ความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคือจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณี จำเลยผิดสัญญาหมั้น โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กิน ด้วยกันแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกัน เป็นเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั่วไป มิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจ ระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวน ของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ แต่ก็อ้างว่าจะต้องซักผ้าและ ทำธุระส่วนตัว หากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดา เป็นบางครั้ง โจทก์ก็อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลย และเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวาย ที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย ให้จำเลยส่งใบสำคัญการสมรสที่จำเลยถือไว้ 2 ฉบับ คืนโจทก์ 1 ฉบับ ให้จำเลยใช้เงินค่าสินสอดทองหมั้น 20,000 บาท และเงินที่ใช้จ่ายในการแต่งงาน 3,000 บาท แก่โจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทิ้งร้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าสินสอดและเงินใช้จ่ายในงานแต่งงาน ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้เงินค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายในการแต่งงานหรือไม่ จำเลย (ที่ถูกน่าจะเป็นโจทก์) ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าสินสอดทองหมั้นและเงินที่ใช้จ่ายไปในการแต่งงานนั้นไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2540 และได้บรรยายฟ้องไว้ในข้อ 3 ว่า โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยโจทก์จ่ายเงินค่าสินสอดทองหมั้นเป็นเงิน 20,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการแต่งงานอีกเป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงินที่ใช้จ่ายในการแต่งงาน 23,000 บาท ฯลฯ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยพฤติการณ์ตามฟ้องข้อ 1 ถึงข้อ 4 มาแล้ว ในคดีหมายเลขแดงที่ 91/2540 ของศาลนี้ ขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์จึงจะมาฟ้องโดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวอีกไม่ได้เพราะเป็นฟ้องซ้อน จึงไม่รับฟ้องในข้อ 1 ถึงข้อ 4 ส่วนฟ้องโจทก์ตามข้อ 5 เป็นเหตุฟ้องหย่าที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์อ้างเหตุดังกล่าวฟ้องหย่าจำเลยได้ แต่เนื่องจากฟ้องโจทก์ฟุ่มเฟือยเกินไปอ่านไม่เข้าใจ ให้โจทก์ทำคำฟ้องโดยอ้างเหตุเฉพาะข้อ 5 มายื่นต่อศาลใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งคำฟ้อง โจทก์จึงทำคำฟ้องลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2540ยื่นเข้ามาใหม่โดยนำเหตุฟ้องหย่าตามข้อ 5 มาขยายความและตัดฟ้องโจทก์ข้อ 3 ในส่วนการบรรยายเรื่องค่าสินสอดทองหมั้นและเงินที่ใช้จ่ายในการแต่งงานไปตามคำสั่งศาล แต่ยังคงคำขอให้จำเลยชดใช้เงินค่าสินสอดทองหมั้น 20,000 บาท และเงินที่ใช้จ่ายไปในการแต่งงาน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 23,000 บาท ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ดังนั้น ในการแปลคำฟ้อง โจทก์จึงจำต้องอ่านคำฟ้องเดิมและคำฟ้องใหม่ของโจทก์ประกอบกัน เมื่อโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องค่าสินสอดทองหมั้นและเงินค่าใช้จ่ายในการแต่งงานไว้ในฟ้องเดิมข้อ 3 แล้ว จึงเป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น อย่างไรก็ตาม กรณีที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 วรรคสาม, 1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของโจทก์และจำเลยว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณีจำเลยผิดสัญญาหมั้นตามบทกฎหมายดังกล่าว

ปัญหาวินิจฉัยต่อไปมีว่า จำเลยละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน 1 ปีอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้หรือไม่นั้น โจทก์และจำเลยเบิกความยันกันอยู่ฟังไม่ได้ข้อยุติว่าการที่โจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่อาศัยอยู่กินร่วมกันนั้นเกิดจากการที่จำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้านหรือเกิดจากการที่โจทก์ไปพักอาศัยที่บ้านสวนเพื่อความสะดวกในการไปทำงานของโจทก์กันแน่ แต่เมื่อพิเคราะห์คำเบิกความของโจทก์โดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภรรยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กินด้วยกันแล้ว โดยเหตุผลแม้จะมีเรื่องทะเลาะกันรุนแรงเพียงใด หากมิใช่เป็นเรื่องร้ายแรงถึงขนาดแล้วย่อมที่จะให้อภัยโดยต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันได้ ทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า สาเหตุที่ทะเลาะกันเป็นสาเหตุเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไปจึงมิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวนของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ก็ตาม โดยอ้างเหตุผลว่าจะต้องซักผ้าและทำธุระส่วนตัวเท่านั้น และหากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดาเป็นบางครั้ง ซึ่งโจทก์อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลยและเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวายที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์ดังอ้าง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่าคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์ สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง


สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้ บังคับโยอนุโลม

มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส


ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

 

ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส