ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont           

ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส 

เมื่อมีการหย่า ก็ต้องจัดการแบ่งสินสมรส เมื่อโจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส จำเลยมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องได้เพื่อให้การแบ่งสินสมรสสิ้นสุดลงพร้อมการสิ้นสุดแห่งการสมรส ในการจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตราคู่สมรสมีอำนาจจัดการได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งแต่หากเป็นที่เสียหายแก่สินสมรส ฝ่ายที่เสียหายขอให้ชดใช้ได้

                            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2545 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยแล้ว จำเลยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องก็ตามทั้งนี้เพื่อให้ปัญหาการแบ่งสินสมรสเป็นอันยุติไปพร้อมกับการสิ้นสุดแห่งการสมรส

โจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2536 ตลอดมาจนถึงวันฟ้องหย่าแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่ สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยมีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปโดยเฉพาะเจาะจงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือตามที่มีอยู่ในวันฟ้อง จึงชอบแล้ว

รายได้จากร้านเสริมสวยจำนวน 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องเงินจำนวนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาทมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบกรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่ได้รับชำระคืนจากผู้ยืม

เงิน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้ว ย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมาจึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก

โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว 200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวย จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1

ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคท้าย ว่าเงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วยที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง

เงินฝากในบัญชีธนาคารมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใดจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับคงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวจำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดินรถยนต์และคอนโดมิเนียม คงเหลือเงินในบัญชีเพียง 39,169.08บาท เท่านั้นจำเลยมิได้โต้แย้งว่า เงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใดเมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยโดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่โต้แย้งคัดค้านจะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 2พฤศจิกายน 2533 ไม่มีบุตรด้วยกัน พักอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 295/43 โดยมีบุตรของโจทก์ที่เกิดจากสามีเดิม 3 คน พักอาศัยอยู่ด้วย ระหว่างอยู่ด้วยกันจำเลยประพฤติตนไม่เหมาะสมหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับโจทก์ ด่าว่าข่มขู่บุตรของโจทก์ให้หวาดระแวงว่าจะได้รับอันตราย จำเลยไม่ประกอบอาชีพ ไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และไม่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ค่าใช้จ่ายจึงเป็นภาระของโจทก์เพียงผู้เดียว เมื่อต้นปีและปลายปี 2535 จำเลยทุบตีทำร้ายบุตรของโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ ทำให้โจทก์และบุตรเกรงกลัวว่าจะได้รับอันตรายต้องออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ครั้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2536 จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ด้วยการลากโจทก์ลงบันไดจากชั้นสองของบ้าน ทำให้โจทก์ตกบันไดประมาณ 8 ขั้นจำเลยยังลากโจทก์ไปที่ห้องรับแขก กดให้โจทก์นอนราบ จับมือโจทก์ไขว้หลังใช้หัวเข่ากดหลังโจทก์ไว้เป็นเวลานาน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บปากแตก แก้มบวมช้ำ หน้าอกช้ำและห้อเลือด แขนและนิ้วเป็นแผล หัวเข่าแตก โจทก์ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลการกระทำของจำเลยเป็นการประพฤติชั่ว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควร เป็นการทำร้ายทรมานร่างกายและจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงและไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์ไม่สามารถจะทนฝืนใจอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีกต่อไปได้ ระหว่างเป็นสามีภริยากันมีสินสมรสคือ

1. ที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 เนื้อที่ 13 ตารางวา มีชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 262/51 ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท จำนองไว้แก่ธนาคารกรุงเทพจำกัด ในวงเงิน 700,000 บาท

2. ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 เนื้อที่ 2 ไร่ 3งาน 30 ตารางวา มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ราคาประมาณ 200,000 บาท

3. ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 เนื้อที่ 17 ตารางวา มีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 81/42 หมู่ที่ 6 ราคาประมาณ 2,000,000 บาท จำนองไว้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขานนทบุรี วงเงิน 1,400,000 บาท

4. ห้องชุดของบริษัทสงวนพัฒนากิจก่อสร้าง จำกัด อาคาร เอ ชั้นที่ 2 ห้องเลขที่27, 28, 31 และ 32 บนโฉนดที่ดินเลขที่ 28439 ถึง 28442 ราคาห้องละ 300,000 บาทรวมเป็นเงิน 1,200,000 บาท มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำกัด และธนาคารทหารไทย จำกัด ในวงเงินห้องละ 275,000 บาท

5. รถยนต์หมายเลขทะเบียน 6ว-3065 กรุงเทพมหานคร ราคาประมาณ 500,000บาท มีชื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จำกัด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยเป็นผู้ใช้สิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ และผ่อนชำระค่าเช่าซื้องวดละ 13,995 บาท

6. เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขานนทบุรี บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 218103508 3 จำนวนเงิน 15,259.18 บาท และบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 2182 22645 1จำนวนเงิน 238,335.41 บาท มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบัญชี

7. เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 033 303613 4 จำนวนเงินประมาณ 50,000 บาท มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบัญชี

สินสมรสดังกล่าวคิดเป็นเงินรวม 5,703,594.59 บาท โจทก์มีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่งเป็นเงินประมาณ 2,851,797.30 บาท กับแบ่งความรับผิดในหนี้สินกึ่งหนึ่งเช่นกัน ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ให้แบ่งสินสมรสแก่โจทก์และจำเลยในอัตราส่วนเท่ากันคนละ 2,851,797.30 บาท กับแบ่งความรับผิดในหนี้สินต่าง ๆ ของสินสมรสในอัตราส่วนเท่ากัน

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ตั้งแต่ปี 2531ต่อมาจึงได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 ระหว่างอยู่กินด้วยกันจำเลยประพฤติตัวเป็นสามีที่ดี ให้ความรักอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรของโจทก์ตลอดมาจำเลยไม่เคยทุบตีบุตรของโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ เพียงแต่อบรมตักเตือนบุตรของโจทก์ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม แต่บุตรของโจทก์กลับด่าและจะทำร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้ไม้เรียวตีทำโทษไป 3 ที โดยไม่มีเจตนาทำร้าย การที่โจทก์พาบุตรไปพักอาศัยอยู่ที่อื่นเป็นความประสงค์ของโจทก์ไม่ใช่เพราะเกรงกลัวจำเลย สำหรับเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์นั้นไม่เป็นความจริงจำเลยเพียงต้องการดูบัญชีรายได้แต่โจทก์ไม่ยินยอมได้ด่าว่าและจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยจึงปัดป้องอันเป็นการป้องกันตัว โดยไม่มีเจตนาทำร้ายโจทก์ จำเลยไม่เคยทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรหรือประพฤติชั่ว จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายระหว่างอยู่กินด้วยกันตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสตลอดมา โจทก์และจำเลยมีทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้หลายประการคือ

1. ที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 262/51 รวมราคาทั้งสิ้นประมาณ 1,500,000 บาท

2. ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 ราคาประเมิน200,000 บาท

3. ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 เนื้อที่ 17 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างราคา1,780,000 บาท และจำเลยได้นำเงินสินส่วนตัวชำระเป็นค่าจองและเงินดาวน์เป็นเงิน530,000 บาท จึงเป็นราคาที่ดินสินสมรสเพียง 1,250,000 บาท

4. ห้องชุดเลขที่ 327/446, 327/447, 327/450 และ 327/451 ชั้น 2 อาคารเอตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 28412 ราคาห้องละ 275,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,100,000บาท จดทะเบียนจำนองสองห้องแรกแก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำกัดและสองห้องหลังแก่ธนาคารทหารไทย จำกัด ในวงเงิน 360,000 บาท จำเลยเป็นผู้ออกเงินสินส่วนตัวชำระค่ามัดจำและเงินดาวน์เป็นเงิน 181,200 บาท คงเหลือสินสมรส จำนวนเพียง 918,800 บาท

5. รถยนต์หมายเลขทะเบียน 6ว-3065 กรุงเทพมหานคร ราคาประมาณ 500,000บาท จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อโดยชำระค่าเช่าซื้องวดละ 13,995 บาท จึงเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนที่ได้ผ่อนชำระค่างวดและเงินดาวน์เป็นเงินประมาณ 300,000 บาท โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งจากราคารถทั้งคัน จำนวน 500,000 บาท

6. เงินรายได้จากร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครองที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน เป็นเงิน 1,000,000 บาท ซึ่งอยู่ที่โจทก์

7. ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 เนื้อที่ 15 ตารางวา มีชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์พร้อมสิ่งปลูกสร้าง คืออาคารเลขที่ 295/43 มีราคาประมาณ 1,500,000 บาท

8. เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางพลัด บัญชีเลขที่ 1840205346และ 1843025618 จำนวนเงิน 300,000 บาท และ 130,000 บาท ตามลำดับ มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชี

9. กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง ชั้นที่ 4 อาคารมาบุญครองเลขที่ 444 เช่าพื้นที่ดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 30 กันยายน2538 มีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าและประกอบการมีรายได้เดือนละประมาณ 300,000 บาทหากขายกิจการและสิทธิการเช่าจะได้ราคาไม่ต่ำกว่า 2,000,000 บาท

10. กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขาหลักสี่พลาซ่า ชั้นที่ 3 อาคารหลักสี่พลาซ่า เช่าพื้นที่ดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2534 ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2537เมื่อสิ้นสุดสัญญา ผู้ให้เช่ายินยอมต่อสัญญาเช่าอีก 3 ปี มีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าและจำเลยเป็นผู้ประกอบการ หากขายกิจการและสิทธิการเช่าจะได้ราคาไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท

สำหรับเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 033 3303613 4 และสาขานนทบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 2181 508 3 เป็นสินส่วนตัวของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่ง ส่วนเงินฝากธนาคารกสิกรไทย สาขานนทบุรีบัญชีประเภทออมทรัพย์เลขที่ 218 2 22655 1 เป็นเงินที่ได้ใช้จ่ายชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์และหนี้เงินกู้ที่โจทก์และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และใช้จ่ายในกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์สาขาหลักสี่พลาซ่าหมดไปแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่ง รวมสินสมรสทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ 10,098,800 บาท จำเลยจึงมีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวกึ่งหนึ่งขอให้ยกฟ้อง แต่หากศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ขอให้แบ่งสินสมรสแก่โจทก์และจำเลยในอัตราเท่า ๆ กัน เป็นเงินคนละ 5,049,400 บาท กับแบ่งความรับผิดในหนี้สินเท่า ๆ กันด้วย

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันและสินสมรสตามคำให้การ เพราะจำเลยไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาอย่างไรก็ตามทรัพย์สินที่จำเลยระบุในคำให้การและฟ้องแย้งมีจำนวนและมูลค่าไม่ถูกต้องกล่าวคือเงินสดและเงินฝากธนาคารรายการทรัพย์สินข้อ 6 และ ข้อ 8 เป็นเงินส่วนตัวของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนสมรส ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามรายการทรัพย์สิน ข้อ 7 เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เงินส่วนตัวซื้อมาก่อนสมรส และมีราคาไม่เกิน1,000,000 บาท กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ทั้งสองสาขา ตามรายการทรัพย์สินข้อ 9และ ข้อ 10 เป็นกิจการส่วนตัวของโจทก์ที่ได้มาก่อนสมรส จำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หากขายและโอนสิทธิการเช่าจะได้ราคาไม่เกินแห่งละ 500,000 บาท ทั้งกิจการดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นของโจทก์แล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 ตามรายการทรัพย์สินข้อ 3 มีราคาประมาณ 2,000,000 บาท ไม่ใช่ 1,780,000 บาท ทั้งเงินจองและเงินดาวน์ก็เป็นของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว สำหรับห้องชุดตามรายการทรัพย์สินข้อ 4 เป็นห้องชุดเดียวกับที่โจทก์ระบุในฟ้อง มีราคาห้องละไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท ทั้งเงินจองและเงินดาวน์ก็เป็นของโจทก์เช่นกัน ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ระหว่างการพิจารณาคู่ความรับกันว่า เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 และที่ดินตามหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 เป็นสินสมรส ส่วนรถยนต์หมายเลขทะเบียน 6 ว.3065 กรุงเทพมหานคร มีมูลค่าสินสมรสตามค่างวดที่ชำระไปแล้ว 300,000 บาท สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 มีราคา 2,000,000 บาท ห้องชุด4 ห้อง มีราคาแท้จริงรวม 1,100,000 บาท และอยู่ในโฉนดเลขที่ 28412 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 มีราคา 1,500,000 บาท กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์สาขาหลักสี่พลาซ่ามีสิทธิการเช่าที่จะขายได้ 500,000 บาท

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยจำนวน 2,366,881.04 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ กับให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 และ 40964กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยครึ่งหนึ่งและให้จำเลยแบ่งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดของบริษัทสงวนพัฒนากิจก่อสร้าง จำกัด อาคารเอ ห้องเลขที่ 327/446, 327/447, 327/450 และ 327/451 ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง การแบ่งที่ดินและห้องชุดดังกล่าว ให้โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งกันเองก่อน หากตกลงกันไม่ได้ให้นำที่ดินและห้องชุดขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามส่วนค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยจำนวน 492,721.28บาท ให้โจทก์แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 40928 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรส ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยให้แก่จำเลยครึ่งหนึ่งให้จำเลยแบ่งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355จังหวัดกาฬสินธุ์ และที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดรวม 4 ห้อง ซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ให้แบ่งรถยนต์เป็นจำนวนเงินตามราคาที่ชำระแล้วครึ่งหนึ่งคือ 150,000 บาท แก่โจทก์ ให้แบ่งกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง ตามสัดส่วนที่ลงทุนให้โจทก์ 2 ส่วน จำเลย 1 ส่วน การแบ่งกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ กับ การแบ่งที่ดินและห้องชุดให้โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งกันเองก่อน หากตกลงกันไม่ได้ ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน คำขอให้แบ่งทรัพย์อื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 2พฤศจิกายน 2533 ตามใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีบุตรด้วยกัน สำหรับปัญหาเรื่องเหตุฟ้องหย่าเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คงมีปัญหาแต่เฉพาะเรื่องการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาโดยมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า จำเลยมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสอื่นนอกจากสินสมรสที่โจทก์ระบุในคำฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสอื่นนอกจากสินสมรสที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ต้องไปฟ้องขอแบ่งในฐานะเป็นกรรมสิทธิ์รวมในอีกคดีหนึ่งต่างหาก เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่าไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย หรือหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่คู่หย่าจะแยกจากกันไปตั้งครอบครัวของตนขึ้นใหม่ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยแล้วจำเลยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นนอกจากที่โจทก์ระบุในคำฟ้องก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ปัญหาการแบ่งสินสมรสเป็นอันยุติไปพร้อมกับการสิ้นสุดแห่งการสมรสด้วยการหย่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องแย้งของแบ่งสินสมรสอื่นนอกจากสินสมรสที่โจทก์ระบุในคำฟ้องนั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปเรื่องการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย ทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยที่จัดแบ่งเป็นที่ยุติแล้ว (1) ที่ดินโฉนดเลขที่ 40928กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรส แบ่งคนละครึ่ง และ (2) ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5355 จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นสินสมรสแบ่งกันคนละครึ่ง คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเรื่องการแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย ตามฎีกาของโจทก์และฎีกาของจำเลยเริ่มจากรายการแรก เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขานนทบุรี บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 2181 035083 และบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 2182 2 2645 1 ซึ่งเป็นสินสมรส มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของทั้งสองบัญชีโดยมีปัญหาว่า จำนวนเงินในบัญชีทั้งสองจะถือในวันที่โจทก์ฟ้องหย่าหรือวันสุดท้ายที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันคือวันที่ 8 มกราคม 2536 โดยโจทก์ฎีกาว่า จำนวนเงินสินสมรสที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันต้องถือในวันที่ 8 มกราคม 2536 ที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมทำมาหากินด้วยกันคือจำนวนเงิน 15,259.18 บาท และจำนวนเงิน 238,335.41บาท ตามลำดับ หาใช่จำนวนตามที่มีอยู่ในวันที่โจทก์ฟ้องหย่าไม่นั้น เห็นว่า แม้โจทก์จำเลยจะทะเลาะวิวาทกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้และแยกกันอยู่ต่างหากจากกันตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2536 ตลอดจนถึงวันฟ้องหย่าก็ตามแต่การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยหาสิ้นสุดลงไม่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังดำรงคงอยู่ตลอดเวลาและจำเลยก็มีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรานี้ได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากจำเลยใช้จ่ายเงินตราสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้จำเลยชดใช้ โดยตั้งประเด็นให้ชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไปนี้โดยเฉพาะเจาะจงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำนวนเงินสินสมรสในบัญชีเงินฝากทั้งสองที่เป็นฐานในการคิดคำนวณแบ่งปันกันให้ถือวันฟ้องซึ่งมีเงินเพียง 1,990.11 บาท และ 1,735.41 บาท นั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่สอง รายได้จากร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง จำนวนเงิน1,000,000 บาท ซึ่งเป็นสินสมรส โจทก์ฎีกาว่าเงินจำนวน 1,000,000 บาท นี้เป็นสินสมรส แต่โจทก์ให้นายเกรียงศักดิ์ ประคองวงษ์ พี่โจทก์ยืมไปและยังไม่ได้รับคืนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรานี้ได้โดยลำพัง จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในการที่จะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย จำเลยมิได้อุทธรณ์ปัญหาข้อนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะนำเงินจำนวนนี้มาคิดคำนวณเป็นส่วนแบ่งสินสมรสที่โจทก์จะต้องแบ่งให้จำเลย 500,000 บาท ไม่ได้ เพราะโจทก์ยังไม่ได้รับเงินจำนวนนี้คืนมานั้น เห็นว่า ปัญหาเรื่องรายได้จากร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง จำนวนเงิน 1,000,000 บาท นี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการจะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องแบ่งคืนแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมจำนวนนี้คืนจากผู้ยืมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้แต่อย่างใดปัญหาเรื่องเงินจำนวน 1,000,000 บาทนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์นำเอาเงิน 1,000,000 บาท ดังกล่าวมาคำนวณหักกลบลบหนี้ในการแบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์จำเลยคนละกึ่งหนึ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์จึงไม่ชอบ กรณีมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสไม่ชอบ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการบังคับเอากับสินสมรสที่จัดแบ่งแล้วอย่างไร จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 ต้องถือว่ารายได้จากร้านเสริมสวย สกินแคร์ สาขามาบุญครอง จำนวนเงิน 1,000,000 บาท ในขณะนี้ยังไม่สามารถนำมาคิดคำนวณแบ่งสินสมรสเพราะยังไม่รับชำระคืนจากผู้ยืม ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

รายการที่สาม รถยนต์หมายเลขทะเบียน 6 ว-3065 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสินสมรสมีมูลค่าตามค่างวดที่ชำระไปแล้ว 300,000 บาท โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งรถยนต์สินสมรสกันคนละครึ่ง แต่ในการคิดส่วนแบ่งสินสมรสที่เป็นเงินซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้ จำเลยต้องแบ่งให้โจทก์ 26,862.76 บาท ต้องคิดส่วนแบ่งรถยนต์สินสมรส 150,000 บาท มารวมด้วยนั้น เห็นว่า จำนวนเงิน 26,862.76 บาทศาลอุทธรณ์กำหนดแต่เฉพาะสินสมรสที่เป็นเงินตราที่จำเลยต้องแบ่งให้โจทก์เป็นเงินเท่าใดส่วนรถยนต์เป็นทรัพย์สินอื่นเช่นเดียวกับห้องชุดและที่ดินที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งกันคนละครึ่งอยู่แล้ว จึงไม่ต้องนำมาคิดเพิ่มเป็นเงินที่จำเลยจะต้องให้โจทก์เพื่อหักกลบลบกันแต่อย่างใด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้ส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งในรถยนต์สินสมรสนี้อยู่แล้ว เมื่อมีการแบ่งสินสมรสอื่นที่มิใช่เงินตรา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่สี่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 40964 กรุงเทพมหานคร พร้อมบ้านเลขที่ 295/43โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว เป็นสินส่วนตัวของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว มิใช่สินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยคนละครึ่ง โดยฝ่ายโจทก์มีตัวโจทก์ นายศักดา ประคองวงศ์และนายเกรียงศักดิ์ ประคองวงศ์ ซึ่งเป็นพี่ชายของโจทก์ เบิกความเป็นพยานว่า นายศักดาซื้อที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวแทนโจทก์และต่อมาภายหลังนายศักดาได้โอนให้นายเกรียงศักดิ์เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2532 นายเกรียงศักดิ์ได้โอนที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายหลอก ๆ ไว้ ตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.21 ฝ่ายจำเลยมีตัวจำเลยเบิกความเป็นพยานว่า จำเลยร่วมกับโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวจากนายเกรียงศักดิ์ โดยจำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดเอกสารหมาย ล.61 ซึ่งเป็นบัญชีส่วนตัวของจำเลยนำไปซื้อแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน100,000 บาท ตามเอกสารหมาย ล.42 นำไปชำระค่าที่ดิน เห็นว่า นายศักดาและนายเกรียงศักดิ์เป็นพี่ชายของโจทก์ย่อมมีแนวโน้มที่จะเบิกความเข้าข้างโจทก์ ทั้งพยานโจทก์ทั้งสองเบิกความไม่สอดคล้องกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายเกรียงศักดิ์ถึงกับเบิกความว่ายกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยเสน่หาแต่ทำสัญญาซื้อขายหลอก ๆ กันไว้ด้วยโดยไม่มีเหตุผลว่า เพราะเหตุใดถึงยกให้โดยเสน่หา พยานโจทก์ดังกล่าวมีน้ำหนักน้อยส่วนจำเลยมีทั้งพยานเอกสารแคชเชียร์เช็คที่ระบุชื่อว่าจ่ายให้นายเกรียงศักดิ์ผู้ขายที่ดินและบ้าน พยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยจึงมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายโจทก์ น่าเชื่อว่าโจทก์จำเลยร่วมกันออกเงินซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 40965 และบ้านเลขที่ 295/43 เมื่อวันที่ 21กันยายน 2532 อันเป็นเวลาก่อนที่โจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและบ้านดังกล่าวจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยคนละครึ่ง ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ส่วนแบ่งของจำเลยในที่ดินและบ้านดังกล่าวต้องคิดเพิ่มให้จำเลยอีก 100,000 บาท ในเงินสินส่วนตัวที่จำเลยนำไปซื้อที่ดินและบ้านด้วยกัน เห็นว่า เงินจำนวน 100,000 บาท ของจำเลยเมื่อนำมารวมกับเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านแล้วย่อมเปลี่ยนเป็นที่ดินและบ้านที่ซื้อมา จึงไม่มีเงินที่ต้องคืนให้จำเลยหรือโจทก์อีก ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

รายการที่ห้า กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง โจทก์ฎีกาว่า กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของโจทก์เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยฎีกาว่า กิจการดังกล่าวโจทก์รับโอนมาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 หลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย ในปัญหาข้อนี้ฝ่ายโจทก์มีตัวโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง เดิมเป็นของนายทวีศักดิ์ประคองวงษ์ น้องชายโจทก์ซึ่งเปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2531 ต่อมา เมื่อต้นปี 2532 โจทก์ซื้อกิจการดังกล่าวมาในราคา 200,000 บาท แล้วดำเนินกิจการต่อไปจนถึงต้นปี 2536จึงขายกิจการให้แก่นางสดศรี ประคองวงษ์ พี่สะใภ้โจทก์ไป ฝ่ายจำเลยมีตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยานว่าโจทก์จำเลยมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่เดือนกันยายน2530 ต่อมาวันที่ 31 ตุลาคม 2530 จำเลยเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศเดนมาร์กระหว่างนั้นโจทก์เขียนจดหมายปรึกษาจำเลยเรื่องจะเปิดกิจการร้านเสริมสวย ในเดือนมีนาคม 2531 จำเลยเดินทางกลับประเทศไทยมาช่วยโจทก์ซื้อของวางระเบียบทำบัญชีและจัดทำเอกสารจนกระทั่งสามารถเปิดร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครองได้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2531 จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดเอกสารหมาย ล.51 ซึ่งเป็นบัญชีส่วนตัวมอบให้โจทก์เป็นค่าซ่อมแซมร้านจำนวน 100,000บาท หลังจากเปิดร้านแล้วจำเลยจึงเดินทางไปต่างประเทศ เห็นว่าโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครอง ตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกันในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(1) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว200,000 บาท ส่วนจำเลยลงทุน 100,000 บาท กิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ สาขามาบุญครองจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ 2 ต่อ 1ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของทั้งโจทก์และจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น...

รายการที่เจ็ด ที่ดินโฉนดเลขที่ 94549 กรุงเทพมหานคร และห้องชุดของบริษัทสงวนพัฒนกิจก่อสร้าง จำกัด อาคาร เอ ห้อง เลขที่ 327/446, 327/447, 327/450 และ327/451 จำเลยฎีกาว่า ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้ มิใช่สินสมรสเต็มจำนวนที่จะแบ่งให้โจทก์จำเลยกันคนละครึ่ง แต่จะต้องหักเงินดาวน์ของที่ดิน 265,000 บาท และเงินดาวน์ห้องชุดทั้งสี่ห้อง 181,200 บาท รวมเป็นเงิน 446,200 บาท ที่จำเลยใช้เงินส่วนตัวของจำเลยชำระไปแล้วออกเสียก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำมาแบ่งให้โจทก์จำเลยกันคนละครึ่งเห็นว่า ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จำเลยได้รับโอนมาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2534 อันเป็นเวลาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่ที่จำเลยนำไปชำระนั้นได้ความจากจำเลยว่า จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ เอกสารหมาย ล.53 ซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่จำเลยก็ยอมรับว่าเงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์ รวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่เป็นจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคท้ายว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วย ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องนี้จึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่แปด เงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางโพ บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 033 3 036134 จำนวน 50,000 บาท จำเลยฎีกาว่าเงินฝากดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการขายที่ดินส่วนตัวของจำเลย จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย มิใช่สินสมรสนั้น เห็นว่า ได้วินิจฉัยในรายการที่เจ็ดแล้วว่า เงินฝากในบัญชีธนาคารกสิกรไทยจำกัด สาขาบางโพ เอกสารหมาย ล.53 มีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยสกินแคร์รวมอยู่ด้วยโดยระคนปนกันจนไม่อาจจำแนกได้ว่าแต่ละส่วนเป็นเงินเท่าใด จึงต้องถือตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินในบัญชีนี้เป็นสินสมรส ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนเงินในบัญชีดังกล่าวมาเปิดบัญชีเงินฝากประจำเอกสารหมาย ล.62 เงินฝากในบัญชีใหม่นี้จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งเช่นเดียวกันด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

รายการที่เก้า เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางพลัด บัญชีเลขที่ 1840205346 และ 184 3025618 จำนวนเงินประมาณ 300,000 บาท และ 130,000บาท ตามลำดับ มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีทั้งสองฉบับ จำเลยฎีกาว่าเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าวเป็นเงินรายได้ที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งให้จำเลยครึ่งหนึ่งโดยต้องถือว่ามีเงินอยู่ในบัญชีทั้งสองรวมกันเป็นเงิน 511,562.61บาท ตามที่จำเลยฟ้องแย้งและโจทก์ไม่ได้ให้การแก้ฟ้องแย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่มีอยู่นั้น เห็นว่า ในปัญหาเรื่องเงินในบัญชีทั้งสองบัญชีมีอยู่เท่าใดนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเงินฝากในบัญชีเงินฝากทั้งสองฉบับนี้คงมีเงินเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียวคือบัญชีเลขที่184 3025618 จำนวนเงิน 211,562.61 บาท อันเป็นเงินสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์อุทธรณ์ว่า เงินในบัญชีดังกล่าวมีการถอนออกไปบางส่วนหลังวันฟ้องเพื่อผ่อนชำระค่าซื้อบ้าน ที่ดิน รถยนต์และคอนโดมิเนียมคงเหลือเงินในบัญชี ณ วันที่2 กรกฎาคม 2536 เพียง 39,169.08 บาท เท่านั้น จำเลยมิได้โต้แย้งว่า เงินที่ถูกถอนออกไปนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องอย่างใด เมื่อเงินฝากในบัญชีดังกล่าวเป็นสินสมรสและการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงยังคงมีสิทธิจัดการสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินตราได้โดยลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย โดยการถอนเงินจากธนาคารแม้หลังจากฟ้องคดีนี้แล้วได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องถือตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงตามที่โจทก์แถลงและจำเลยยอมรับโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จะย้อนหลังไปถือเอาจำนวนเงินที่เคยมีอยู่จริงมิได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเงินฝากธนาคารทั้งสองบัญชีดังกล่าวเหลืออยู่เพียง 39,169.08 บาท อันเป็นจำนวนที่ต้องนำมาแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยคนละครึ่งนั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

สรุปได้ว่าทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนที่เป็นเงินตรานั้น โจทก์ต้องจ่ายให้จำเลย 19,584.54 บาท ส่วนจำเลยต้องจ่ายให้โจทก์ 26,862.76 บาท เมื่อหักกลบลบกันแล้วเฉพาะส่วนที่เป็นเงินตรา จำเลยต้องจ่ายเงินให้โจทก์ 7,278.22 บาท ส่วนทรัพย์สินอื่นให้จัดแบ่งกันตามที่วินิจฉัยมาแล้ว สำหรับทรัพย์สินที่ติดจำนอง หากมีการบังคับจำนองมูลค่าทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้จำนองแล้ว โจทก์และจำเลยต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ที่เหลือฝ่ายละเท่า ๆ กัน

อนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำเงินสินสมรสจำนวน 1,000,000 บาทให้นายเกรียงศักดิ์ ประคองวงษ์ ซึ่งเป็นพี่ชายโจทก์ยืมไปโดยจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงเป็นการจัดการทรัพย์สินร่วมกันที่โจทก์มีอำนาจจะทำไว้ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในการที่จะต้องคืนเงินส่วนนี้แก่จำเลย แต่จะต้องคืนเงินแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินยืมคืนจากผู้ยืมแล้วโดยยังไม่ได้พิพากษาให้ชัดแจ้ง อาจทำให้เกิดปัญหาในการบังคับคดี จึงเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้ชัดเจน"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 7,278.22 บาท สำหรับเงินที่ให้ผู้อื่นกู้ไปจำนวน 1,000,000 บาท หากโจทก์ได้รับชำระเงินยืมคืน

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา


แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่ง ทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า


 สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประ โยชน์ตนฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไปโดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตาม มาตรา 1533 และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วน แบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่าย หรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัว

 
มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว


ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

 

ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 

 

 

 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว