ReadyPlanet.com
dot
รวมกฎหมายและฎีกา
dot
bulletกฎหมายทั่วไป
bulletคดีครอบครัว
bulletคำพิพากษาคดีอาญา
bulletที่ตั้งสำนักงาน
bulletซื้อขายเช่าซื้อขายฝาก
bulletครอบครองปรปรปักษ์
bulletผู้จัดการมรดก
bulletกฎหมายแรงงาน
bulletทรัพย์สินกรรมนสิทธิ์
bulletหลักฐานการกู้ยืมเงิน
bulletสัญญาตัวแทน
bulletซื้อขายที่ดิน
bulletสัญญาเช่า
bulletลาภมิควรได้
bulletผู้คำประกัน
bulletคดีล้มละลาย
bulletพ.ร.บ. ทนายความ




การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

 

การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน

การกระทำที่ยังไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันการทำร้ายร่างกายคู่สมรสอันเนื่องมาจากเหตุอารมณ์หึงหวง แม้เกิดต่อหน้าบุคคลอื่นก็ไม่อาจถือว่าคู่สมรสฝ่ายที่ทำร้ายนั้นประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมไม่ดีในทางชู้สาวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต่อผู้บังคับบัญชาของคู่สมรสฝ่ายดังกล่าว การด่าทอคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่ประพฤติตนไม่ดีในทางชู้สาว แม้รุนแรงบ้างหรือการกระทำอื่นใดที่ไม่ต้องการให้คู่สมรสไปมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับบุคคลอื่นเป็นต้น ย่อมเป็นการกระทำอันเนื่องมาจากเหตุหึงหวง หรือการกระทำที่ต้องการให้คู่สมรสจ่ายค่าอุปการเลี้ยงดูตนและบุตรตามหน้าที่ หรือสามีภริยาอยู่บ้านเดียวกัน แต่เป็นการที่ต่างคนต่างอยู่และมิได้ยุ่งเกี่ยวกันถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง

การกระทำที่ถือว่า เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน

การที่คู่สมรสกระทำการใดที่มิได้เกิดจากอารมณ์หึงหวง อันเป็นการกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของคู่สมรสอีกฝ่าย เช่น สามีเป็นตำรวจส่วนภริยาเป็นเจ้ามือขายสลากกินรวบ หรือคู่สมรสฝ่ายหนึ่งขายยาเสพติดให้โทษ หรือการที่สามีปลุกปล้ำหญิงอื่นเป็นต้น ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน

การที่สามีภริยาสมัครใจหรือยินยอมแยกกันอยู่คนละบ้าน ย่อมมิใช่เป็นการทิ้งร้าง ส่วนการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งแยกตัวออกไปอยู่ที่อื่น โดยที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจด้วย ถือว่าคู่สมรสฝ่ายแรกเป็นฝ่ายทิ้งร้างคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไป ดังนี้คู่สมรสฝ่ายแรกย่อมไม่อาจฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งโดยอ้างเหตุทิ้งร้าง หรือการที่สามีทำร้ายร่างกายภริยาเป็นประจำ จนภริยาต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าภริยาเป็นฝ่ายทิ้งร้างสามีไป แต่ถ้าเป็นการที่คู่สมรสฝ่ายใดแยกตัวออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น โดยมิได้ชักชวนคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไปอยู่ด้วย และมิได้กลับมาหาเลยย่อมถือว่าเป็นการทิ้งร้างคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว

ส่วนการทำร้ายร่างกายนั้น จะต้องเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น มีบาดแผลมีดบาดหรือช้ำบวม หรือกระดูกแตกหักเป็นต้น ซึ่งการทำร้ายดังกล่าว นอกจากจะเป็นเหตุให้ถูกฟ้องหย่าแล้ว ยังเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 มาตรา 296 มาตรา 297 และมาตรา 391 ที่ผู้ถูกทำร้ายร่างกายอาจไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้ทำร้ายร่างกายได้

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิด นั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสิบปี
 อันตรายสาหัสนั้น คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า ยี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2524

โจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาทะเลาะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์อันเป็นการร้ายแรงไม่

จำเลย(ภริยา) มีเหตุอันควรที่จะเชื่อได้ว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น จึงทำให้เกิดอารมณ์หึงหวงซึ่งโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นโดยไปไหนมาไหนกับหญิงอื่นจนเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและโจทก์ไม่ได้ร่วมหลับนอนกับจำเลยมานานแล้วการที่จำเลยระงับอารมณ์ไม่อยู่และเกิดทะเลาะวิวาทกับโจทก์ บางครั้งถึงกับทุบตีและทำร้ายร่างกายกัน แม้จะทะเลาะวิวาทในสถานที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าผู้ที่มาติดต่อก็เป็นพฤติการณ์ที่ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน จำเลยได้ทำร้ายโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ หมิ่นประมาทเหยียดหยามโจทก์และบุพพการีโจทก์อย่างร้ายแรงจำเลยได้ไปที่ธนาคารซึ่งโจทก์เป็นผู้จัดการแล้วหมิ่นประมาทโจทก์ต่อหน้าผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความอับอายและได้รับความดูถูกเกลียดชัง จึงฟ้องให้โจทก์จำเลยหย่าจากกันให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ถ้าไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยหมิ่นประมาทโจทก์และบุพพการีไม่เคยทำร้ายโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ถ้าจำเลยไม่ไปจดทะเบียนหย่า ให้โจทก์ไปจดฝ่ายเดียวโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยหมิ่นประมาทเหยียดหยามโจทก์และบุพพการีอย่างร้ายแรง ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์นั้นโจทก์เบิกความว่า เมื่อทะเลาะกันเพราะจำเลยหึงโจทก์ โจทก์จำเลยได้ทุบตีกันนั้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันหาใช่จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์อันเป็นการร้ายแรงไม่

ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าและได้รับความดูถูกเกลียดชังนั้น เห็นว่า การทะเลาะวิวาทกันระหว่างโจทก์จำเลยสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยหึงโจทก์ ซึ่งตามคำเบิกความของนายเกษมพยานโจทก์ก็ว่าทราบว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงข่าวว่าโจทก์มีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นโจทก์สนิทสนมกับนางทองสุข โจทก์เองก็เบิกความยอมรับว่าโจทก์เคยไปไหนมาไหนกับนางทองสุข โจทก์ไม่ได้ร่วมหลับนอนกับจำเลยมานานจนถูกจำเลยถามว่าทำไมไม่มีความรู้สึกทางเพศ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยมีเหตุอันควรที่จะเชื่อได้ว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น จึงทำให้เกิดอารมณ์หึงหวงซึ่งโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดขึ้น การที่จำเลยระงับอารมณ์ไม่อยู่และเกิดทะเลาะวิวาทกับโจทก์ บางครั้งถึงกับมีการทุบตีและทำร้ายร่างกายกัน แม้จำเลยจะทะเลาะวิวาทกับโจทก์ในสถานที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าลูกค้าของธนาคารก็เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่อาจเรียกได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4).......

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2524

การที่จำเลยร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาเป็นการกระทำด้วยอารมณ์หึงหวงอันเนื่องมาจากถูกโจทก์ทอดทิ้งแล้วโจทก์ไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น การกระทำของจำเลยยังไม่เพียงพอที่จะถือว่า ได้ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "มีปัญหาข้อ (2) การที่จำเลยร้องเรียนกล่าวโทษต่อผู้บังคับบัญชา เป็นการทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงหรือไม่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้คงฟังได้แต่เพียงว่า จำเลยได้ร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชา และโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนฐานประพฤติผิดวินัยในทางชู้สาวตามเอกสารหมาย จ.4 ส่วนคำร้องเรียนของจำเลยมีข้อความประการใดไม่มีการนำสืบถึง โจทก์เบิกความเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าโจทก์จดทะเบียนสมรสกับครูโรงเรียนสตรีอ่างทองได้สองวันแล้วมาจดทะเบียนสมรสกับจำเลย แต่ต่อมาประมาณสองสัปดาห์ก็จดทะเบียนหย่ากับครูโรงเรียนสตรีอ่างทอง หลังจากนั้นจำเลยได้ร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์ไปยังกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ โดยจะร้องเรียนในเรื่องที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับครูโรงเรียนสตรีอ่างทองหรือไม่ ไม่ทราบ จำเลยเบิกความว่า การที่โจทก์ถูกสอบสวนทางวินัยจะเป็นเพราะหนังสือร้องเรียนของจำเลยหรือไม่ ไม่ทราบ จำเลยไม่มีเจตนาจะให้โจทก์ถูกสอบสวนทางวินัย จำเลยยังรักและต้องการที่จะอยู่กินกับโจทก์ ศาลฎีกาได้พิเคราะห์พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกับจดหมายของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.5 โดยตลอดแล้ว เห็นว่าการที่จำเลยร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาเป็นการกระทำด้วยอารมณ์หึงหวงอันเนื่องมาจากถูกโจทก์ทอดทิ้งแล้วโจทก์ไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น การกระทำของจำเลยยังไม่เพียงพอที่จะถือว่า ได้ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง"

พิพากษายืน

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1).......

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) .......

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524 

จำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518

โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้

ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา1598/38 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันมีบุตร 1 คน เมื่อต้นปี 2519 จำเลยประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาโดยทะเลาะวิวาทกับโจทก์ ใช้มีดแทงทำร้ายโจทก์ได้รับบาดเจ็บ โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยามีบุตรด้วยกัน จึงมิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษโจทก์ต่อมาจำเลยพาบุตรไปอาศัยอยู่ที่อื่น เป็นการจงใจละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า ถ้าจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรมาอยู่ในความปกครองของโจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายโจทก์ พี่สาวโจทก์ทุบตีด่าว่าและไล่จำเลย โจทก์จึงพาจำเลยและบุตรไปอยู่กับมารดาจำเลยแล้วโจทก์ไม่ยอมส่งเสียค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตร จึงฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตรเดือนละ 3,000 บาทนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะตายและบุตรบรรลุนิติภาวะ

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยมีรายได้พอที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรเมื่อจำเลยออกจากบ้านโจทก์ จำเลยได้นำทรัพย์สินของโจทก์ไปด้วย มีจำนวนมากพอที่จำเลยจะใช้จ่ายเลี้ยงดูตนเองได้ตลอดชีวิต ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้จำเลยให้เงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลยเดือนละ 1,500 บาทนับแต่วันฟ้องแย้งไปจนกว่าจำเลยจะตายหรือสมรสใหม่

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยมาแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้หมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518

ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่า 1 ปีนั้น พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างนำสืบรับกันฟังได้ว่า จำเลยและบุตรไปอยู่กับมารดาจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้พาไปส่งขนเสื้อผ้าไปให้และนำรถยนต์ไปให้จำเลยใช้สอย ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยกลับแต่จำเลยไม่ยอมกลับ ในที่สุดบิดาโจทก์จะให้เงินไปซื้อตึกแถวเพื่อแยกมาตั้งครอบครัวและประกอบอาชีพต่างหาก ดังนั้นการที่จำเลยพาบุตรไปอยู่กับมารดาจำเลยจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาจงใจละทิ้งร้างโจทก์ หลังจากที่โจทก์จำเลยตกลงกันไม่ได้ว่าจะซื้อตึกแถว ณ ที่ใด โจทก์ได้มาขอรับรถยนต์คืนไปจากจำเลยแม้จำเลยจะเบิกความรับว่าจำเลยไม่ได้ติดต่อกับโจทก์มา 2 ปีเศษแล้ว และเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์เคยให้มาแต่แรกที่มาอยู่กับมารดาจำเลย โจทก์ก็ไม่นำมาจ่ายให้อีก พฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่และโจทก์ไม่ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูจำเลยถือได้ว่า โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยมีเจตนาจงใจละทิ้งร้างโจทก์หาได้ไม่

ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ไม่จำต้องจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลย เพราะจำเลยไม่ได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอยู่ต่างหากนั้น พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เดิมจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์อยู่ในบ้านของโจทก์ โจทก์มีอาชีพประกอบการค้าร่วมกับบิดา จำเลยไม่มีอาชีพอะไร โจทก์เคยจ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยมาตลอด ครั้นเมื่อโจทก์ยินยอมให้จำเลยพาบุตรมาอยู่กับมารดาจำเลย โจทก์ก็ยังจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยอยู่ ครั้นต่อมาเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์มีความสามารถและฐานะดีกว่าจำเลยดังจะเห็นได้ว่าโจทก์และบิดาโจทก์เคยรับปากจะซื้อตึกแถวเพื่อประกอบอาชีพการค้าร่วมกับจำเลย เมื่อคำนึงถึงความสามารถและฐานะดังกล่าวของโจทก์ ย่อมเป็นที่เห็นประจักษ์แจ้งว่าโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1598/38 ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยเดือนละ 1,500 บาท จึงเป็นการเหมาะสมแล้ว

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1518 สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น เหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่าง บิดามารดากับบุตรนั้น ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะ เลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่ เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ พฤติการณ์แห่งกรณี

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2525

การที่บิดามารดาจำเลยไปแจ้งความต่อตำรวจกล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์แม้จะมิใช่เหตุที่โจทก์จะยกขึ้นอ้างเพื่อฟ้องขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลยก็ตามแต่การที่จำเลยนำตำรวจไปจับกุมโจทก์ตามข้อกล่าวหาของบิดามารดานั้น การกระทำของจำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของโจทก์ อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1516(3)

โจทก์เพิ่งจะหางานทำได้หลังจากที่แยกกันอยู่กับจำเลยจึงติดใจขอค่าเลี้ยงชีพจากจำเลย จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น กรณีถือได้ว่าการหย่าทำให้โจทก์ยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากการงานตามที่เคยทำอยู่ในระหว่างสมรส เมื่อเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาจำเลยประพฤติตนไม่สมควรที่จะเป็นสามีภริยากับโจทก์ โดยจำเลยไม่เอาใจใส่ให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรตามสมควรแต่ฐานานุรูป และกระทำการอันเป็นการทรมานจิตใจโจทก์ทั้งทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงโดยเอาแต่ดื่มสุราไม่ช่วยเหลือการค้าขาย ไม่ร่วมหลับนอนกับโจทก์ เมื่อสอบถามสาเหตุจำเลยกลับด่าโจทก์และลบหลู่ดูหมิ่นเกียรติยศชื่อเสียงและฐานะของโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ไม่อาจทนอยู่ร่วมกับจำเลยได้อีกต่อไป ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและให้แบ่งสินสมรสกับชำระค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนให้โจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยอุปการะเลี้ยงดูโจทก์มาโดยตลอดไม่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ไม่เคยดุด่าโจทก์ให้ได้รับความอับอาย นอกจากบางครั้งที่โจทก์ประพฤติตนไม่สมควรและไม่เคยลบหลู่ดูหมิ่นเกียรติยศชื่อเสียงและฐานะของโจทก์ โจทก์จำเลยและบุตรได้รับเงินค่าครองชีพจากบิดามารดาจำเลยเดือนละ 3,000 บาทไม่เคยมีรายได้เป็นสินสมรสถึงขนาดดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่มีทรัพย์สินเป็นสินสมรสที่จะแบ่งให้โจทก์และโจทก์ไม่เคยมีสินส่วนตัว โจทก์เป็นฝ่ายกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง โดยหมิ่นประมาทและเหยียดหยามจำเลยและบิดามารดาของจำเลยกล่าวหาจำเลยต่อบุคคลอื่นว่าไม่ยอมร่วมหลับนอนกับโจทก์และเป็นบุคคลที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งยังด่าว่าบุพการีของจำเลยอย่างร้ายแรงโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์และบุตรหนีออกไปจากบ้านเพื่อจงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่า1 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพตามกฎหมายและจำเลยไม่เคยก่อเหตุใด ๆอันจะต้องเสียค่าทดแทน ขอให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามฟ้องแย้งของจำเลยกับให้โจทก์แบ่งสินสมรสพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยด้วย

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ออกจากบ้านจำเลยเพราะไม่อาจทนการกลั่นแกล้งจากจำเลยและบิดามารดาจำเลยได้ ครั้งสุดท้ายบิดามารดาจำเลยแจ้งให้ตำรวจจับโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์ทำให้โจทก์ได้รับความอับอาย โจทก์ไม่ได้จงใจละทิ้งจำเลย ทรัพย์สินที่จำเลยกล่าวอ้างในฟ้องแย้งไม่ใช่สินสมรส ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ให้จำเลยแบ่งสินสมรสกับให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย

จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์เข้าไปอยู่บ้านจำเลย บิดามารดาจำเลยดูถูกเหยียดหยามโจทก์เสมือนโจทก์เป็นคนรับใช้ ไม่เคยให้เกียรติโจทก์หลังจากโจทก์พาบุตรออกจากบ้านจำเลยไปอยู่บ้านบิดามารดาโจทก์ที่คลองเตย เมื่อราวกลางเดือนกรกฎาคม 2522 แล้ว ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2522 บิดามารดาจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวหาโจทก์ลักทรัพย์และจำเลยเป็นผู้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามจับกุมโจทก์มายังสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง โจทก์อ้างว่าทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหาเป็นของหมั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงให้ตกลงกันเองและมารดาจำเลยได้กล่าวต่อหน้าธารกำนัลหาว่าโจทก์หนีตามชู้ซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งในเรื่องนี้เป็นอย่างอื่น โดยจำเลยและนางเกียงี้ แซ่เบ๊ มารดาจำเลยเบิกความยอมรับว่า จำเลยเป็นผู้พาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามจับกุมโจทก์ตามข้อกล่าวหาของบิดามารดาจำเลยศาลฎีกาเห็นว่า แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำของบิดามารดาจำเลยเช่นที่กล่าวมานี้มิใช่เหตุที่โจทก์จะยกขึ้นอ้างเพื่อฟ้องขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากับจำเลยดังคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์แต่ลักษณะการกระทำของจำเลยที่พาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามจับกุมโจทก์มายังสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังตามข้อกล่าวหาของบิดามารดาจำเลยถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของโจทก์อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง เป็นเหตุที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1516(3) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเหตุหย่าในข้อนี้ฟังไม่ได้นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้น

ส่วนปัญหาเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กล่าวลอย ๆ และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องชำระนั้น ได้ความตามคำเบิกความของโจทก์ว่าโจทก์เพิ่งหางานทำได้เมื่อเดือนมิถุนายน 2523 จึงติดใจขอค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยนับจากวันฟ้องเป็นเวลาเพียง 5 เดือน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น กรณีถือได้ว่าการหย่าทำให้โจทก์ยากจนลงเพราะไม่มีรายได้จากการงานตามที่เคยทำอยู่ในระหว่างสมรสประกอบกับเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของจำเลยดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นจึงมีเหตุที่จำเลยจะต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามนัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1526

พิพากษาแก้เป็นให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันกับให้จำเลยแบ่งสินสมรสและจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) .....

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) ......

 

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนล เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่าง สมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่า เลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39,มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 

สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดี หย่านั้น

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2528

โจทก์จำเลยทะเลาะกันเกือบทุกวัน เพราะจำเลยหึงหวงโจทก์เข้าใจว่าโจทก์ซึ่งเป็นภริยามีชู้ เมื่อโจทก์จำเลยด่าทอกันเป็นปกติวิสัยตลอดจนสิ่งแวดล้อมและอุปนิสัยของโจทก์จำเลย โจทก์จะเอาข้อความที่จำเลยกล่าวในการด่าทอหลังกลับจากไปเที่ยวที่บางแสนโดยมีชายอื่นไปด้วยที่ว่า 'โคตรแม่มึงไม่สั่งสอน มึงมันดอกทอง' มาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง เพื่อเป็นเหตุฟ้องหย่าหาได้ไม่

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน ให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าภายใน 30 วัน นับแต่วันพิพากษา หากจำเลยไม่ไป ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้บุตรทั้งสามอยู่ในความปกครองของโจทก์ ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้โจทก์เดือนละ 1,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าบุตรจะสำเร็จการศึกษา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลแพ่งไม่มีอำนาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ที่ขอเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ และที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ในข้อหานี้โจทก์จะต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะฟ้องที่ขอเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์และที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยฎีกาของจำเลยก่อน ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์จำเลยมีอุปนิสัยไม่ลดราวาศอกต่อกันด่าว่ากันเป็นนิจศีลที่จำเลยด่าว่า "โคตรแม่มึงไม่สั่งสอน มึงจึงเหี้ย มึงมันดอกทอง" นั้น โจทก์จำเลยต่างด่าว่ากันโดยสมัครใจ และโจทก์ก็ด่าจำเลยเช่นเดียวกัน มิได้มุ่งจงใจถึงบุพการีของฝ่ายใด การกระทำของจำเลย จึงมิได้เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์ และมิได้ผิดทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤตินั้น ปรากฏว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน แล้วโจทก์ถอนฟ้องในคดีดังกล่าวจำเลยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติไว้มีข้อความว่า "จำเลยจะเป็นสามีที่ดีของโจทก์ต่อไป ไม่ด่าว่าบุพการีของโจทก์และจะไม่ทำร้ายโจทก์อีกต่อไป" ข้อความทัณฑ์บนดังกล่าวอาจแยกได้ว่าจำเลยทำทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติของตนไว้ 2 ประการ คือจะไม่หมิ่นประมาทบุพการีของโจทก์และจะไม่ทำร้ายโจทก์ ซึ่งเป็นข้อขยายความของประโยคที่ว่า "จำเลยจะเป็นสามีที่ดีของโจทก์" ศาลฎีกาได้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่า การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำด่าของจำเลยที่ว่า "โคตรแม่มึงไม่สั่งสอน มึงมันดอกทอง" เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่อันเป็นเหตุฟ้องหย่าหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของโจทก์จำเลยด้วย คดีได้ความจากคำเด็กหญิงจัญจุราและนางสาวสุขัญญา พยานโจทก์ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยว่าโจทก์จำเลยทะเลาะกันเกือบทุกวันเพราะจำเลยหึงหวงโจทก์ เข้าใจว่าโจทก์มีชู้ ต่างด่าว่าซึ่งกันและกัน ก่อนจะไปเที่ยวบางแสนในวันที่ 12 เมษายน 2524 จำเลยได้ต่อว่าโจทก์ว่าโจทก์จะไปเที่ยวกับชายอื่น จำเลยไม่อยากไปด้วย แต่ในที่สุดจำเลยก็ยอมไป นางจำลอง สุขสมนาวุฒิ พยานจำเลยซึ่งเคยอยู่ที่บ้านเดียวกับโจทก์จำเลยเบิกความว่าโจทก์จำเลยมีเรื่องทะเลาะกันเกี่ยวกับโจทก์ชอบไปเที่ยวนอกบ้านในวันหยุดงาน เมื่อทะเลาะกันก็ต่างด่าซึ่งกันและกัน ดังนั้นที่จำเลยเบิกความว่า จำเลยเคยห้ามโจทก์ไม่ให้ออกไปเที่ยว โจทก์ไม่พอใจเกิดทะเลาะกันจนถึงขนาดโจทก์ด่าจำเลยว่า "มึงทำไมไม่ตามไปเอาหน้าปิดหีกูล่ะ" จึงน่าเชื่อในการไปเที่ยวที่บางแสนเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2524 นั้น ปรากฏว่ามีชายอื่นไปด้วย ไม่ได้ไปตามลำพังกันเองเฉพาะบุคคลในครอบครัวโจทก์จำเลยก่อนจะไปจำเลยก่อนจะไปจำเลยก็ไม่พอใจอยู่แล้วจะเห็นได้จากคำเด็กหญิงจัญจุราพยานโจทก์ว่าจำเลยต่อว่าโจทก์จะไปเที่ยวกับชายอื่น จำเลยไม่อยากไปด้วย แต่ในที่สุดก็ยอมไปดังนั้นที่โจทก์เบิกความว่าเมื่อกลับจากไปเที่ยวที่บางแสนแล้วจำเลยด่าโจทก์ว่า "โคตรแม่มึงไม่สั่งสอนมึงมันดอกทอง"โดยโจทก์ไม่ทราบสาเหตุที่ด่านั้น ศาลฎีกาไม่เชื่อว่าโจทก์ไม่ทราบสาเหตุที่ด่าเชื่อว่าโจทก์ปิดบังข้อเท็จจริงอันเป็นสาเหตุที่จำเลยด่าด้วยถ้อยคำดังกล่าวไว้จำเลยนำสืบว่าโจทก์จำเลยทะเลาะกันต่างบิดามารดาของอีกฝ่าย เมื่อได้พิเคราะห์ถึงเรื่องโจทก์จำเลยด่าทอกันเป็นปกติวิสัยตลอดจนสิ่งแวดล้อมและอุปนิสัยของโจทก์จำเลยแล้ว ศาลฎีกาเชื่อว่า เมื่อกลับจากไปเที่ยวที่บางแสนแล้วโจทก์จำเลยได้มีปากเสียงกันก่อนจนกระทั่งถึงขั้นด่าทอกันเนื่องจากเกิดโทสะจริตวู่วามขึ้นมาทั้งสองฝ่าย ดังนั้น โจทก์จะเอาข้อความที่จำเลยกล่าวในการด่าทอกันว่า "โคตรแม่มึงไม่สั่งสอน มึงมันดอกทอง"มาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรงเพื่อเป็นเหตุฟ้องหย่าหาได้ไม่ จำเลยทำทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติไว้สองประการคือจะไม่ดูหมิ่นบุพการีของโจทก์และจะไม่ทำร้ายโจทก์ เมื่อกระทำของจำเลยในการด่าทอดังกล่าวไม่เป็นการหมิ่นประมาทบุพการีของโจทก์ ทั้งเรื่องการทำร้ายโจทก์ โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นไว้ในคำฟ้องว่าจำเลยผิดทัณฑ์บนในเรื่องทำร้ายโจทก์ด้วย ดังนั้นคดีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากันได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากันนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น เมื่อฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นตลอดจนฎีกาของโจทก์ที่ฎีกาว่า ศาลแพ่ง (ศาลชั้นต้นคดีนี้) มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่ขอให้โจทก์เป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์และที่ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่โจทก์ด้วย"

พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2528

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าจำเลยได้มีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 ตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้(พ.ศ.2525) ลักษณะการกระทำของจำเลยได้ทำต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดกระทำ การกระทำละเมิดของจำเลยได้เกิดขึ้นและมีอยู่ในขณะฟ้อง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเจิมจดทะเบียนสมรสเมื่อ พ.ศ. 2491 โจทก์และนายเจิมอยู่กินกันฉันสามีภรรยาตลอดมาจนถึงวันฟ้อง เมื่อ พ.ศ. 2517 โจทก์ทราบว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับนายเจิม โจทก์ได้ขอร้องให้จำเลยเลิก แต่จำเลยไม่ยอม จำเลยได้แสดงโดยเปิดเผยต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาว ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า ไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับนายเจิม โจทก์จำเลยยังมิได้หย่าขาดกัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 บัญญัติให้สิทธิฟ้องร้องตาม มาตรา 1523 ระงับไปเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับสามีโจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับสามีโจทก์เมื่อปี พ.ศ. 2517 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2524 โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้ออื่น ๆ อีกพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

ศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกระทำละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ได้กระทำต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้องและยังไม่สิ้นสุดลง คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่ เห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าจำเลยได้มีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ลักษณะการกระทำของจำเลยได้กระทำต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ การกระทำละเมิดของจำเลยได้เกิดขึ้นและมีอยู่ในขณะฟ้อง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
 

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
 

ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516 (1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้ (แก้ไข*ฉบับที่ 16*พ.ศ. 2550)

 

มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วัน ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้น กล่าวอ้าง
 

เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่ง อาศัยเหตุ อย่างอื่น

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2529

โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันโจทก์แยกไปอยู่กับมารดาของโจทก์โดยยกทรัพย์สินและบ้านให้จำเลยทั้งหมดปล่อยให้จำเลยอยู่ที่บ้านดังกล่าวกับบุตรตามลำพังโจทก์มิได้เคยส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูเยี่ยงสามีภรรยาและบิดามารดากับบุตรที่ดินที่ปลูกบ้านเป็นของบุคคลอื่นซึ่งต้องการที่ดินคืนโจทก์มิได้ไปมาหาสู่จำเลยการที่จำเลยขายบ้านหลังนี้ไปโดยพลการมิได้ปรึกษาหารือโจทก์โดยจำเลยมีเหตุจำเป็นดังกล่าวและเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยแล้วจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภรรยากันอย่างร้ายแรงโจทก์จะยกเอาเป็นข้ออ้Òงเป็นเหตุในการฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่. โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ทนอยู่กับจำเลยต่อมาจนถึงปีพ.ศ.2511โจทก์จึงแยกไปอยู่ที่อื่นโดยยอมยกทรัพย์สินและบ้านเรือนทั้งหมดให้จำเลยแล้วมิได้ติดต่ออยู่กินกันอีกเลยและจากนั้นโจทก์บรรยายฟ้องถึงจำเลยนำบ้านไปขายโดยพลการโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่าหลังจากแยกกันอยู่แล้วจำเลยตามไปรังควานโจทก์ฉะนั้นการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยไปทำลายประตูบ้านโจทก์และเอาอุจจาระไปป้ายที่นอนของโจทก์จึงเป็นการสืบนอกฟ้องศาลฎีกานำมาวินิจฉัยเป็นเหตุหย่าให้โจทก์ไม่ได้. โจทก์เป็นคนชอบดื่มสุราและเจ้าชู้การที่จำเลยรู้เรื่องราวจากภายนอกแล้วนำมาต่อว่าโจทก์เป็นครั้งคราวจริงบ้างไม่จริงบ้างแล้วทะเลาะกันเช่นนี้โจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อเหตุอยู่บ้างการที่จำเลยต่อว่าถึงเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ภรรยามีความรักสามีโจทก์อยู่ในฐานะที่จะป้องกันเหตุเหล่านี้มิให้เกิดขึ้นได้โดยการละเว้นความประพฤติดังกล่าวก็ไม่มีเหตุที่จำเลยจะหึงหวงโจทก์ต้องทะเลาะกันดังนั้นการกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขั้นเป็นผู้ประพฤติชั่วอันทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงหรือได้รับความดูถูกเกลียดชังหรือได้รับควาÁเดือดร้อนจนเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าจำเลยได้.

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ จำเลย จด ทะเบียน สมรส เกิด บุตร ด้วยกัน 5คน จำเลย เป็น คน ขี้หึง และ ปากร้าย ได้ ทะเลาะ ด่าว่า ล่วงเกิน โจทก์และ บิดา โจทก์ เนืองๆ เพื่อ ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ อับอาย โดย มิได้ให้ เกียรติ โจทก์ และ บิดา มารดา โจทก์ ออก ปาก ขับไล่ โจทก์ ตลอดมาจน ถึง พ.ศ. 2511 โจทก์ แยก ไป อยู่ ที่อื่น โดย ยอม ยก ทรัพย์สินและ บ้านเรือน ให้ จำเลย ทั้งหมด แล้ว มิได้ ติดต่อ อยู่กิน กัน จนบัดนี้ ภายหลัง จำเลย ได้ ขาย บ้าน ที่ ร่วมกัน ปลูก ใน ที่ดิน ที่ เช่านั้น ไป และ อพยพ ไป อยู่ ที่อื่น พฤติการณ์ ดังกล่าว ถือ ได้ ว่า จำเลยทำการ เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ การ เป็น สามี ภรรยา ต่อ โจทก์ อย่าง ร้ายแรงขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้ หย่าขาด จาก กัน

จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มิได้ ประพฤติ ชั่ว ไม่ เคย หมิ่นประมาท หรือเหยียดหยาม บุพการี ของ โจทก์ อย่าง ร้ายแรง โจทก์ มี ภรรยา ใหม่ และจงใจ ละทิ้ง ร้าง จำเลย โจทก์ เคย ฟ้อง หย่า จำเลย ศาล พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึง ไม่ ให้ ความ ช่วยเหลือ อุปการะ เลี้ยงดู จำเลย และ บุตรทำ ให้ จำเลย ลำบาก ใน การ ดำรงชีพ ประกอบ เจ้าของ ที่ดิน ต้องการที่ดิน คืน จำเลย จึง ต้อง ขาย บ้าน เพื่อ นำ เงิน มา เลี้ยงดู บุตร

ศาลชั้นต้น เห็นว่า ฟ้อง โจทก์ เป็น ฟ้อง ซ้ำ พิพากษา ยกฟ้อง

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ฟ้อง โจทก์ ไม่ เป็น ฟ้องซ้ำ การ ที่ จำเลย ขายบ้าน ไม่ เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ การ เป็น สามี ภรรยา กัน ฟ้อง โจทก์ ไม่ได้ บรรยาย ว่า จำเลย ได้ รังควาน โจทก์ จึง ไม่ มี ประเด็น ที่ จะนำสืบ พิพากษา ยืน

โจทก์ ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัยว่าตามฎีกาของโจทก์ที่โจทก์ ฎีกาว่า การขายบ้านหลังโรงพยาบาลโพธาราม ที่จำเลยอยู่อาศัยไปโดยพลการถือว่าจำเลยกระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามี ภรรยา กันอย่าง ร้ายแรง โจทก์ จึง มี สิทธิ ที่ หย่า กับ จำเลย ได้ นั้น ในปัญหา นี้ ได้ ความ ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ ว่า' โจทก์ ทน อยู่ กับ จำเลยจน ถึง พ.ศ. 2511 โจทก์ จึง แยก ไป อยู่ ที่ อื่น โดย ยอม ยกทรัพย์ทรัพย์สิน และ บ้าน ให้จำเลย ทั้งหมด' ประกอบ กับ ตาม ข้อ นำสืบ ของโจทก์ และ จำเลย ฟัง ได้ ว่า หลังจาก โจทก์ แยก ไป อยู่ กับ มารดาของ โจทก์ แล้ว คง ปล่อย ให้ จำเลย อยู่ บ้าน หลัง โรงพยาบาล โพธารามพร้อมกับ บุตร ตาม ลำพัง ทั้ง ปรากฏ ว่า โจทก์ มิได้ เคย ส่งเสียอุปการะ เลี้ยงดู จำเลย และ บุตร เยี่ยง สามี ภรรยา และ บิดา มารดากับ บุตร นอกจาก นี้ ยัง ปรากฏ อีก ว่า ที่ดิน ที่ ปลูก บ้าน เป็นที่ดิน ของ คนอื่น ซึ่ง ต้องการ ที่ดิน คืน โจทก์ มิได้ ไป มา หา สู่จำเลย จำเลย ได้ ขาย บ้านหลัง นี้ ไป โดย พลการ มิได้ ปรึกษา หารือโจทก์ โดย จำเลย มี เหตุ จำเป็น ดังกล่าว ข้างต้น และ เป็น ทรัพย์สินที่ โจทก์ ยก ให้ แก่ จำเลย แล้ว จึง ถือ ไม่ ได้ ว่า การ กระทำ ของจำเลย เป็น การ กระทำ ตน ที่ เป็น ปฏิปักต์ ต่อ การ ที่ เป็น สามีหรือ ภรรยา กัน อย่าง ร้ายแรง โจทก์ จะ ยก เอา เป็น ข้ออ้าง เป็น เหตุใน การ ฟ้อง หย่า จำเลย หา ได้ ไม่

ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ นำสืบ ว่า หลักจาก โจทก์ แยก กัน ไป อยู่ที่ อื่น แล้ว จำเลย ตาม ไป รังควาน โจทก์ อีก ไม่ เป็น การ สืบ นอกฟ้องนั้น ศาลฎีกา ตรวจฟ้อง ของ โจทก์ แล้ว เห็นว่า โจทก์ บรรยาย ฟ้องเพียง ว่า โจทก์ ทน อยู่ กับ จำเลย ต่อ มา จน ถึง ปี พ.ศ. 2511 โจทก์จึง แยก ไป อยู่ ที่อื่น โดย ยอม ยก ทรัพย์สิน และ บ้านเรือน ทั้งหมดให้ จำเลย แล้ว มิได้ ติดต่อ อยู่กิน กัน อีก เลย และ จาก นั้น โจทก์ก็ บรรยาย ฟ้อง ถึง จำเลย นำ บ้าน ไป ขาย โดย พลการ โจทก์ มิได้ บรรยายฟ้อง เลย ว่า หลังจาก แยกกัน อยู่ แล้ว จำเลย ตาม ไป รังควาน โจทก์แต่ ประการ ใด ฉะนั้น การ ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย ตาม ไป ทำลายประตู บ้าน โจทก์ และ เอา อุจจาระ ไป ป้าย ที่นอน ของ โจทก์ จึง เป็นการ สืบ นอก ฟ้อง ศาลฎีกา จึง ไม่ อาจ นำ มา วินิจฉัย ว่า เป็น เหตุหย่า ให้ โจทก์ ได้

โจทก์ ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง ว่า นาย ทวีศักดิ์ จิตรธรรมพงศ์ พยาน จำเลยเอง เบิกความ ว่า 'จำเลย เป็น คน ขี้หึง พอ ได้ ข่าว มา ก็ โวยวายบางครั้ง บางคราว จะ จริง หรือ ไม่ จริง ก็ ทะเลาะ กัน' จึง เป็น เหตุหย่า ได้ นั้น ศาลฎีกา เห็น ว่า โจทก์ ยอมรับ ว่า โจทก์ ได้ พา หญิงอื่น มา อยู่ร่วม ฉัน สามี ภรรยา กับ โจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริง จึงน่าเชื่อ ตาม ที่ จำเลย นำสืบ ว่า โจทก์ เป็น คน ชอบ ดื่ม สุรา และ เป็นคน เจ้าชู้ ชอบ ติดพัน หญิง อื่น ฐาน ชู้สาว การ ที่ จำเลย ได้ ไปรู้ เรื่องราว จาก ภายนอก แล้ว จำเลย ได้ นำ มา ต่อว่า โจทก์ เป็นครั้งคราว จริง บ้าง ไม่ จริง บ้าง แล้ว ทะเลาะ กัน เช่นนี้ เห็น ว่าโจทก์ มี ส่วน เป็น ผู้ ก่อเหตุ อยู่ บ้าง การ ที่ จำเลย ต่อว่า ต่อขานถึง เรื่อง นี้ จึง เป็น เรื่อง ของ ธรรมดา ที่ ภรรยา มี ความ รัก ต่อสามี โจทก์ อยู่ ใน ฐานะ ที่ จะ ป้องกัน เหตุ เหล่านี้ มิให้ เกิด ขึ้นโดย การ ละเว้น ความ ประพฤติ ดังกล่าว ข้างต้น ก็ ไม่ มี เหตุ ที่จำเลย จะ หึงหวง โจทก์ จน ต้อง ทะเลาะ กัน ดังนั้น การ กระทำ ของ จำเลยยัง ไม่ ถึง ขั้น จำเลย เป็น ผู้ ประพฤติ ชั่ว อัน ทำ ให้ โจทก์ ได้รับ ความ อับอาย ขายหน้า อย่าง ร้ายแรง หรือ ได้ รับ ความ ดูถูกเกลียดชัง หรือ ได้ รับ ความเสียหาย เดือดร้อน จน เป็น เหตุ ให้ โจทก์ฟ้อง หย่า จำเลย ได้

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 142 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสิน ตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
(1) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภท เดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเมื่อ ศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้ บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บน อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(2) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่ พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(3) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึง วันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ย จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(4) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่อง คำนวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่า เช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้ จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษา ก็ได้
(5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้นเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้น ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(6) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย ซึ่งมิได้มี ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำนึง ถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ศาล จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิ ได้รับตามกฎหมาย แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้อง หรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2529

แม้การที่จำเลยใช้กำลังกายปลุกปล้ำและทำร้ายท.ลูกจ้างโดยส่อเจตนาว่าจะใช้กำลังบังคับข่มขืนใจให้ท.ยินยอมให้จำเลยร่วมประเวณีนั้นจะเกิดขึ้นภายในบ้านไม่มีบุคคลภายนอกรู้เห็นก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นภริยาได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงต่อท.ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ และ จำเลย เป็น สามี ภริยา กัน โดย ชอบ ด้วยกฎหมาย มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 เมื่อ เดือน มิถุนายน 2524 จำเลย ใช้ กำลังข่มขืน จะ เอา นางสาว ทา ลูกจ้าง ไป หลับนอน ด้วย แต่ นางสาว ทา ไม่ยินยอม จึง ถูก จำเลย ทำร้าย ขอ ให้ พิพากษา ให้ โจทก์ จำเลย หย่าขาดจาก การ เป็น สามี ภริยา กัน ให้ จำเลย ไป จด ทะเบียน การ หย่า กับโจทก์ หาก จำเลย ไม่ ไป ให้ ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนาของ จำเลย

จำเลย ให้การ และ แก้ คำให้การ ว่า จำเลย ไม่ เคย ใช้ กำลัง ข่มขืนนางสาว ทา ขอ ให้ ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ จำเลย หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยากัน ให้ จำเลย ไป จด ทะเบียน หย่า กับ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนา ของ จำเลย

จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน

จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เกิดขึ้นภายใน บ้าน จำเลย ไม่ มี บุคคล ภายนอก รู้เห็น และ จำเลย เพียงแต่จับมือ และ ตบหน้า นางสาว ทา จะ ถือ ได้ หรือไม่ ว่า จำเลย ประพฤติ ชั่วเป็น เหตุ ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ อับอาย ขายหน้า อย่าง ร้ายแรง โจทก์มี สิทธิ ฟ้อง หย่า ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 1516 (2) (ก) ได้หรือไม่ เห็น ว่า การ ที่ จำเลย ได้ ใช้ กำลังกาย ปลุกปล้ำ นางสาว ทาลูกจ้าง และ เมื่อ นางสาว ทา ขัดขืน จำเลย จึง ตบหน้า โดย ส่อ เจตนาว่า จะ ใช้ กำลัง เข้า บังคับ ข่มขืน ใจ ให้ นางสาว ทา ยินยอม ให้จำเลย ร่วม ประเวณี นั้น แม้ เหตุ จะ เกิดขึ้น ภายใน บ้าน ไม่ มี บุคคลภายนอก รู้เห็น ก็ ตาม ก็ ถือ ได้ ว่า เป็น เหตุ ให้ โจทก์ ได้ รับความ อับอาย ขายหน้า อย่าง ร้ายแรง ต่อ นางสาว ทา ซึ่ง เป็น ลูกจ้างที่ จำเลย กระทำ ต่อ นางสาว ทา ดังกล่าว และ ถือ ได้ ว่า จำเลย ประพฤติชั่ว โจทก์ จึง ฟ้อง หย่า จำเลย ได้

พิพากษา ยืน.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) ........

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2530

ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคแรก จะมีได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุที่สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือภริยามีชู้ ตามมาตรา 1516(1)เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาได้.

 

โจทก์ฟ้องหย่าโดยอ้างเหตุว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์และอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา และขอให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ 20,000 บาท

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 'จำเลยฎีกาข้อหนึ่งว่า โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2527 โจทก์ฟ้องวันที่ 22 มกราคม2528 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมหย่าทั้งที่ข้อเท็จจริงหย่ากันแล้วศาลควรพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2527 โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากหย่ากันแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอหย่าและไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนแต่อย่างใดเพราะว่าค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคแรก จะมีขึ้นได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516 (1) เท่านั้น หากจำเลยผิดสัญญาไม่จ่ายเงินให้โจทก์ก็ชอบที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา จะนำคดีมาฟ้องเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาข้ออื่นต่อไป'

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2)......

มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
 

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
 

ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516 (1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้ (แก้ไข*ฉบับที่ 16*พ.ศ. 2550)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2531

จำเลยชอบเล่นการพนันมานาน โจทก์ห้ามปรามก็ไม่เชื่อบางครั้งนำทรัพย์สินภายในบ้านไปจำนำเอาเงินไปเล่นการพนันจำเลยเคยถูกจับฐานเล่นการพนันถูกดำเนินคดีจนศาลพิพากษาลงโทษ ก็ยังไม่เลิก โจทก์เป็นตำรวจต้องถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปตักเตือนว่าหากไม่ห้ามให้จำเลยเลิกเล่น จะย้ายโจทก์ โจทก์ต้องเลี้ยงดูทั้งครอบครัว เมื่อจำเลยเล่นการพนันเสียบางครั้งเงินก็ไม่พอใช้จ่ายพฤติการณ์ของจำเลยถือว่าเป็นการประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นสามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง และได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(2)(ก)และ(ค)

การจดทะเบียนการหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้นศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 5 คน ยังเป็นผู้เยาว์ จำเลยได้ประพฤติชั่วด้วยการเล่นการพนันเป็นอาจิณจนถูกจับดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษปรับไปแล้ว แต่จำเลยไม่เข็ดหลาบ ได้นำทรัพย์สินของโจทก์ไปจำนำกับบุคคลอื่นเพื่อนำเงินไปเล่นการพนันจนหมดตัว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีของจำเลยที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป ได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดกับโจทก์ ณ สำนักงานทะเบียนหากจำเลยขัดขืนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย กับให้บุตรทั้ง 5 คนอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์แต่ผู้เดียว

จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเล่นการพนัน โจทก์มีภริยาน้อยหลังจากนั้นโจทก์ไม่เคยให้เงินเดือนจำเลย การจำนำสิ่งของเพราะขัดสนเงินทองที่จะนำมาซื้ออาหารบริโภคในครอบครัวขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนหย่าขาดกับโจทก์ ณสำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองเพชรบุรี หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยกับให้บุตรทั้ง 5 คน อยู่ในความปกครองของโจทก์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยชอบเล่นการพนันโจทก์ห้ามปรามจำเลยก็ไม่เชื่อ บางครั้งถึงกับเอาทรัพย์สินภายในบ้านและของส่วนตัวของโจทก์ไปจำนำเอาเงินไปเล่นการพนัน โจทก์ต้องไปไถ่ทรัพย์คืน

ส่วนในปัญหาที่ว่า ข้อเท็จจริงเท่าที่รับฟังมาดังกล่าวจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (2)(ก)(ข) และ (ค) หรือไม่นั้น ตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว บัญญัติว่า (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไปหรือ (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ เช่นนี้ เห็นว่า จากข้อเท็จจริงที่ได้ความ จำเลยชอบเล่นการพนันมานานโดยได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า จำเลยแอบเล่นการพนันมาตั้งแต่มีลูกคนแรกแล้วโจทก์ห้ามปรามจำเลยไม่เชื่อ เพื่อนตำรวจด้วยกันกับโจทก์ต่างรู้เรื่องนี้ บางครั้งจำเลยเอาทรัพย์สินภายในบ้านและของส่วนตัวของโจทก์ไปจำนำ เอาเงินไปเล่นการพนัน โจทก์ต้องไปไถ่ทรัพย์คืน ทั้งเคยถูกจับฐานเล่นการพนันถูกดำเนินคดีจนศาลพิพากษาปรับ ก็ยังไม่เลิก นางสาววิไลลักษณ์ จงดี พยานโจทก์เบิกความว่า จำเลยแอบไปเล่นไพ่เป็นประจำ บางครั้งหายไปนานถึง 10 วัน แสดงว่าเป็นการเล่นการพนันบ่อย เล่นมานานและเล่นอย่างหามรุ่งหามค่ำ และมีผลเสียหายมาก มิใช่เป็นการเล่นเพื่อสังคมหรือพักผ่อนหย่อนใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ทั้งปรากฏว่าโจทก์เป็นตำรวจ ต้องถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปตักเตือนว่าหากไม่ห้ามให้จำเลยเลิกเล่นการพนันจะย้ายโจทก์ไปต่างจังหวัด และโจทก์มีเงินเดือนเพียงเดือนละประมาณ4,000 บาท ต้องเลี้ยงดูทั้งครอบครัว เมื่อจำเลยเล่นการพนันเสีย บางครั้งเงินก็ไม่พอใช้จ่ายพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวมาถือเป็นการประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นสามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง และได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อันทำให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (2) (ก) และ (ค)ส่วนในข้อการปกครองและอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นั้นข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นผู้อุปการะครอบครัวมาตลอดจำเลยไม่มีอาชีพอะไร จึงสมควรที่จะให้โจทก์เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้ง 5 คน แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น เห็นว่าการจดทะเบียนการหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น จึงไม่จำต้องสั่งคำขอข้อนี้ของโจทก์

พิพากษากลับว่า ให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน โดยให้โจทก์เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้ง 5 คน แต่ผู้เดียว.

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
 

เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
 

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
 

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป
 

การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จด ทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2532

โจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังโจทก์กล่าวหา ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้แบ่งสินสมรส ดังนี้ศาลจะต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุหย่าตามฟ้องหรือไม่ถ้าไม่มีเหตุหย่า ศาลก็พิพากษายกฟ้องไป ไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าถ้าศาลพิพากษาหย่าก็ให้แบ่งสินสมรส จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลรับคำให้การแต่ไม่รับฟ้องแย้ง.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
 

ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
 

จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
 

ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18

บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลม

มาตรา 179 โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้างหรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรก ก็ได้
การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
(1) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในฟ้องเดิม หรือ
(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้ บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครอง สิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เป็นข้อแก้ข้อหาเดิมหรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้างหรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหาหรือ เพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
 

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธี ฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะ รวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2532

การที่จำเลยได้เข้ามาที่บริษัทซึ่งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและกรรมการบริษัทและพูดกับพนักงานหญิงของบริษัทว่า "พวกนางดอกทอง ระวังตัวอย่ามาแย่งผัว" และเรียกพนักงานชายมาต่อว่าว่า "ระวังเมียเจ้าให้ดี อย่าให้มายุ่งกับผัวข้า" นั้นจำเลยกระทำไปด้วยอารมณ์หึงหวงเพื่อเป็นการป้องกันมิให้โจทก์กับพนักงานหญิงของบริษัทมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน อันจะเป็นสาเหตุทำให้โจทก์ละทิ้งจำเลยและบุตรของจำเลยหลายคนอันเกิดแต่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติชั่วอันทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือได้รับความดูถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยได้.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยากัน มีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2 คน เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2526 จำเลยได้ด่าโจทก์และพนักงานหญิงทั่วไปในบริษัทต่าง ๆ ที่โจทก์เป็นที่ปรึกษาและกรรมการว่า โจทก์เป็นชู้กับพนักงานหญิงในบริษัท เรียกสามีของพนักงานหญิงในบริษัทไปบอกว่าภริยาเป็นชู้กับโจทก์และด่าประณามบุพการีของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความอับอาย ถูกดูหมิ่น ทำให้บุตรบริวาร และผู้ใกล้ชิดสิ้นความเคารพเชื่อถือโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและให้บุตรทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์

จำเลยให้การว่า มิได้ประพฤติตามโจทก์ฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์จำเลยจดทะเบียนเป็นสามีภริยากัน มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 9 คน ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2 คน ปัญหามีว่า จำเลยได้กระทำการตามฟ้องอันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้หรือไม่ โจทก์มีพยานปากเดียว คือ นายกุณฑลไชยเศรษฐ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ดำเนินคดีนี้ ซึ่งเบิกความว่า เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2526 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ขณะที่นายกุณฑลและพนักงานของบริษัททำงานอยู่ในบริษัท จำเลยได้เข้ามาที่บริษัทและพูดกับพนักงานของบริษัทว่า "พวกนางดอกทอง ระวังตัวอย่ามาแย่งผัว" และเรียกนายศุภชัยพนักงานคนหนึ่งของบริษัทมาต่อว่าว่า "ระวังเมียเจ้าให้ดี อย่าให้มายุ่งกับผัวข้า" จากนั้นจำเลยขึ้นไปด่าโจทก์ที่ชั้นสองประมาณ 20 นาที ก็ออกไปจากบริษัท ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จะฟังได้ดังคำเบิกความของนายกุณฑลว่า จำเลยได้ด่าพนักงานของบริษัทด้วยถ้อยคำหยาบคายดังกล่าว แต่จำเลยก็กระทำไปด้วยอารมณ์หึงหวงเพื่อเป็นการป้องกันมิให้โจทก์กับพนักงานหญิงของบริษัทมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน อันจะเป็นสาเหตุทำให้โจทก์ทิ้งจำเลยและบุตรของจำเลยหลายคนอันเกิดแต่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติชั่วอันจะทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือได้รับความดูถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินควร ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายกุณฑลต่อไปว่า หลังจากจำเลยออกไปจากบริษัทแล้ว โจทก์ได้ออกมาบอกนายกุณฑลว่า โจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนใจอย่างมาก เนื่องจากถูกจำเลยด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย แต่ก็ไม่ได้บอกนายกุณฑลว่าจำเลยด่าอย่างไร และต่อมาในเดือนตุลาคม 2526 โจทก์ได้รับโทรศัพท์แล้วมาเล่าให้นายกุณฑลฟังว่า จำเลยได้โทรศัพท์มาด่าและแช่งโจทก์ให้ตายเหมือนหมากลางถนนก็ตาม คำเบิกความของนายกุณฑลก็เป็นแต่เพียงได้รับบอกเล่ามาจากโจทก์มิได้รู้เห็นหรือได้ยินด้วยตนเอง ทั้งโจทก์ก็มิได้มาเบิกความสนับสนุนให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็เบิกความปฏิเสธว่าไม่เคยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย ทั้งต่อหน้าและทางโทรศัพท์ พยานโจทก์ที่นำสืบยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องอันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
 

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3).......

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2532

การที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ขอแบ่งเงินเดือนเนื่องจากโจทก์ไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้จำเลยบ้าง การกระทำดังกล่าวก็เพื่อคุ้มครองสิทธิที่จำเลยคิดว่าควรจะได้ จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ โจทก์เป็นฝ่ายไม่ไปมาหาสู่จำเลยตามหน้าที่สามีที่ดีเป็นเวลานานหลายปี ทั้งยังได้หญิงอื่นเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกัน จำเลยเองกลับเป็นฝ่ายไปหาโจทก์บ่อย ๆจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายทิ้งร้างโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันมีบุตรด้วยกัน 3 คน ต่อมาจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ส่งเสียเลี้ยงดูมารดาโจทก์และหาเรื่องฟ้องโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาจำเลยจงใจทิ้งร้างโจทก์ไปเกินกว่า 1 ปี ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประพฤติเสื่อมเสียตามโจทก์อ้าง โจทก์ออกจากบ้านที่อยู่อาศัยกับจำเลยไปปฏิบัติราชการที่ภาคใต้ และไปอยู่กินกับหญิงอื่นมีบุตรด้วยกัน1 คน โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยเพื่อจะจดทะเบียนสมรสกับภริยาใหม่ของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาว่า จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากับโจทก์อย่างร้ายแรง และจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน1 ปี หรือไม่ โจทก์เบิกความว่า จำเลยมีปฏิกิริยาที่โจทก์ส่งเงินให้แก่มารดาโจทก์ ได้พูดจาว่ากันต่าง ๆ นานา ขณะที่โจทก์ไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์เอาบุตรคนโตไปอยู่กับมารดาโจทก์และให้จำเลยส่งเงินไปให้มารดาโจทก์ เมื่อกลับมาก็ทราบว่าจำเลยส่งเงินให้มารดาโจทก์บ้างบางครั้ง หลังจากนั้นโจทก์ไม่ไว้ใจเรื่องการเงินจึงจัดการเองจำเลยไม่พอใจและพูดว่าโจทก์เสียหายต่าง ๆ นานา และโจทก์กับจำเลยก็ทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่อยมาแต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยา ต่อมาช่วงเวลาที่โจทก์อยู่ที่จังหวัดลพบุรีวันเสาร์อาทิตย์โจทก์กลับจากจังหวัดลพบุรี โจทก์ไม่เข้าบ้านเพราะมักทะเลาะกัน จึงไปอยู่กับเพื่อน โจทก์จำเลยเคยพูดเรื่องที่จะแยกทางกันและตกลงกันว่าโจทก์จะเลี้ยงบุตรชาย 2 คน จำเลยจะเลี้ยงบุตรสาวแล้วจะไปจดทะเบียนหย่า พูดกันประมาณกลางเดือนธันวาคม 2512 แต่จำเลยกลับคำไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงกลับไปทำงานที่จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันนั้นโจทก์กับจำเลยก็ไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ต่อมาปี พ.ศ. 2523 จำเลยไปร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ขอแบ่งเงินเดือนครึ่งหนึ่งผู้บังคับบัญชาเรียกโจทก์จำเลยมาพูดจากัน และพูดว่าเงินเดือนแบ่งไม่ได้ขอให้ฟ้องต่อศาลขณะอยู่ที่จังหวัดลพบุรีจำเลยไม่เคยไปมาหาสู่โจทก์เลย บ้านที่จำเลยให้การว่าอยู่จังหวัดกาญจนบุรีนั้น โจทก์ไม่เคยอยู่ เป็นบ้านของทางราชการมอบให้โจทก์ดูแล โจทก์ไม่เคยมาหาจำเลยและไม่ทราบว่าจำเลยจะไปอยู่ที่ใด โจทก์รู้จักนางสาววรรณา มีความสัมพันธ์สนิทสนมกันลึกซึ้ง และโจทก์รับรองบุตรของนางสาววรรณาเป็นบุตรโจทก์และอนุญาตให้ใช้นามสกุลโจทก์ได้ เห็นว่า ตามคำเบิกความของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยกระทำการอย่างใดที่จะถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง การที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ขอแบ่งเงินเดือนก็คงเป็นเพราะโจทก์ไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อคุ้มครองสิทธิที่จำเลยคิดว่าจำเลยควรได้ไม่ถือว่าการกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ โจทก์เองกลับเป็นฝ่ายไม่ไปมาหาสู่จำเลยตามหน้าที่สามีที่ดีเป็นเวลานานหลายปีทั้งยังได้หญิงอื่นเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกันอีกด้วย ส่วนจำเลยก็มีนางสาวสิรินพร สอนไวสาตร์บุตรสาวของโจทก์จำเลยเบิกความว่า ขณะที่บิดารับราชการอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี พยานเคยไปเยี่ยมบิดาประมาณเดือนละ 2 ครั้ง โดยไปกับมารดา ก็แสดงว่า จำเลยเป็นฝ่ายไปหาโจทก์บ่อย ๆ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายทิ้งร้างโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องหย่าจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1).......

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5).....

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7).........

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2533

คำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 2 เป็นชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโจทก์ การเป็นชู้ย่อมเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์ นับเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์อยู่ในตัว ทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ และขอให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทน นับได้ว่าเป็นการแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์นำสืบว่าโจทก์เดินทางไปต่างประเทศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2526 และโจทก์ได้ทราบเรื่องจำเลยเป็นชู้เมื่อต้นเดือนเมษายน 2527 จำเลยมิได้สืบหักล้างให้เห็นว่าโจทก์ทราบเรื่องตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2526 จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนเมษายน 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่13 ธันวาคม 2527 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี สิทธิฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2525 โจทก์ไปรับจ้างทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ระหว่างนั้นได้มาเยี่ยมครอบครัวหลายครั้งและได้เดินทางกลับไปประเทศซาอุดีอาระเบียครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2526 ในระหว่างที่ทำงานอยู่ โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติเสื่อมเสียในทำนองชู้สาวกับจำเลยที่ 2 โจทก์จึงเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2527 จึงทราบว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดศีลธรรมส่อไปในทางชู้สาว มักเที่ยวเตร่ในยามค่ำคืน การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการประพฤติชั่วถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรง การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหายอับอายขายหน้า เสียชื่อเสียง เกียรติคุณ และต้องลาออกจากงานที่ทำอยู่ในต่างประเทศเพื่อมาดูแลครอบครัวในประเทศไทย ทำให้ขาดรายได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาจดทะเบียนหย่าแทนจำเลยที่ 1 ในเมื่อไม่ไปจดทะเบียนหย่า ให้บุตรทั้งสองอยู่ในความปกครองของโจทก์ ให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าทดแทนให้โจทก์100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยประพฤติผิดศีลธรรมในทำนองชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ขาดอายุความและเคลือบคลุมขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนหย่าให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน ให้บุตรทั้งสองอยู่ในความปกครองของโจทก์ ให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการแรกว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เห็นว่าตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 2 เป็นชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโจทก์ การเป็นชู้ย่อมเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์ นับเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์อยู่ในตัว ทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณและขอให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทน นับได้ว่าเป็นการแจ้งชัดทั้งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

ประการที่สอง สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 หรือไม่ เห็นว่าตามที่โจทก์นำสืบปรากฏว่าโจทก์เดินทางไปต่างประเทศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2526 และโจทก์ได้ทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อต้นเดือนเมษายน 2527 ซึ่งจำเลยมิได้สืบหักล้างให้เห็นว่าโจทก์ทราบเรื่องตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2526 จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนเมษายน 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2527 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี สิทธิฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง"

พิพากษายืน

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วัน ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้น กล่าวอ้าง
 

เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่ง อาศัยเหตุ อย่างอื่น

มาตรา 172 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 57 ให้โจทก์เสนอ ข้อหาของตนโดยทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
 

คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
 

ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือ ให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2533

การที่จำเลยเมาสุรากลับเข้าบ้านและด่า โจทก์ว่า "มึงเลว มึงมีชู้ ไม่สมควรอยู่กับกู แม่มึงไม่ดี ไม่เคยสั่งสอน" แล้วจำเลยยังได้ตบ ตีโจทก์ได้รับบาดเจ็บบริเวณขอบตาซ้าย จนโจทก์ต้องรับการรักษาจากแพทย์ในวันรุ่งขึ้น โจทก์ต้องออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับน้องสาวเพราะได้รับความคับแค้นใจจากการอยู่กินกับจำเลยนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง พร้อมทั้งเป็นการทำร้ายร่างกายโจทก์ จึงมีเหตุให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยได้ จำเลยกู้เงินบุคคลภายนอกมาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นสินสมรสโดยโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการกู้เงินดังกล่าวโจทก์จึงต้องร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้รายนี้ ฉะนั้นศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์จำเลยร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้คนละครึ่งได้.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากัน จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย จนบัดนี้จำเลยประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรงโดยจำเลยไม่ยอมอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ฉันสามีภรรยาเป็นเวลากว่า 2 ปี ทั้งหาเรื่องทะเลาะวิวาททุบตีโจทก์และด่าโจทก์ อันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม หมิ่นประมาทอยู่เสมอและขับไล่โจทก์ไม่ยอมให้อยู่ร่วมกับจำเลย ต่อมาจำเลยเสพสุรามึนเมาจากนอกบ้านแล้วกลับมาหาเรื่องทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายโจทก์ได้รับบาดเจ็บ จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์กับบุพการีโจทก์ในที่สาธารณะต่อหน้าบุคคลอื่น ทำให้โจทก์อับอายถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง โจทก์ไม่อาจอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภรรยาต่อไปได้ระหว่างที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกัน มีสินสมรสที่ได้ร่วมกันทำมาหาได้คือที่ดินโฉนดเลขที่ 48484 เนื้อที่ 57 ตารางวา และบ้านสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้เลขที่ 102/68 ปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ราคาประมาณอย่างละ 200,000 บาทพร้อมทรัพย์สินภายในบ้านอีกราคาประมาณ 30,000 บาท รวมทรัพย์สินทั้งสิ้นราคา 430,000 บาท โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 215,000 บาท โจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยากับจำเลยต่อไป และได้เคยบอกกล่าวขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน พร้อมให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินจำนวน215,000 บาทแก่โจทก์ จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากับโจทก์ ณที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาจดทะเบียนหย่าแทนจำเลย ให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำนวน 215,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะแบ่งให้โจทก์เสร็จ หากจำเลยไม่ยอมแบ่งให้โจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้ศาลมีคำสั่งนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 จำเลยประกอบอาชีพรับจ้างเลี้ยงดูครอบครัวแต่ผู้เดียวโจทก์ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ อยู่กับบ้าน โจทก์ประพฤติตนไม่เหมาะสมชอบเที่ยวเตร่ดื่มสุราเป็นอาจิณ จำเลยว่ากล่าวตักเตือน โจทก์ไม่เชื่อฟัง จำเลยไม่เคยทะเลาะทุบตีโจทก์หรือดูถูกเหยียดหยามโจทก์หรือบุพการีของโจทก์ จำเลยประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์โจทก์ไม่มีเหตุจะฟ้องหย่าจำเลยได้ ในระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์สินคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 48585 (ที่ถูกต้อง 48584) เนื้อที่57 วา พร้อมบ้านหนึ่งหลัง รวมราคา 200,000 บาท จำเลยนำบ้านและที่ดินไปเป้นหลักประกันการกู้ยืมเงินมาตกแต่งบ้านจำนวน 100,000บาท ยังไม่ได้ชำระให้ผู้ให้กู้ โจทก์หลบหนีจากบ้านได้นำเครื่องทองรูปพรรณเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมทรัพย์สินในบ้านประมาณราคา 10,000 บาท ไปด้วย หากศาลมีคำพิพากษาให้หย่ากันโจทก์ต้องนำทรัพย์สินคืนมาแล้วร่วมกันชำระหนี้ก่อนจึงจะทำการแบ่งทรัพย์สินกันขอให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์กลับมาอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยต่อไป

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ถ้าไม่ไปให้เอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้แบ่งสินสมรสตามที่ระบุไว้ในคำพิพากษาเท่ากันโดยให้ร่วมรับผิดชำระหนี้นางเป้า ฤทธิแปลกคนละครึ่ง หากการแบ่งสินสมรสไม่อาจทำได้ ให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างโจทก์จำเลยหรือขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งคนละครึ่งคำขอโจทก์นอกจากนี้ให้ยก

โจทก์ จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2520และตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2527 โจทก์ออกจากบ้านไม่กลับมาอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยอีก ที่ดินและบ้านตามฟ้องเป็นสินสมรส ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประเด็นแรกมีว่า มีเหตุให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยได้หรือไม่...ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา จำเลยไม่ได้ให้เงินอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์ต้องขอเงินจากมารดาใช้จ่าย จำเลยหาเหตุดุด่าทุบตีโจทก์เป็นประจำเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2527 เวลาประมาณ 20นาฬิกา ขณะโจทก์นั่งคุยกับนางสมใจ พูลผล เพื่อนบ้านและนายประเทืองปานแสง น้องโจทก์ ที่บ้านโจทก์อยู่ จำเลยเมาสุรากลับเข้าบ้านด่าโจทก์ว่า "มึงมีชู้ไม่สมควรอยู่ร่วมกับกู มึวเลวทั้งโคตร" ...ต่อมาวันที่ 23 พฤษภาคม 2527 เวลาประมาณ 24 นาฬิกา จำเลยเมาสุรากลับเข้าบ้านและได้ด่าโจทก์อีกว่า "มึงเลว มึงมีชู้ไม่สมควรอยู่กับกู แม่มึงไม่ดี ไม่เคยสั่งสอน" แล้วจำเลยตบตีโจทก์ได้รับบาดเจ็บบรเิวณขอบตาซ้ายจนโจทก์ต้องรับการรักษาจากแพทย์ในวันรุ่งขึ้นปรากฏตามใบสำคัญความเห็นของแพทย์เอกสารหมาย จ.2 โจทก์ไม่อาจอยู่ร่วมกัยจำเลยได้ต้องไปอาศัยนางขันทอง นาคทิม น้องโจทก์อยู่จนบัดนี้... จึงน่าเชื่อว่าการที่โจทก์ออกจากบ้านไปเพราะได้รับความคับแค้นใจจากการอยู่กินกับจำเลยในบ้าน รูปคดีจึงฟังได้ตามพยานหลักฐานโจทก์ว่าจำเลยได้กระทำการหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง พร้อมทั้งได้ทำร้ายโจทก์ด้วย จึงมีเหตุให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยได้ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประเด็นต่อไปเกี่ยวกับเรื่องหนี้นั้น จำเลยนำสืบว่า จำเลยได้กู้เงินนางเป้า ฤทธิ์แปลกจำนวน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย ล.1 และยังไม่ได้ชำระหนี้...การกู้เงินตามเอกสารหมาย ล.1 ก็เป็นการกู้เงินในเดือนพฤศจิกายน 2524อันเป็นช่วงระยะเวลาที่โจทก์จำเลยอยู่กินกันยังไม่มีเรื่องบาดหมางต่อกัน...จึงเชื่อว่าจำเลยกู้เงินจากนางเป้าจริงและโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการกู้เงินรายนี้และนำเงินกู้มาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่ดินและบ้าน ซึ่งฟังได้ว่าเป็นสินสมรส โจทก์จึงต้องร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้รายนี้..."

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) ......

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) ........

มาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้อง รับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2533

การที่โจทก์ป่วยเป็นอัมพาตได้ประมาณ 3 เดือนแล้วจำเลยได้ออกจากบ้านไปโดยมิได้กลับมาอีกเป็นเวลาประมาณ 7 ปี ทั้งมิได้ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรแต่อย่างใดนั้นเป็นการจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินหนึ่งปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(4) โจทก์ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จำเลยรับราชการไม่มีเวลาดูแล รักษาพยาบาลโจทก์ได้ โจทก์จึงนำน้องชายมาอยู่ในบ้านด้วยเพื่อให้เป็นผู้ช่วยเหลือดูแล ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุผลอันจำเป็นและสมควรเป็นอย่างยิ่ง การที่น้องชายโจทก์ทะเลาะกับจำเลยและทำร้ายจำเลยนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องร้ายแรง ทั้งจำเลยเองก็มีอำนาจที่จะบอกให้น้องชายโจทก์ออกไปจากบ้านได้ แต่จำเลยก็มิได้กระทำเช่นนั้น กลับออกไปจากบ้านเสียเอง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าโจทก์ป่วยเป็นอัมพาตช่วยเหลือตนเองมิได้และกำลังต้องการความช่วยเหลือจากจำเลยอยู่ เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยถือโอกาสละทิ้งร้างโจทก์โดยมิได้ตั้งใจจะอยู่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามความสามารถและฐานะของตน จึงถือได้ว่าเหตุแห่งการหย่าดังกล่าวเป็นเพราะความผิดของจำเลยเองแต่เพียงฝ่ายเดียว และเนื่องจากโจทก์มีอาชีพค้าขายของชำแต่หลังจากป่วยเป็นอัมพาตแล้วโจทก์มิได้ทำมาค้าขายอีก ทำให้ขาดรายได้ต้องอาศัยญาติพี่น้องออกค่ารักษาพยาบาลและค่าเลี้ยงดูประมาณเดือนละ 1,000 บาท โจทก์จึงมีฐานะยากจนลงเช่นนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์หลังจากหย่าขาดจากกัน จำเลยเป็นข้าราชการมีรายได้เดือนละ 3,425 บาท ที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 700 บาท จึงเหมาะสมดีแล้ว การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสองคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีกทั้งตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้.

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากโจทก์หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย กับให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ1,500 บาท จนกว่าโจทก์จะทุเลาการเจ็บป่วยหรือมีอาชีพช่วยเหลือตนเองได้

จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปีพ.ศ. 2518 ต่อมาปี พ.ศ. 2523 โจทก์นำครอบครัวของน้องชายโจทก์เข้ามาอาศัยอยู่ด้วย จึงเกิดทะเลาะกับจำเลย จำเลยถูกน้องชายโจทก์ทำร้ายร่างกายและได้ไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจ จากนั้นจำเลยก็มิได้กลับเข้าไปที่บ้านของโจทก์อีก โจทก์มีฐานะดี มีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาทโจทก์ไม่เดือดร้อน โจทก์เสียค่าเช่าบ้านเดือนละ 800 บาท เสียค่าเงินกินเปล่าปีละ 10,000 บาท ซึ่งเงินเหล่านี้โจทก์หาได้เองโดยไม่เคยขอร้องให้จำเลยช่วยเหลือทั้งก่อนแต่งงานและหลังแต่งงาน จำเลยเป็นข้าราชการมีเงินเดือนน้อยไม่พอใช้จ่าย ปัจจุบันจำเลยมีเงินเดือนเหลือไม่ถึง 1,000 บาทไม่สามารถที่จะจ่ายให้โจทก์ได้ จำเลยพร้อมที่จะจดทะเบียนหย่าแต่เงินค่าเลี้ยงดู จำเลยไม่มีจ่ายให้ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากโจทก์ ถ้าจำเลยไม่ยอมไป ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 700 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะทุเลาการเจ็บป่วยหรือมีอาชีพช่วยเหลือตนเองได้ หรือจนกว่าจะสมรสใหม่

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แต่เพิ่งมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2518 ดังปรากฏตามใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.1 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 โจทก์ไม่ป่วยเป็นอัมพาต และหลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน จำเลยได้ออกจากบ้านไปและมิได้กลับมาอีกคิดเป็นเวลาประมาณ 7 ปี ทั้งมิได้ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรแต่อย่างใด เป็นการละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิดหนึ่งปีอันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(4) ที่แก้ไขใหม่ ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า เหตุแห่งการหย่าดังกล่าวนั้นเป็นเพราะความผิดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวหรือไม่และการหย่านั้นจะทำให้โจทก์ยากจนลงหรือไม่ ในปัญหาประการแรกจำเลยฎีกาพอสรุปเป็นใจความได้ว่า โจทก์ได้นำนายบุญล้อม นิกรมิตรน้องชายโจทก์เข้ามาอยู่ในบ้านพร้อมกับครอบครัวของนายบุญล้อมนายบุญล้อมไม่ต้องการให้จำเลยอยู่ในบ้านโจทก์และนายบุญล้อมอยากได้ทรัพย์สินของโจทก์จึงได้ทำร้ายร่างกายจำเลย จำเลยได้ไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจแล้วจำเลยก็ออกจากบ้านไป เพราะถ้าขืนอยู่ต่อไปก็ไม่มีความสุขในครอบครัว ทั้งโจทก์เองก็มิได้ห้ามปรามหรือขัดขวางการกระทำของนายบุญล้อมแต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยไม่กลับเข้าบ้านจะถือว่าเป็นความผิดของจำเลยไม่ได้นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่าเกี่ยวกับปัญหานี้ จำเลยเองก็นำสืบรับว่าเมื่อโจทก์ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จำเลยรับราชการไม่มีเวลาดูแลรักษาพยาบาลโจทก์ได้โจทก์จึงนำนายบุญล้อมเข้ามาอยู่ด้วย ดังนั้น เหตุที่โจทก์นำนายบุญล้อมเข้ามาอยู่ด้วยก็เพราะโจทก์ประสงค์ให้นายบุญล้อมได้เป็นผู้คอยช่วยเหลือดูแลโจทก์เนื่องจากความเจ็บป่วยของโจทก์ซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้นั่งเอง จึงถือได้ว่าโจทก์มีเหตุผลอันจำเป็นและสมควรเป็นอย่างยิ่ง ส่วนที่จำเลยอ้างว่านายบุญล้อมได้ทะเลาะกับจำเลยและทำร้ายจำเลยนั้น ก็ได้ความจากนายบุญล้อมว่าเนื่องจากนายบุญล้อมพูดจาตักเตือนให้จำเลยอยู่ดูแลช่วยเหลือโจทก์ทั้งไม่ปรากฏว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงจนถึงกับจะอยู่ร่วมกันต่อไปไม่ได้แต่อย่างใด ประกอบกับจำเลยเองก็เป็นสามีโจทก์และมีฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัวอยู่แล้ว หากจำเลยไม่ประสงค์จะให้นายบุญล้อมอยู่ในบ้านอีกต่อไป จำเลยก็ชอบที่จะบอกให้นายบุญล้อมออกไปจากบ้านเสียได้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำเช่นนั้นแต่ประการใด ดังนั้นการที่จำเลยได้ออกจากบ้านไปเสียทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าโจทก์กำลังป่วยเป็นอัมพาตช่วยเหลือตนเองมิได้และกำลังต้องการความช่วยเหลือจากจำเลยอยู่เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยถือโอกาสละทิ้งร้างโจทก์ไปโดยมิได้มีความตั้งใจจะอยู่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามความสามารถและฐานะของตน จึงถือได้ว่าเหตุการหย่าดังกล่าวเป็นเพราะความผิดของจำเลยเองแต่เพียงฝ่ายเดียว ปัญหาต่อไปมีว่า การหย่านั้นจะทำให้โจทก์ยากจนลงหรือไม่ ข้อนี้ได้ความจากโจทก์และนายบุญล้อมว่า หลังจากที่โจทก์ป่วยเป็นอัมพาตแล้วโจทก์มิได้ทำมาค้าขายอีก ทำให้ขาดรายได้ต้องอาศัยญาติพี่น้องโดยเฉพาะนายบุญล้อมและภรรยาก็ได้ออกค่ารักษาพยาบาลและค่าเลี้ยงดูโจทก์ตกประมาณเดือนละ 1,000 บาท ตั้งแต่โจทก์เริ่มป่วยจนถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นเวลาถึง 7 ปีเศษแล้ว จึงน่าเชื่อว่าโจทก์ต้องยากจนจริง ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ยังมีฐานะดีอยู่ไม่ยากจนลงนั้นขัดต่อเหตุผลไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ ฎีกาจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้นแต่ที่โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากโจทก์หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น เห็นว่า การจดทะเบียนการหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียนและขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งคำขอดังกล่าวให้นั้นเห็นว่ายังไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไขเสีย"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน คำขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยให้ยก.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
 

เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
 

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
 

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) .....

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5)......

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนล เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่าง สมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่า เลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39,มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 

สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดี หย่านั้น

มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป
 

การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จด ทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2533 

โจทก์เคยจดทะเบียนสมรสกับ ส. มาก่อนแล้วจึงมาจดทะเบียนสมรสกับจำเลย การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นโมฆะต่อมาโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลยโดยอ้างเหตุเพียงว่าขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยโจทก์มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว การจดทะเบียนสมรสเป็นโมฆะ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่เข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ซึ่งบัญญัติถึงเหตุหย่าไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้และกรณีนี้ศาลไม่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)มาใช้เพื่อพิพากษาให้การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะได้เพราะเป็นเรื่องฟ้องโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายระบุไว้.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้

มาตรา 1496 คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ ฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ
 

คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส อาจร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มี ส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533

เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ณประเทศอังกฤษ และอยู่กินร่วมกันที่บ้าน ของบิดาโจทก์ที่กรุงเทพมหานครหลังจากโจทก์กับจำเลยอยู่กันร่วมกันระยะหนึ่ง จำเลยได้ประพฤติตนเป็นคนเสเพล ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตร ดูหมิ่นโจทก์และบิดาของโจทก์จงใจทิ้งร้างโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างมากโจทก์เคยฟ้องหย่ากับจำเลยต่อศาลแพ่ง เมื่อต้นปี 2528 จำเลยก็ติดต่อขอตกลงกับโจทก์โดยยินยอมทำสัญญา แยกกันอยู่ ให้อำนาจปกครองบุตรตกอยู่กับโจทก์และจะไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ในภายหลังโจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยจะปฏิบัติตามสัญญา จึงได้ถอนฟ้องคดีต่อมาจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ และยังคงไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูโจทก์กับบุตร การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และจงใจทิ้งร้างโจทก์ไปเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีและโจทก์ยังถือว่าจำเลยได้ทำสัญญาจะจดทะเบียนหย่ากับโจทก์แล้วแต่จำเลยหาได้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันโดยให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ยินยอมไปจดทะเบียนการหย่าให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนายฟ้องและศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนายพิพากษาตามคำฟ้อง เพราะโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันในประเทศอังกฤษตามแบบที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการสมรสแห่งประเทศอังกฤษ โจทก์กับจำเลยไม่เคยจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายไทยไม่มีหลักฐานทางทะเบียนแสดงถึงการจดทะเบียนสมรสซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยเก็บไว้ในประเทศไทย จึงไม่อาจจดทะเบียนการหย่าในประเทศไทย ศาลชั้นต้นไม่อาจจะพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ไปทำการจดทะเบียนหย่า ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยเพราะจะเป็นการขยายเขตอำนาจศาลพ้นอาณาเขตของประเทศไทย จำเลยไม่เคยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวดังโจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้ดูหมิ่นโจทก์หรือบิดาของโจทก์ คดีของโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนหย่าให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันคำขออื่นของโจทก์ให้ยกฟ้อง

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2521 โจทก์ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยกับจำเลยซึ่งเป็นคนสัญชาติอินเดีย ได้จดทะเบียนสมรสกัน ณ สำนักงานทะเบียนเขตเชลซี ท้องที่รอเยลโบโร แห่งเคนซิงตันและเชลซี ประเทศอังกฤษถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม พระราชบัญญัติการสมรส ค.ศ. 1949ของประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภริยากันที่บ้านบิดาโจทก์ที่กรุงเทพมหานคร และเมื่อวันที่ 17มกราคม 2528 โจทก์กับจำเลยได้ทำหนังสือหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย และมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ที่จำเลยฎีกาเป็นปัญหาข้อแรกว่า ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันเพราะการหย่าโดยความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 มุ่งหมายเฉพาะกรณีคู่สมรสได้ทำการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นกรณีโจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 คือต้องเป็นการจดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยเจ้าพนักงานทูตหรือกงสุลไทยณ ที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย จึงจะพิพากษาให้คู่สมรสหย่ากันได้นั้นเห็นว่า การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสซึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนต่างด้าวนั้นจะมีผลใช้บังคับหรือไม่ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายไทยพ.ศ. 2481 มาตรา 26 ซึ่งบัญญัติว่า การหย่าโดยความยินยอมย่อมสมบูรณ์ ถ้ากฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการรับรองระบบกฎหมายของประเทศที่อนุญาตให้มีการหย่าด้วยความยินยอมของสามีและภริยาทั้งสองฝ่าย หมายความว่าการหย่าโดยความยินยอมของสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อกฎหมายของคู่สมรส ทั้งสองฝ่ายยินยอมให้หย่าโดยความยินยอมได้ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่า ตามกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์และจำเลยคือกฎหมายของประเทศไทย และอินเดีย ต่างก็ยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ และโจทก์กับจำเลยก็ได้ทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ การหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514 แม้โจทก์กับจำเลยมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอหรือโดยนายทะเบียนณ ที่ทำการสถานทูตหรือกงสุลไทยก็ตาม เมื่อโจทก์ฟ้องอย่าโดยอาศัยหนังสือหย่าฉบับดังกล่าว ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาได้ ที่จำเลยฎีกาว่า แม้การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายของประเทศอังกฤษจะฟังได้ว่าเป็นการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์และจำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 คือไม่สามารถไปจดทะเบียนหย่าในราชอาณาจักรไทย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ตามพระราชบัญญัติทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 17 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ถ้าการใด ๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัว ได้ทำขึ้นในต่างประเทศซึ่งกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นนั้นบัญญัติไว้ ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้บันทึกในประเทศไทยก็ได้ แต่ต้องยื่นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นโดยมีคำรับรองถูกต้องพร้อมกับคำแปลภาษาไทยซึ่งฝ่ายนั้นต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และมาตรา 18 บัญญัติว่าการจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมนั้น ให้นายทะเบียนรับจดต่อเมื่อสามีและภริยาร้องขอ และได้นำหนังสือตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1515วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาแสดงต่อนายทะเบียนด้วยจากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่า แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบกฎหมายของประเทศอังกฤษก็ตาม หากทั้งสองฝ่ายประสงค์จะจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยได้ตามขั้นตอนของบทกฎหมายดังกล่าวคือ ในเบื้องต้นโจทก์หรือจำเลยต้องร้องขอให้นายทะเบียนในประเทศไทยบันทึกข้อความลงในทะเบียนว่า โจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกัน ณ สำนักงานทะเบียนเขตเชลซี ประเทศอังกฤษตามแบบกฎหมายของประเทศอังกฤษแล้ว พร้อมกับยื่นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการจดทะเบียนสมรส ขั้นตอนต่อไปโจทก์และจำเลยก็ร้องขอให้นายทะเบียนในประเทศไทยจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายตามหนังสือหย่า ทั้งนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 17 และ 18 ดังกล่าวดังนี้ การหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยก็สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 สามารถใช้ยันบุคคลภายนอกทั่วไปได้ การหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยในกรณีนี้จึงสามารถปฏิบัติตามมาตรา 1515 ดังกล่าวได้ ที่จำเลยฎีกาว่ากรณีนี้เมื่อโจทก์กับจำเลยทำหนังสือหย่ากันเองก็สมบูรณ์แล้วไม่ต้องให้ศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกันอีก โดยอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่610/2496 มาด้วยนั้น เห็นว่า การหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยตามหนังสือหย่านั้น ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ตามกฎหมายใช้บังคับกันได้เฉพาะระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น แต่จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดย สุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนหย่าแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 เมื่อจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงจำเป็นต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวต่อไปเพื่อให้การหย่านั้นสมบูรณ์ สำหรับคำพิพากษาศาลฎีกาที่โจทก์อ้างมานั้นศาลฎีกาได้ตรวจดูแล้วข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมีว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกันณ ต่างประเทศโดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทูตหรือกงสุลไทยต่อมาได้ทำหนังสือหย่ากันโดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายในประเทศไทยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการหย่านั้นสมบูรณ์ ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1หย่าขาดจากกันนับแต่นั้น จำเลยที่ 1 ทำการสมรสกับจำเลยที่ 2 ได้ไม่ถือว่าขณะจำเลยที่ 1 สมรสกับจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 ยังเป็นคู่สมรส กับโจทก์ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะไม่ได้ คดีดังกล่าวไม่มีประเด็นว่าโจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาหย่ากับจำเลยที่ 1 ตามหนังสือหย่าที่ทำกันไว้ได้หรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลไทยที่ให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าไม่มีสภาพบังคับ กล่าวคือ ไม่อาจบังคับให้นายทะเบียนณ สำนักงานทะเบียน เขตเชลซี ประเทศอังกฤษ ปฏิบัติตาม เพราะจะเป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกอาณาเขตประเทศไทย และไม่สามารถบังคับนายทะเบียนเขตปทุมวันจดทะเบียนหย่าให้เพราะนายทะเบียนเขตปทุมวันไม่เอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสของโจทก์กับจำเลยนั้นพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16 บัญญัติว่าเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสหรือให้หย่ากันแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองว่าถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียนบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่ากรณีศาลพิพากษาให้หย่ากันนั้นจะไม่มีการจดทะเบียนหย่า เพียงแต่ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนว่าศาลพิพากษาให้หย่าแล้วก็มีผลใช้ได้แล้วคดีนี้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่ากันแล้ว โจทก์ก็สามารถดำเนินการตามบทบัญญัติ มาตรา 16 ดังกล่าวได้กล่าวคือ โจทก์ต้องขอให้นายทะเบียนบันทึกเสียก่อนว่า โจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันในประเทศอังกฤษและตามแบบกฎหมายของประเทศอังกฤษพร้อมคำแปลภาษาไทยตามมาตรา 17 ดังวินิจฉัยข้างต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปโจทก์ก็นำคำพิพากษาให้หย่ากันอันถึงที่สุดที่รับรองว่าถูกต้องแล้วยื่นต่อนายทะเบียนตามมาตรา 16 เพื่อให้บันทึกว่าศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่ากันแล้ว การหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 ก็จะมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 1515 แต่ศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียน ณ สำนักงานเขตเชลซี ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์กับจำเลยแต่ประการใด จึงมิใช่การขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรจำเลยฎีกาว่า เหตุ ฟ้องหย่ามีเพียง 10 ประการ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 เท่านั้น การที่จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ตามหนังสือหย่า ไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะฟ้องหย่าได้นั้น เห็นว่า เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 แล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนหย่าตาม มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวแล้ว จำเลยจะปฏิเสธ ไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติตามนั้น จึงเท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามหนังสือหย่าฉบับดังกล่าว เป็นกรณีโจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตามมาตรา 1516 เพราะกรณีนี้เป็นการฟ้องเพื่อให้การหย่าโดยความยินยอมมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 1515

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 213 ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
 

เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
 

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
 

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่

มาตรา 1459 การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วย กัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
 

ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงาน ทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน

มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล
 

การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน

มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้การหย่า โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2534

ก่อนที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลย โจทก์หาได้มีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะสามีภริยาตามกฎหมายไม่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในฐานะภริยาจำเลยแม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับ ร. และมีบุตรด้วยกันก่อนที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลย ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าวของจำเลย โจทก์จึงอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(1)ฟ้องหย่าจำเลยได้.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์สมรสกับจำเลยตามประเพณี ต่อมาจึงได้จดทะเบียนสมรสกันหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว โจทก์สืบทราบว่าจำเลยได้อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยาจนเกิดบุตรด้วยกันมาก่อน แต่จำเลยหลอกลวงว่าเป็นชายโสดจนโจทก์หลงเชื่อและยอมสมรสกับจำเลย เมื่อโจทก์ซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้จำเลยกลับหาเรื่องทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายโจทก์และกล่าวคำหยาบคายดูถูกเหยียดหยามโจทก์และบุพการีหลายครั้ง การกระทำของจำเลยเป็นการประพฤติตนอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง การที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยาแล้วมาหลอกลวงว่าเป็นชายโสดทำให้โจทก์หลงเชื่อยอมสมรสกับจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องสูญเสียพรหมจารีให้จำเลย และได้รับความเสียหายทั้งส่วนตัวและวงศ์ตระกูลโจทก์ขอคิดค่าเสียหายเป็นเงิน 200,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน หากจำเลยไม่ยอมขอให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลมีผลให้การสมรสสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษา ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 200,000 บาทแก่โจทก์กับให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เป็นรายเดือนตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้

จำเลยให้การว่า โจทก์ทราบดีก่อนสมรสตามประเพณีกับจำเลยว่าจำเลยมีบุตรกับนางรำพึง สายตรง อยู่แล้ว 1 คน แต่จำเลยไม่เคยยกย่องอย่างเปิดเผยว่าหญิงนั้นเป็นภริยา แต่ไม่ได้ให้การอุปการะเลี้ยงดูแต่อย่างใด โจทก์และจำเลยไม่เคยมีเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย ทั้งไม่เคยใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อโจทก์หรือบุพการีของโจทก์ ต่อมาโจทก์ทราบว่า นางรำพึงได้คลอดบุตรคนที่ 2 อันเกิดจากจำเลย โจทก์เข้าใจว่าจำเลยมิได้ตัดขาดจากนางรำพึง จำเลยได้พยายามอธิบายให้โจทก์เข้าใจว่านางรำพึงตั้งครรภ์ก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะสมรสกันตามประเพณี แต่โจทก์ไม่เข้าใจกลับหลบหนีออกจากบ้านของจำเลย ต่อมาโจทก์ให้จำเลยปฏิบัติตามข้อเสนอคือให้โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลย และให้โอนทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ให้โจทก์เป็นเจ้าของร่วม ห้ามมิให้จำเลยออกจากบ้านในยามวิกาลให้จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ในวันนั้นจำนวน 35,000 บาท เป็นเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อโจทก์จะได้กลับมาอยู่กินกับจำเลยเหมือนเดิม จำเลยได้ปฏิบัติตามทุกข้อ ยกเว้นเรื่องให้จดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์แล้วนัดจดทะเบียนสมรสกัน แสดงว่าโจทก์รู้เห็นเป็นใจและยินยอมในเรื่องนี้แล้ว หลังจากที่จดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยเคร่งครัด แต่ต่อมาโจทก์ได้ขนของที่เป็นสินสมรสออกจากบ้านหลบหนีไป จำเลยมิได้ทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการสมรส มิได้หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์หรือบุพการีของโจทก์ และหรือยกย่องหยิงอื่นใดว่าเป็นภริยาของจำเลย ค่าเสียหายของโจทก์หากมีไม่ควรถึง 200,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์โดยให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ภายใน 15 วันนับแต่วันทราบคำพิพากษา หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้โจทก์ ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในการจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลย ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์จำนวนเงิน 100,000 บาท และจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะทำการสมรสใหม่

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่า หากไม่ยอมไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มีเหตุหย่ากับจำเลยตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายรับข้อเท็จจริงกับแล้วว่า จำเลยมีบุตรด้วยกันกับนางรำพึง 2 คนโดยเฉพาะบุตรคนที่สองคลอดก่อนโจทก์สมรสกับจำเลยเพียงเดือนเศษและปรากฏตามทะเบียนบ้านหมาย ล.5 ด้วยว่าจำเลยในฐานะเจ้าของบ้านได้แจ้งชื่อบุตรคนที่สองเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านที่ซอยรางน้ำซึ่งเป็นร้านขายยาระบุว่า จำเลยเป็นบิดาและนางรำพึงเป็นมารดานอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความของโจทก์และนายอาคม จวนสาง ว่าหลังจากสมรสกับจำเลยแล้ว จำเลยมีพฤติการณ์กลับบ้านดึกเป็นประจำเมื่อโจทก์ทวงถาม จำเลยไม่ยอมรับ จึงได้จ้างนายอาคมให้ช่วยสืบพฤติการณ์ของจำเลยจนพบว่าจำเลยยังคงติดต่อและมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับนางรำพึงที่บ้านเลขที่ 66/1 ถนนรองเมือง ซอย 3ครั้นโจทก์ไปสอบถามเพื่อนบ้านของนางรำพึงก็ได้ความตรงกันว่านางรำพึงเป็นภริยาจำเลย ตามพฤติการณ์และพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีเหตุผลเชื่อถือได้ว่า ภายหลังจากจำเลยสมรสกับโจทก์แล้วจำเลยยังคงติดต่อไปมาหาให้การอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องนางรำพึงฉันภริยาด้วยอีกคนหนึ่ง ที่จำเลยนำสืบว่ามิได้ติดต่อกับนางรำพึงอีกนั้น ก็ขัดกับพฤติกาณ์ที่จำเลยรับว่าหลังจากโจทก์อยู่ด้วยกันกับจำเลยที่ร้านขายยาแล้ว นางรำพึงยังโทรศัพท์ไปหาจำเลยเกี่ยวกับเรื่องบุตร และจำเลยเป็นผู้แจ้งชื่อบุตรเข้าไปในทะเบียนบ้าน เมื่อปิดร้านแล้วมักออกไปนอกบ้านตามลำพัง และกลับถึงบ้านในยามวิกาลอันเป็นการขัดกับเหตุผลที่ว่าไปเยี่ยมบิดามารดาจำเลย พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการที่จำเลยมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับนางรำพึงนั้น เป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า โจทก์จะยกเอาเหตุดังกล่าวขึ้นฟ้องหย่าจำเลยไม่ได้ ภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลยแต่จากพยานหลักฐานของจำเลยไม่ปรากฏว่า หลังจากโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว โจทก์ได้แสดงความยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจอย่างไรในการที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูนางรำพึงฉันภริยา ตรงกันข้ามกลับได้ความว่าโจทก์โกรธเคืองจำเลยถึงขนาดหลบหนีออกจากบ้านและมีหนังสือถึงจำเลยเพื่อให้จดทะเบียนหย่ากับโจทก์ พร้อมทั้งเรียกค่าทดแทนตามเอกสารหมาย จ.1 นอกจากนี้ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลย โจทก์หาได้มีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะสามีภริยาตามกฎหมายไม่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในฐานะภริยาจำเลย ดังนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับนางรำพึงและมีบุตรด้วยกันก่อนที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าวของจำเลย โจทก์จึงอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) ฟ้องหย่าจำเลยได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน.

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1761/2534

การที่จำเลยร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาว่าโจทก์กับหญิงอื่นมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว ต่อกันเป็นเหตุให้โจทก์ถูกลงโทษทางวินัยนั้น เห็นว่าจำเลยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ย่อมมีความชอบธรรม ที่จะป้องกันหรือขัดขวางมิให้โจทก์กับหญิงอื่นมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว ต่อกันอันเป็นเหตุให้ครอบครัวเดือดร้อนได้ การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(2).

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายมีบุตรด้วยกัน 2 คน จำเลยประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากับโจทก์อย่างร้ายแรงกล่าวคือ จำเลยได้หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์ โดยกล่าวหาว่าโจทก์ประพฤติตนทางชู้สาวกับเพื่อนร่วมงานเป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียบหยามโจทก์ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง โจทก์ต้องถูกตั้งกรรมการสอบสวน ถูกสั่งให้ระงับการขึ้นเงินเดือนและไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง ขอให้โจทก์และจำเลบยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน โดยบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่า ณ ที่ว่าการเขตพระนครกรุงเทพมหานคร ถ้าจำเลยไม่ไปขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ให้บุตรทั้งสองอยู่ในความปกครองดูแลของโจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประพฤติเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาแต่อย่างใด จำเลยไม่เคยหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์โจทก์มีสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นและทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยเพื่อป้องกันสิทธิของจำเลยโดยชอบ จำเลยจึงนำความไปร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ จนกระทั่งมีการสอบสวนโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ถูกตัดเงินเดือนร้อยละสิบ เป็นเวลา 2 เดือน การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีคงมีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาแต่เพียงว่าการที่จำเลยร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามนัยแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (2) หรือไม่ ส่วนเหตุฟ้องหย่าฐานกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงตามที่โจทก์ฟ้องมาด้วยนั้น โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงให้ชัดแจ้งจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ได้พิจารณาหนังสือร้องเรียนตามเอกสารหมาย จ.2 แล้วมีใจความสำคัญว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์มีบุตรด้วยกัน 3 คน (ถึงแก่กรรมแล้ว 1 คน) เคยอยู่กินร่วมกันอย่างปกติสุข แต่ปัจจุบันครอบครัวของจำเลยอยู่ในสภาพบ้านแตกเพราะโจทก์ได้ไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนางเกษร บุญมีลาภ ซึ่งรับราชการเป็นครูโรงเรียนเดียวกันกับโจทก์ ไม่ยอมรับคำตักเตือนจากผู้ใดตั้งแต่มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วโจทก์ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัวทุกประการ จำเลยกับบุตรได้รับความเสียหายขอให้สอบสวนลงโทษบุคคลทั้งสองฐานกระทำผิดวินัยเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่จำเลยและจำเลยมีนางสาววรรณี สุนทรเวช ผู้อำนายการโรงเรียนดาราคามมาเบิกความเป็นพยานว่า ในตอนแรกจำเลยเพียงแต่พูดปรับทุกข์ว่าการกระทำของโจทก์กับนางเกษรทำให้ครอบครัวของจำเลยเดือดร้อนขอให้ช่วยตักเตือนบุคคลทั้งสอง นายกลึง พรหมสุวรรณ พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเบิกความรับข้อเท็จจริงตามกันว่าก่อนจำเลยจะร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์นั้น จำเลยเคยขอให้ตักเตือนโจทก์เรื่องที่โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนางเกษร พยานเคยเรียกโจทก์มาตักเตือน แต่เรื่องก็ยังไม่ยุติ จึงฟังได้ว่า จำเลยนำวิธีการที่เบากว่าการร้องเรียนกล่าวโทษมาใช้แล้วแต่ไม่ได้ผลเห็นว่าจำเลยเป็นภริยาดดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ย่อมมีความชอบธรรมที่จะป้องกันหรือขัดขวางมิให้โจทก์กับหญิงอื่นมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวต่อกันอันเป็นเหตุให้ครอบครัวเดือดร้อนได้ประกอบกันเรื่องที่จำเลยร้องเรียนนั้นมีมูล ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากมีการสอบสวนพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องเรียนแล้วสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติได้มีความเห็นว่าโจทก์กับนางเกษรมีพฤติการณ์ที่เป็นการกระทำผิดวินัย ตามมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 กรณีกระทำการซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ลงโทษภาคทัณฑ์ และกระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้เพิ่มโทษโดยให้ตัดเงินเดือนของบุคคลทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น..."

พิพากษายืน.

 

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2534

โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ 2 ครั้ง แม้จะเป็นความจริงดังที่โจทก์ฎีกา แต่เหตุเกิดก่อนฟ้องประมาณ 14 ปี และ 4 ปี ตามลำดับไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย คงอยู่กินด้วยกันตลอดมาแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากัน มีบุตรด้วยกัน 2 คนจำเลยประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยาอย่างร้ายแรงโดยหึงหวงโจทก์ ใช้อาวุธปืนพยายามฆ่าโจทก์ถึง 2 ครั้งปลอมลายมือชื่อโจทก์สร้างหนี้สินมากมาย เหยียดหยามบุพการีของโจทก์และกีดกันมิให้โจทก์ส่งเสียเลี้ยงดูบุพการี ทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง โจทก์กับจำเลยจึงแยกกันอยู่ ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2527 ถือว่าจำเลยจงใจทิ้งร้างโจทก์ ขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดกับจำเลยนับแต่วันฟ้อง หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนหย่าขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและให้บุตรทั้งสองอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยาอย่างร้ายแรง หรือจงใจทิ้งร้างโจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองตลอดมา โจทก์ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบ้างเป็นจำนวนไม่แน่นอน ขอให้ยกฟ้องโจทก์และพิพากษาให้บุตรอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของจำเลย ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสองคนเดือนละ 4,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าบุตรทั้งสองจะสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุด

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยมีความประพฤติไม่ดีและไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองให้ได้รับความอบอุ่นหรือได้ดีเท่าโจทก์ ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้บุตรทั้งสองอยู่ในความปกครองของจำเลยให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 1,500 บาทต่อหนึ่งคน นับแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2529 จนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน 1 ปีหรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์แยกกันอยู่กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2527 เป็นต้นมาโดยจำเลยไม่ได้ไปมาหาสู่โจทก์ และโจทก์ก็มิได้ไปหาจำเลยฉันสามีภรรยาตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องโจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้

ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ 2 ครั้งเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรงนั้น เห็นว่า แม้จะเป็นความจริงดังที่โจทก์ฎีกา แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าเหตุเกิดเมื่อปี 2515 และ 2525 ก่อนฟ้องประมาณ 14 ปีและ 4 ปี ตามลำดับ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยคงอยู่กินด้วยกันตลอดมา บ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้วสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1518

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน

มาตรา 1518 สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น เหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว

 

 

ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว 

ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า) ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของเด็กหญิง เอ บุตรผู้เยาว์ เสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดก ตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย ความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินไม่ดำเนินการให้ ลูกหนี้เจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ ธนาคารไม่ยอมให้เบิกเงินของผู้ตาย โดยต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วมิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง 

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น
ให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่า
การอ้างเหตุหย่าต้องมีเหตุตามที่กฎหมายรับรอง
ฟ้องหย่าอ้างภริยานำบุตรไปอยู่กับบิดามารดาเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่
เหตุที่สามีกับภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ก็เนื่องจากสามีทำร้ายร่างกาย
จดทะเบียนสมรสแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันการสมรสยังสมบูรณ์
เงินเดือนเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรส
ยกย่องหญิงฉันภริยาเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องไม่เริ่มนับอายุความ
สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นและหญิงอื่น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรศาลพิจารณาจากประเด็นใดบ้าง?
สิทธิฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรต้องฟ้องหย่าด้วยหรือไม่?
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู
สมรสซ้อน-ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร
ภริยาร้องเรียนผู้บังคับบัญชา
การหย่าโดยความยินยอม
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด เขตอำนาจศาล
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรส
ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าทดแทน แบ่งสินสมรส
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่นไม่สมัครใจแยกกันอยู่
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี
สามีฟ้องหย่าภริยาอ้างเป็นโรคทางประสาทและจิตแต่ทำสัญญายอมความ
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่โดยสมัครใจหรือจงใจละทิ้งร้าง?
สามีอยู่ในสภาพคนพิการ-ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส