ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

 

การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง

 

สามีฟ้องหย่าอ้างว่าตนมีสิทธิที่จะเลือกคู่ครองของตนเองได้เมื่อตนเห็นว่าภริยาไม่เหมาะสมกับตน ๆ ก็มีสิทธิเลิกร้างกับภริยาได้และสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาเห็นว่า รัฐธรรมนูญกำหนดว่าบุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ว่าการเลือกคู่ครองจะเป็นสิทธิของสามีก็ตาม แต่การใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง ไม่ใช่ไม่พอใจก็ฟ้องหย่าโดยอ้างว่าเป็นสิทธิในการเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5983/2548

 
          ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 28 กำหนดว่า บุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น แม้ว่าการเลือกคู่ครองเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกคู่ครองของตนเองได้ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองถึงการใช้สิทธินั้นได้ การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยและได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์ไม่พอใจต้องการแยกทางกับจำเลยจึงฟ้องหย่า โดยอ้างว่าเป็นสิทธิที่โจทก์จะเลือกคู่ครองได้ตามแต่ความพอใจของตนนั้นคงไม่ถูกต้อง เพราะการใช้สิทธิดังกล่าวของโจทก์ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาและบุตร หากโจทก์ประสงค์จะหย่าขาดจากจำเลยต้องมีเหตุที่อ้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 มิฉะนั้น สถาบันครอบครัวในสังคมจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบและมีแต่ความสับสนวุ่นวาย
 
มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตร 2 คน ต่อมาโจทก์ไม่อาจทนอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยได้ ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยกับโจทก์หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ให้จำเลยส่งมอบอาวุธปืนแก่โจทก์ หากไม่สามารถส่งมอบคืนได้ให้ชดใช้ราคาจำนวน 30,000 บาท แทน ให้จำเลยส่งมอบใบอนุญาตใช้อาวุธปืนรวม 2 ฉบับ หากไม่สามารถส่งมอบได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกไป ป.4 ทั้งสองใบ เพื่อที่โจทก์จะดำเนินการขอใบอนุญาตใบ ป.4 ต่อทางราชการใหม่แทน

          จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกคู่ครองของตนเองได้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ หากโจทก์เห็นว่า หญิงนั้นไม่เหมาะสมกับตน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลิกร้างกับหญิงดังกล่าวได้ การที่โจทก์มีข้อโต้แย้งกับจำเลยในเรื่องการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกับจำเลยและเลือกใช้วิธีการทางกฎหมายโดยการฟ้องหย่า ย่อมเป็นการแก้ปัญหาให้แก่ครอบครัวและสังคมโดยสันติ เพื่อมิให้เกิดปัญหารุนแรงถึงฆ่ากันตายดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งทำให้เกิดปัญหากับลูก ๆ ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเหมือนเป็นการไม่แก้ปัญหา แต่กลับกลายเป็นการก่อปัญหาให้เกิดขึ้นกับครอบครัวของโจทก์มากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงจิตใจของโจทก์ที่จะได้รับทุกข์ทรมานจากการกระทำของจำเลยนั้น เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 28 กำหนดว่า บุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น แม้ว่าการเลือกคู่ครองตามที่โจทก์ฎีกาจะเป็นสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองถึงการใช้สิทธินั้นได้ การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยและได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์ไม่พอใจ ต้องการแยกทางกับจำเลยจึงฟ้องหย่าโดยอ้างว่าเป็นสิทธิที่โจทก์จะเลือกคู่ครองได้ตามแต่ความพอใจของตนนั้นคงไม่ถูกต้อง เพราะการใช้สิทธิดังกล่าวของโจทก์ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาและบุตรทั้งสอง ดังนี้ หากโจทก์ประสงค์จะหย่าขาดจากจำเลยจะต้องมีเหตุหย่าที่อ้างได้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 บัญญัติไว้ซึ่งการใช้สิทธิหย่าของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมิฉะนั้นสถาบันครอบครัวในสังคมจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบและมีแต่ความสับสนวุ่นวายได้ ส่วนการที่ศาลจะพิพากษาให้หย่าขาดจากกันได้หรือไม่นั้น ก็จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าจะมีเหตุให้หย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 หรือไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น...”
          พิพากษายืน
 
 
( ศิริชัย จิระบุญศรี - วิรัช ลิ้มวิชัย - วสันต์ ตรีสุวรรณ )
 
 
หมายเหตุ

          บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ศาลฎีกายกขึ้นมาวินิจฉัยคือ มาตรา 28 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน" นัยของข้อวินิจฉัยนี้คือ ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง มิใช่เพราะสิทธิและเสรีภาพที่โจทก์อ้างไม่มีอยู่จริงแต่เพราะวิธีใช้สิทธิและเสรีภาพของโจทก์ไม่ต้องด้วยมาตรา 28 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ การขอหย่าโดยปราศจากเหตุหย่าตามกฎหมายของโจทก์มีผลกระทบกระเทือนต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาและบุตร และกระทบกระเทือนต่อสถาบันครอบครัว ซึ่งคงจะหมายความว่าข้ออ้างของโจทก์ "ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น" นั่นเอง

           สิทธิและเสรีภาพตามที่ศาลฎีกายกขึ้นมานี้ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่บัญญัติอยู่ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่จำกัดการใช้อำนาจรัฐ สิทธิและเสรีภาพทุกอย่างในหมวดนี้เรียกในทางวิชาการว่า "สิทธิขั้นพื้นฐาน" (fundamental right) คือ เป็นสิทธิที่แยกออกไม่ได้จากความเป็นมนุษย์ของบุคคลนอกจากจะถือว่ามนุษย์มีสิทธิเหล่านี้อยู่ก่อนที่สังคมจะก่อตั้งเป็นรัฐแล้ว สิทธิเหล่านี้ยังแสดงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอีกด้วยในฐานะที่สิทธิเหล่านี้เกี่ยวโยงกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และมีมาก่อนรัฐ สิทธิเหล่านี้จึงอยู่เหนือผลประโยชน์ของสังคมรัฐจะยกเอาผลประโยชน์ของสังคมขึ้นอ้างเพื่อบั่นทอนสิทธิเหล่านี้ไม่ได้เพราะถ้ายอมให้รัฐบั่นทอนสิทธิเหล่านี้ ก็เท่ากับยอมให้รัฐย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไปเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเหล่านี้คือ มาตรา 26 ซึ่งบัญญัติว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"

           ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของสิทธิขั้นพื้นฐานคือ เป็นสิทธิที่มีความผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับฝ่ายตุลาการ คำกล่าวที่ว่า ศาลเป็นองค์กรถ่วงดุลแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายตุลาการในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเหล่านี้ โดยถือว่า ในฐานะที่สิทธิขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิของปัจเจกชนที่รัฐล่วงละเมิดมิได้ ในการคุ้มครองสิทธิเหล่านี้จากการก้าวล่วงของฝ่ายการเมืองซึ่งใช้อำนาจรัฐ จำเป็นต้องมีสถาบันที่เป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองมาทำหน้าที่คานอำนาจของฝ่ายการเมืองเพื่อมิให้ฝ่ายการเมืองก้าวล้ำเข้ามาในขอบเขตของปัจเจกชน ในขณะเดียวกันการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานนี้ก็เป็นฐานรากของ "ความชอบธรรมทางตุลาการ"  เช่นเดียวกับการคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะเป็นฐานรากของความชอบธรรมทางการเมือง

           ในฐานะที่สิทธิขั้นพื้นฐานเป็นสิทธิที่ปัจเจกชนมีต่อรัฐ เงื่อนไขประการแรกที่จะอ้างสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 คือ ต้องมีองค์กรของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีการกระทำที่เรียกว่าเป็น "การกระทำของรัฐ" (state action) การกระทำของปัจเจกชนต่อปัจเจกชนด้วยกัน ที่มีผลเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องของกฎหมายเฉพาะ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ห้ามมิให้นายจ้างเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้าง เป็นต้น การกระทำของปัจเจกชนต่อปัจเจกชนด้วยกันดังกล่าว หากไม่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติห้าม แม้จะเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็อยู่นอกความหมายของสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 ของรัฐธรรมนูญ

           สำหรับกรณีตามคำพิพากษาฎีกานี้ การอ้างสิทธิและเสรีภาพในหมวด 3 ของโจทก์เป็นการอ้างสิทธิและเสรีภาพที่มีต่อจำเลยเป็นปัจเจกชน โดยไม่มีการอ้างถึงการกระทำของรัฐหรือองค์กรของรัฐ จึงเป็นเรื่องของกฎหมายเฉพาะ มิใช่เป็นการอ้างสิทธิขั้นพื้นฐาน การอ้างของโจทก์อย่างนี้อยู่นอกขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพดังที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อข้อวินิจฉัยของศาลฎีกา ผู้บันทึกเห็นว่า การวินิจฉัยของศาลฎีกาที่วินิจฉัยไปตามข้ออ้างของโจทก์ว่า วิธีใช้สิทธิและเสรีภาพที่จะหย่าขาดจากภริยาของโจทก์ไม่ชอบด้วยมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีความหมายโดยนัยว่า สิทธิและเสรีภาพที่โจทก์อ้างอาจมีอยู่จริง เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ลงรอยกับแนวคิดทางวิชาการว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่แม้กระนั้นผู้บันทึกก็ยังพอใจวิธีวินิจฉัยของศาลฎีกาที่วินิจฉัยโดยพิจารณาข้อเท็จจริงทางสังคมประกอบ ซึ่งการวินิจฉัยวิธีนี้จะนำไปสู่การพัฒนานิติศาตร์ของเราต่อไป
         
         
          วิชัย วิวิตเสวี
 

 

ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

 

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส